วันอังคารที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2555

แบบทดสอบสมรรถภาพทางกายมตรฐานของคณะกรรมการนานาชาติ                   
   
  
สมรรถภาพทางกายที่ดีเป็นสิ่งจำเป็นต่อการดำรงชีวิต และประกอบภารกิจประจำวัน หรือออกกำลังกาย เล่นกีฬาได้อย่างมีประสิทธิภาพ การที่จะทำให้ร่างกายมีสมรรถภาพที่ดีได้นั้นต้องอาศัยการออกกำลังกายหรือเล่นกีฬาเป็นประจำสม่ำเสมอ นอกจากนั้นควรมีโภชนาการที่ดีด้วย 

การทดสอบสมรรถภาพทางกาย เป็นวิธีที่จะบ่งบอกถึงสภาพความสมบูรณ์แข็งแรงของร่างกายหรือการมีสมรรถภาพทางกายแต่ละด้านดีมากน้อยเพียงใด ในปี ค.ศ.1964 (พ.ศ.2507) ที่นครโตเกียว ในระหว่างที่มีการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกครั้งที่ 19 ได้มีการตั้งคณะกรรมการนานาชาติ เพื่อจัดมาตรฐานการทดสอบความสมบูรณ์ทางกาย ( ICSPFT : International Committee for Standardization of Physical Fitness Test ) เพื่อทำการศึกษาหาแบบทดสอบความสมบูรณ์ทางกายที่จะใช้เป็นมาตรฐานทั่วโลก คือทั่วโลกมีการทดสอบไปในแนวเดียวกัน เพื่อจะได้นำมาเปรียบเทียบกันระหว่างชาติต่าง ๆ ได้ ซึ่งในสมัยนั้นมี  ศ.นพ.อวย เกตุสิงห์ เป็นกรรมการร่วมอยู่ด้วย ซึ่งคณะกรรมการชุดนี้ได้ศึกษาวิจัยรวบรวมข้อมูลนาน 8 ปี จึงได้นำข้อยุติของการทดสอบสมรรถภาพทางกายที่เป็นมาตรฐานออกมาใช้ ในปี ค.ศ.1972 (พ.ศ.2515) ได้นำไปทดสอบทั่วโลกโดยถือเป็นการทดสอบสมรรถภาพทางกายพื้นฐาน (Basic physical performance)
จากกิจกรรมของคณะกรรมการ มีการศึกษาวิจัยมากมาย และมีการรวมกันเป็นกลุ่ม จึงมีความคิดเห็นร่วมกันว่าควรร่วมมือวิจัยกันอย่างต่อเนื่อง มีการเปลี่ยนชื่อคณะกรรมการภายหลังเป็นคณะกรรมการนานาชาติเพื่อวิจัยความสมบูรณ์ทางกาย (ICPFR: International Committee on Physical Fitness Research)
สำหรับประเทศไทยการทดสอบแบบ ICSPFT ได้ทำการทดสอบครั้งแรกประมาณปี พ.ศ. 2515 โดยช่วงแรกทำการทดสอบที่โรงเรียน มาร์แตร์เดอีวิทยาลัย และโรงเรียนสวนบัว รวมทั้งทำการทดสอบในนักกีฬาไทยด้วย ซึ่งวิธีการดังกล่าวถูกนำมาใช้ทดสอบและประเมินสมรรถภาพทางกาย เด็ก เยาวชน และประชาชนอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้เพราะวิธีการ อุปกรณ์ทดสอบไม่ยุ่งยาก สามารถทำได้กับกลุ่มคนเป็นจำนวนมาก

ความหมายสมรรถภาพทางกาย   หมายถึงความสามารถของร่างกายในการประกอบกิจกรรม หรือทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพเป็นระยะเวลานาน ๆ โดยไม่อ่อนล้า  และเมื่อประกอบกิจกรรมนั้น ๆ เสร็จแล้ว ร่างกายสามารถกลับคืนสู่สภาพปกติได้อย่างรวดเร็ว  และยังมีพละกำลังเหลือพอที่จะกระทำกิจกรรมในเวลาว่าง และเผชิญกับสถานการณ์คับขันได้เป็นอย่างดี

องงค์ประกอบสมรรถภาพทางกาย

สมรรถภาพทางกาย ประกอบด้วย 2 ส่วน  ดังนี
  • สมรรถภาพทางกายเพื่อสุขภาพ (Health Related Fitness) เป็นสมรรถภาพทางกายพื้นฐานที่ช่วยให้บุคคลมีสุขภาพดี ไม่เจ็บป่วยง่าย  เนื่องจากร่างกายมรภูมิคุ้มกันโรค ป้องกันโรคภัยไข้เจ็บ ประกอบด้วย
          ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ (Muscular Strength) ความทนทานของ
          กล้ามเนื้อ (Muscular Endurance)  ความอ่อนตัว (Fexibility) ความ
          ทนทานของระบบหายใจ และระบบการไหลเวียนเลือด (Cardio
          Respiratory Endurance) สัดส่วนร่างกาย (Body Composition)
  • สมรรถภาพทางกลไกล (Motor Fitness or Skill-Related Fitness) เป็นสมรรถภาพทางกาย          ด้านทักษะ  สมรรถภาพทางกลไกลเกี่ยวโยงกับทักษะพื้นฐานของการกระทำที่มีประสิทธิภาพ ประกอบด้วย
          ความทนทาน (Endurance) พลัง (Power) ความแข็งแรง (Strength)
          ความคล่องแคล่วว่องไว (Agility) ความอ่อนตัว (Fexibility)
          การทรงตัว (Balance)



               
 หลักในการออกกำลังกาย

การออกกำลังกาย เป็นปัจจัยที่สำคัญอย่างหนึ่ง ที่มีผลต่อการเจริญเติบโตทางร่างกาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในวัยเด็ก และวัยรุ่น การออกกำลังกายจะทำให้กระดูก และกล้ามเนื้อ ส่วนต่าง ๆ มีการเจริญและพัฒนาขึ้นทั้งความยาว และความหนา  เนื่องจากมีการเพิ่ม การสะสมแร่ธาตุ (แคลเซียม) ในกระดูกทำให้กระดูกมีความแข็งแรง เพิ่มมากขึ้น

การออกกำลังกายที่กระทำโดยถูกต้องจะให้คุณค่าแก่ร่างกายมาก  โดยเฉพาะเด็ก ๆ  และ เยาวชน จะทำให้ร่างกายเติบโตสมวัย ผู้ที่ไม่ค่อยได้ออกกำลังกาย มักมีร่างกายเล็ก แคระแกรน และขี้โรค ใน วัยหนุ่มสาว การออกกำลังกายจะช่วยให้ ระบบประสาทและจิตใจทำงานได้ดีเป็นปกติ ในวัยสูงอายุ การออกกำลังกายจะช่วยป้องกัน และรักษาอาการ หรือโรคที่เกิดในวัยชรา เช่น อาการเมื่อย อาการท้องผูกเป็นประจำ ตลอดจนความรู้สึกวิงเวียนหน้ามืด และการไหลเวียนโลหิตไม่เพียงพอ

การออกกำลังกาย ควรจะปฏิบัติอย่างต่อเนื่อง และสม่ำเสมอ เพราะ

การออกกำลังกาย จะช่วยเพิ่มสมรรถภาพให้แก่ร่างกาย คือ ทำให้อวัยวะทุกส่วนมี ความแข็งแรงช่วยเพิ่ม ภูมิต้านทานโรค และช่วยทำให้สุขภาพจิตดีขึ้นด้วย

การออกกำลังกาย เพื่อมุ่งให้เกิดสมรรถภาพทางกายจะต้องเป็นการฝึกในด้านต่าง ๆ ได้แก่ ความอ่อนตัว ความสัมพันธ์ระหว่างระบบประสาท และกล้ามเนื้อ การทรงตัว ความยืดหยุ่นรวมทั้งความอดทนของการทำงาน ของปอด และหัวใจ ซึ่งจะมีผลต่อ ความเหนื่อยช้าหรือเร็วของบุคคลด้วย

ความสำคัญของสมรรถภาพทางกาย

สมรรถภาพทางกายมีความสำคัญต่อการปรับปรุงคุณภาพชีวิตเป็นส่วนสำคัญที่จะทำให้มนุษย์  สามารถปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ผลของการเป็นผู้ทีมีประสิทธิภาพทางกายที่ดี คือลดอัตรา การเสี่ยงต่อการเป็นโรคหัวใจเพิ่มพูนประสิทธิภาพของระบบต่างๆ ในร่างกาย เช่น ระบบหมุนเวียนโลหิต ระบบการหายใจ ระบบการย่อยอาหาร ฯลฯ ทำให้รูปร่าง และสัดส่วนของ ร่างกายดีขึ้น ช่วยควบคุมมิให้น้ำหนักเกิน หรือควบคุมไขมันในร่างกาย ช่วยลดความดันโลหิตสูง  ช่วยลดไขมันเลือด เพิ่มความคล่องตัว เกิดประสิทธิภาพ ในการทำงาน

หลักการจำแนกสมรรถภาพทางกายพื้นฐาน


1.ความเร็ว (Speed) หมายถึง ความสามารถของกล้ามเนื้อที่สามารถทำงาน หรือเคลื่อนที่ซ้ำ ๆ กัน ได้อย่างรวดเร็ว

2.พลังกล้ามเนื้อ (Muscle power) หมายถึง ความสามารถของกล้ามเนื้อที่หดตัวได้แรง และทำให้วัตถุหรือร่างกายเคลื่อนที่ออกไปเป็นระยะทางมากที่สุดภายในเวลาจำกัด

3.ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ (Muscle strength) หมายถึง ความสามารถของกล้ามเนื้อที่หดตัว เพื่อเคลื่อนน้ำหนักหรือต้านน้ำหนักเพียงครั้งเดียวโดยไม่จำกัดเวลา

4.ความอดทนของกล้ามเนื้อ (Muscle endurance) หมายถึง ความสามารถของกล้ามเนื้อที่ทำงานได้นานโดยไม่เสื่อมประสิทธิภาพ

5.ความแคล่วคล่องว่องไว (Agility) หมายถึง ความสามารถของร่างกายในการควบคุมการเปลี่ยนทิศทางการเคลื่อนไหวได้อย่างรวดเร็วและตรงเป้าหมาย

6.ความอ่อนตัว (Flexibility) หมายถึง ความสามารถของร่างกายในการเคลื่อนไหวให้ได้มุมของการเคลื่อนไหวอย่างเต็มที่ของข้อต่อแต่ละข้อ

7.ความอดทนทั่วไป (General endurance) หมายถึง ความสามารถของระบบหายใจและไหลเวียนเลือดที่ทำงานได้นานต่อเนื่องอย่างมีประสิทธิภาพ ในขณะที่ร่างกายมีการเคลื่อนไหวหรือเคลื่อนที่

หลักในการทดสอบสมรถภาพทางกายมาตรฐานของคณะกรรมการนานาชาติ 

รายการที่ 1 วิ่งเร็ว 50 เมตร (50 Meters Sprint)

อุปกรณ์
  • นาฬิกาจับเวลา อ่านละเอียด 1/100 วินาที
  • ทางวิ่ง 50 เมตร มีเส้นเริ่มและเส้นชัย
  • อุปกรณ์ปล่อยตัว เช่น โบกธงสีขาว
เจ้าหน้าที่
  • ผู้ปล่อยตัว
  • ผู้จับเวลา
  • ผู้บันทึก

วันอาทิตย์ที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2555

ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง รายวิชา พ 33101 สุขศึกษา 5
  1. อธิบายกระบวนการสร้างเสริมและดำรงประสิทธิภาพการทำงานของอวัยวะต่าง ๆ
  2. วางแผนดูแลสุขภาพตามภาวะการเจริญเติบโตและพัฒนาการของตนเองปละบุคคลในครอบครัว
  3. วิเคราะห์อิทธิพลของครอบครัว เพื่อน สังคม และวัฒนธรรมที่มีผลต่อพฤติกรรมทางเพศและการดำเนินชีวิต
  4. วิเคราะห์ค่านิยมในเรื่องเพศตามวัฒนธรรมไทยและวัฒนธรรมอื่น ๆ
  5. เลือกใช้ทักษะที่เหมาะสมในการป้องกัน ลดความขัดแย้ง และแก้ปัญหาเรื่องเพศและครอบครัว
  6. วิเคราะห์สาเหตุและผลของความขัดแย้งที่อาจเกิดขึ้นระหว่างนักเรียนหรือเยาวชนในชุมชน และเสนอแนวทางแก้ไขปัญหา
  7. วิเคราะห์บทบาทและความรับผิดชอบของบุคคลที่มีต่อการสร้างเสริมสุขภาพและการป้องกันโรคในชุมชน
  8. วิเคราะห์อิทธิพลของสื่อโฆษณาเกี่ยวกับสุขภาพเพื่อการบริโภค
  9. ปฏิบัติตามสิทธิผู้บริโภค
  10. วิเคราะห์สาเหตุและเสนอแนวทางการป้องกันการเจ็บป่วยและการตายของคนไทย


เนื้อหาสาะ
  1. ระบบอวัยวะ
  2. ทักษะชีวิต
  3. เพศที่แตกต่าง
  4. สุขภาพดีสร้างได้
  5. สิทธิผู้บริโภค


กิจกรรมการเรียนการสอน
  1. บรรยาย
  2. อภิปราย
  3. ซักถาม
  4. บันทึก
  5. สาธิตทำงานกลุ่ม
  6. รายงานการค้นคว้า
  7. วิเคราะห์กรณีศึกษา                     
       แหล่งเรียนรู้
  • หนังสือเรียนสาระการเรียนรู้พื้นฐานสุขศึกษาและพลศึกษา ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6
  • หนังสือพิมพ์รายวัน
  • วารสารใกล้เหมอ
  • วารสารหมอชาวบ้าน
  • สิ่งพิมพ์ทางการแพทย์และสาธารณสุข
  • กรณีศึกษาทางการแพทย์และสาธารณสุข
          •                   



ห้องสมุดโรงเรียน
ห้องสมุดประชาชน


ออนไลน์
www.bbc.co.uk/science/humanbody
www.learninggamesforkids.com/health-gan
www.thaigoodview.com
www.thaihealth.or.th
www.vimanloy.com
http://kruyongyuth.blogspot.com