วันพฤหัสบดีที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2553

คลิปความรุนแรงผลกระทบต่อสังคมเด็กและเยาวชน


















เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 1 ตุลาคมที่ผ่านมา เครือข่ายครอบครัวเฝ้าระวังและสร้างสรรค์สื่อ ซึ่งเป็นเครือข่ายที่เกิดจากจิตของบรรดาพ่อๆ แม่ๆ ที่ตระหนักถึงผลกระทบสื่อต่อเยาวชนและครอบครัว ภายใต้การสนับสนุนของแผนงานสื่อสร้างสุขภาวะเยาวชน (สสย.) ได้จัดเวทีเสวนาเรื่อง "สังคมได้อะไร? จากการนำเสนอคลิปข่าวรุนแรง" เนื่องจากเห็นว่าการนำเสนอความรุนแรงผ่านสื่อที่มีจำนวนความถี่มากของสื่อมวลชน ทำให้เกิดความชินชา กลายเป็นเรื่องปกติในสังคม เพราะขณะนี้สังคมเข้าสู่ยุคการหลอมเหลวรวมสื่อ (Crimes Convergence) สื่อทุกประเภทถูกรวมเข้าด้วยกันโดยมีตัวการเป็นสื่ออินเทอร์เน็ตเมื่อทุกอย่างถูกหลอมรวมก็จะกลายเป็นอาชญากรรมออนไลน์ทำให้เด็กไทยที่ไม่มีวุฒิภาวะในการใช้สื่อแต่มีความสามารถในการแบ่งปันข้อมูล โดยเฉพาะการถ่ายคลิปวิดีโอซึ่งถือเป็นวัฒนธรรมใหม่ที่ได้รับความนิยมอย่างมาก สร้างผลผลิตที่ไม่เหมาะสมออกสู่สังคม รวมถึงการเปลี่ยนแปลงกระบวนการในการสื่อสารที่ผู้รับสารเป็นผู้ผลิตเนื้อหาข้อมูลข่าวสารและเป็นผู้แพร่สารเอง อีกทั้งการนำเสนอข่าวสารของสื่อที่ไม่ได้ลดระดับความรุนแรงลง กลับทำให้เกิดความขยายความรุนแรงมากขึ้น

นพ.กมล แสงทองศรีกมล กุมารเวชเชี่ยวชาญด้านจิตวิทยาเด็กและวัยรุ่น โรงพยาบาลกรุงเทพ กล่าวว่า มีรายงานการวิจัยพบว่า การเห็นฉากที่เต็มไปด้วยความรุนแรงซ้ำๆ กัน จะส่งผลให้เกิดพฤติกรรมการลอกเลียนแบบ โดยเฉพาะกลุ่มเด็กเล็กและกลุ่มคนมีความหวั่นไหวทางอารมณ์ หรือกลุ่มคนที่มีพฤติกรรมซึมเศร้า ซึ่งกลุ่มเด็กเล็กจะตอบสนองต่อความรุนแรงในทันที โดยจะไม่คำนึงถึงความเจ็บปวดของผู้อื่น เพราะเด็กไม่มีวุฒิภาวะที่จะไตร่ตรอง ส่วนกลุ่มคนที่เป็นโรคซึมเศร้า พร้อมที่จะกระทำความรุนแรงซ้ำกับสิ่งที่เห็นทันที เช่น การฆ่าตัวตาย ทำร้ายตัวเอง และสิ่งที่น่าเป็นห่วงคือ เรื่องความรุนแรงในเพศหญิง ที่มีแนวโน้มการเกิดความรุนแรงมากขึ้น

ซึ่งในความเป็นจริง ถูกแล้วที่สื่อมีหน้าที่ต้องนำเสนอแต่ก็จริงอีกที่ทุกครั้งที่มีการนำเสนอความรุนแรงซ้ำๆ ก็จะเกิดการกระตุ้นทำให้เกิดอารมณ์ร่วม แต่การจะไม่นำเสนอเลยก็ย่อมไม่สามารถนำได้ ดังนั้นจึงต้องเกิดกระบวนการควบคุมการนำเสนออย่างพอดี จำต้องเปลี่ยนแปลงการสอนจริยธรรมในระบบการศึกษาใหม่ ให้รู้จักจิตสาธารณะของสังคมและความรู้สึกมีส่วนร่วมในการรับผิดชอบต่อสังคม


ปัจจุบัน ทัศนะของสังคมไทยที่มีต่อข่าวความรุนแรงที่เกิดจากการเลียนแบบของเยาวชนผ่านสื่อนั้น เห็นว่าเป็นการกระทำที่ไม่เหมาะสมและรู้สึกหดหู่ สะเทือนใจ โดยสาเหตุที่ทุกๆคนจะพูดถึงเสมอๆ คือ การที่ไม่ได้หรือขาดโอกาสในการได้รับการชี้แนะหรือการสั่งสอนอย่างถูกต้องจากผู้ใหญ่หรือคนในครอบครัว ซึ่งได้มีผลสำรวจจากสวนดุสิตโพลระหว่างวันที่ 23-25 กันยายน ว่าวิธีการที่จะแก้ไขปัญหาเหล่านี้ได้ ร้อยละ 38.40 เห็นว่าต้องเริ่มจากครอบครัวที่มีการดูแลเอาใจใส่ และการอบรมสั่งสอนที่ดี ดังนั้น สถาบันที่เล็กที่สุดแต่สำคัญที่สุดอย่างสถาบันครอบครัว จึงเป็นโจทย์หนึ่งในการแก้ปัญหาในรูปแบบของการให้ภูมิคุ้มกันที่ดีเพื่อป้องกันความรุนแรงผ่านสื่อที่เกิดขึ้นกับลูกหลานของเรา

การแก้ปัญหาใดๆ ของสังคมสักหนึ่งปัญหา ก็ต้องมีผู้ช่วยแก้เป็นคนในสังคมนั้นๆ เนื่องจากสังคมเป็นสภาพของการอยู่ร่วมกันที่ซับซ้อนบนความสัมพันธ์ที่หลาหลาย การจะคลายปมก็ต้องได้รับความร่วมมือที่หลากหลาย ซึ่งในกรณีปัญหาคลิปความรุนแรงนี้ ทางสื่อมวลชนก็ต้องลดความถี่ของการนำเสนอลงและควบคุมการนำเสนออย่างเหมาะสมและพอดีควรสร้างจรรยาบรรณทางวิชาชีพด้านข่าวให้เข้มแข็ง ทางด้านหน่วยงานภาครัฐ ควรเร่งให้ความรู้และทำความเข้าใจกับผู้ใช้สื่อให้รู้เท่าทัน และทำงานอย่างจริงจัง ทางด้านผู้บริโภคก็ต้องไม่เลือกหรือไม่สนับสนุนที่จะบริโภคสื่อที่ไม่มีการควบคุมการนำเสนออย่างพอดีและเหมาะสม ซึ่งเป็นพลังทางสังคมที่แข็งแกร่งรวมถึงผลักดันให้เกิดกลไกในการมีส่วนร่วมของประชาชนในกานำเสนอสื่อ ที่สำคัญครอบครัวต้องเห็นความสำคัญและตระหนักมากๆ ถึงผลกระทบของความรุนแรงที่อาจเกิดขึ้นจึงต้องเกิดกระบวนการเรียนรู้ขึ้นภายในครอบครัวของตนมีเวลาเพื่อการแลกเปลี่ยนพูดคุยเมื่อรับชมข่าวสาร มีทัศนะในการดูแลเอาใจใส่พฤติกรรมการบริโภคสื่อของสมาชิกในบ้าน


ทั้งนี้ สังคมจะดีได้ ก็ต้องดีด้วยคนในสังคมเอง...


ที่มา : http://www.thaihealth.or.th/node/11535
Update: 13-10-52


















ความรุนแรงยุติได้ด้วย "พลังสังคม"

 ความคิดแบบนี้หรือเปล่า? ที่ทำให้ผู้หญิงในบ้านเมืองของเรา ยังคงถูกคุกคามจาก “การกระทำความรุนแรง โดยเฉพาะจากคนใกล้ชิด อีกทั้งปัญหาเหล่านี้ยังคงถูกเพิกเฉยจากผู้คนรอบข้างและผู้พบเห็น เพราะความเข้าใจที่ว่า นั่นคือปัญหาภายในครอบครัว อย่าเข้าไปยุ่งจะดีเสียกว่า!!! แล้วคุณรู้หรือไม่ว่า...ความคิดเหล่านี้ส่งผลกระทบอย่างมากต่อผู้หญิงทั้งร่างกาย จิตใจ และจิตวิญญาณอันเป็นการลิดรอนสิทธิในชีวิตและร่างกายของผู้หญิง ตลอดจนส่งผลกระทบต่อครอบครัว ชุมชน และสังคมโดยรวมตามมาอีกด้วย...

หลายคนอาจเข้าใจผิดคิดว่า ความรุนแรงต่อผู้หญิง นั้นหมายถึงการกระทำความรุนแรงทางเพศเพียงอย่างเดียวเท่านั้น “แต่ไม่ใช่เลย” เพราะความจริงแล้วความรุนแรงต่อผู้หญิงหมายถึง “การกระทำใดๆ ที่เป็นความรุนแรงที่เกิดจากอคติทางเพศ ซึ่งเป็นผลให้เกิดความทุกข์ทรมานแก่สตรี รวมทั้งการขู่เข็ญ คุกคาม กีดกันเสรีภาพทั้งในที่สาธารณะและในชีวิตส่วนตัว”

อีกหนึ่งความรุนแรง คือ การตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์ ทั้งจากเพศสัมพันธ์ที่ไม่รับผิดชอบของฝ่ายชายหรือจากการถูกล่วงละเมิดทางเพศ และการไม่สามารถต่อรองเรื่องการคุมกำเนิดกับคู่ครองได้ รวมถึงการติดโรคทางเพศสัมพันธ์ ติดเชื้อเอดส์จากสามี หรือจากการถูกละเมิดทางเพศ การนำเสนอผู้หญิงเป็นวัตถุทางเพศ เป็นการมองว่าผู้หญิงเป็นวัตถุที่สามารถดึงดูดได้ในสื่อลามกต่างๆ การโฆษณาสินค้า รวมทั้งการแอบถ่ายคลิปฉาวต่างๆ และการล่อลวงมาบังคับค้าประเวณี หรือใช้แรงงานเยี่ยงทาส ทั้งหมดนี้ถือเป็นความรุนแรงที่เกิดขึ้นในสังคมบ้านเราแทบทั้งสิ้น...

จากข่าวคราวในหน้าหนังสือพิมพ์ เป็นสิ่งหนึ่งบ่งบอกได้ชัดเจนว่าความรุนแรงยังคงมีอยู่มากในสังคมไทย จากการเก็บรวบรวมข้อมูลของมูลนิธิเพื่อนหญิงในปี 51 ที่ผ่านมา พบว่า ยังมีการละเมิดทางเพศกว่าสูงถึง 227 ข่าว โดยแบ่งได้เป็น การข่มขืน 133 ข่าว คิดเป็นร้อยละ 50 ข่มขืนและฆ่า 17 ข่าว คิดเป็นร้อยละ 8 พยายามข่มขืน 30 ข่าว คิดเป็นร้อยละ 13 พยายามข่มขืนและฆ่า 9 ข่าว  คิดเป็นร้อยละ 4 รุมโทรม 27 ข่าว คิดเป็นร้อยละ 12 รุมโทรมและฆ่า 2 ข่าว คิดเป็นร้อยละ 1 อนาจาร 19 ข่าว คิดเป็นร้อยละ 8 และพรากผู้เยาว์ 10 ข่าว คิดเป็นร้อยละ 4

 และที่ซ้ำร้ายไปกว่านั้น...เมื่อผู้หญิงที่ถูกกระทำความรุนแรงส่วนใหญ่เป็น เยาวชน แทบทั้งสิ้น โดยเป็นเด็กหญิงและผู้หญิงสูงถึง 222 ราย หรือร้อยละ 79 มีอายุประมาณ 11-15 ปี 105 ราย หรือร้อยละ 38 อายุระหว่าง 16-20 ปี 48 ราย หรือร้อยละ 17 และอายุระหว่าง 4-10 ปี 44 ราย หรือร้อยละ 16 และยังพบว่า...มีผู้ถูกกระทำที่อายุน้อยที่สุดคือ อายุ 3 ขวบ โดยผู้กระทำเป็นคนในเครือญาติ ส่วนผู้ถูกกระทำที่อายุมากสุดคือ 55 ปี...     
 
ส่วนในผู้กระทำความรุนแรงมีทั้งหมด 355 ราย ช่วงอายุที่กระทำมากที่สุดคือ อายุระหว่าง 16-20 ปี มีทั้งหมด 100 ราย หรือร้อยละ 28 อายุระหว่าง 31-40 ปี 36 ราย หรือร้อยละ 10 อายุระหว่าง 21-25 ปี 33 ราย หรือร้อยละ 9 และพบผู้กระทำความรุนแรงที่อายุน้อยที่สุดคือ 11 ขวบ จำนวน 2 คน โดยกระทำร่วมกับรุ่นพี่อายุ 13 ปี รุมโทรมเด็กผู้หญิงอายุ 7 ปี โดยมีพฤติกรรมเลียนแบบมาจากเว็บโป๊ที่เคยดูจากร้านอินเตอร์เน็ต ส่วนผู้กระทำที่อายุมากสุดคือ 72 ปี

แล้วคุณเลยรู้หรือไม่ว่า...ผู้ที่ถูกกระทำนั้น ประกอบอาชีพอะไร จากข้อมูลของมูลนิธิฯ ยังบ่งบอกว่า อาชีพที่ถูกกระทำความรุนแรงมากที่สุดคือ นักเรียน มีมากถึง 142 ราย หรือร้อยละ 51 รองลงมาเป็นอาชีพรับจ้าง 14 หรือร้อย 5 ราย และพนักงานร้านอาหาร/คาราโอเกะ 14 ราย ร้อยละ 5

และที่ไม่น่าเชื่อก็คือ การกระทำความรุนแรงต่อผู้หญิงที่เกิดขึ้นนั้น ส่วนใหญ่มาจากคนรู้จัก เช่น เพื่อน เพื่อนบ้าน เพื่อนร่วมหอพัก เพื่อนนักเรียน ครู/อาจารย์ กับลูกศิษย์ หรือใกล้ชิด มากถึง 109 ข่าว หรือร้อยละ 48 ที่แย่ไปกว่านั้น!!! ยังพบว่าเป็นบุคคลในครอบครัวที่เป็นผู้กระทำถึง 20 ราย หรือร้อยละ 9 เป็นพ่อ-ลูก มากที่สุด 6 ราย รองลงมาคือ พ่อเลี้ยง-ลูกเลี้ยง 5 ราย ซึ่งถือเป็นเรื่องที่ไม่น่าเกิดขึ้น...

นอกจากนี้ยังมีผู้กระทำที่ไม่เคยรู้จักกันอีก 64 รายหรือร้อยละ 28 เช่น ผู้กระทำเข้าไปลักทรัพย์แล้วข่มขืนเจ้าทรัพย์ เป็นคนที่เคยพบกันครั้งแรกแล้วถูกล่อลวง หรือถูกฉุดไปข่มขืนอีกด้วยแต่เหตุผลส่วนหนึ่งที่ทำให้ความรุนแรงต่อผู้หญิงยังคงมีอยู่ในประเทศของเรานั้น!! เป็นเพราะเหยื่อที่ถูกกระทำส่วนใหญ่ ไม่ได้ดำเนินการเอาเรื่องกับผู้กระทำผิด ซึ่งเหตุผลอาจมีมากมายไม่ว่าจะหวาดกลัวการถูกทำร้ายซ้ำ เกรงสังคมจะตราหน้าให้อับอาย กลัวพ่อแม่ดุด่า ซึ่งนั่นยิ่งเป็นช่องทางส่อให้เกิดความรุนแรงซ้ำแล้วซ้ำอีก...

แล้วที่ไหนล่ะ!! ที่เรามักพบเห็นความรุนแรง

จากการจัดอันดับพบว่า สถานที่ที่เกิดความรุนรงมากสุด 3 อันดับแรก คือ  บ้านหรือห้องของผู้กระทำ 52 ราย หรือร้อยละ 23 รองลงมา บ้านหรือห้องพักผู้ถูกกระทำ 45 ราย หรือร้อยละ 20 และโรงแรม/รีสอร์ท 21 ราย ร้อยละ 9 โดยเหตุที่เกิดในบ้านเป็นจำนวนมาก เพราะความสัมพันธ์ระหว่างผู้กระทำกับผู้ถูกกระทำ เนื่องจากเป็นคนที่รู้จักคุ้นเคยกัน ทำให้เกิดความไว้ใจเข้านอกออกในบ้านได้ ดั้งนั้นเหตุการณ์จึงเกิดขึ้นเป็นจำนวนมากในพื้นที่สองแห่งนี้ ส่วนที่เกิดเหตุที่เป็นโรงแรมและรีสอร์ทนั้น ผู้ถูกกระทำมักจะถูกฉุดหรือล่อลวงไปในที่แห่งนั้น

ในส่วนของต้นต่อปัญหาความรุนแรงต่อผู้หญิงที่เกิดขึ้นนี้ คงจะหนีไม่พ้นมัจจุราชร้ายอย่าง แอลกอฮอล์ ที่เป็นตัวกระตุ้นทำให้กระทำการใดๆ โดยขาดการยั้งคิด ซึ่งที่ผ่านมาพบปัญหาความรุนแรงโดยสาเหตุจาก แอลกอฮอล์ทั้งหมด 41 ราย ซึ่งผู้กระทำดื่มก่อนลงมือก่อเหตุ 34 รายหรือร้อยละ 83 ของปัจจัยกระตุ้นทั้งหมด เสพยาเสพติด เช่น เสพยาบ้า ดมกาว 4 ราย หรือร้อย 10 ดูสื่อลามก 3 รายหรือร้อยละ 7 นอกจากนี้ผู้กระทำบางรายยังรับสารภาพว่าเมื่อเมาแล้วเกิดอารมณ์ทางเพศ จนควบคุมอารมณ์ไม่ได้ บางรายนอกจากดื่มเหล้าแล้วยังดูสื่อลามกร่วมด้วย

จากข้อมูลศูนย์พิทักษ์สิทธิสตรี มูลนิธิเพื่อนหญิง ภายใต้การสนับสนุนจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ สสส. ระบุว่าจากการบริการให้คำปรึกษาแก่ผู้หญิงที่ประสบปัญหาวิกฤตความรุนแรง เช่น ความรุนแรงในครอบครัว ถูกละเมิดทางเพศ ในปี 2551 ที่ผ่านมา พบผู้หญิงประสบปัญหาความรุนแรงเพียง 73 ราย หรือร้อยละ 10 เท่านั้น ซึ่งถือเป็นจำนวนตัวเลขที่น้อยหากเปรียบเทียบกับข่าวในหนังสือพิมพ์ที่พบเจอ โดยส่วนใหญ่ก็จะเข้ามาขอรับคำปรึกษาด้านสังคมสงเคราะห์ ถึง 179 กรณี เนื่องจากมีผลกระทบต่อการดำรงชีวิต ซึ่งแบ่งได้เป็น 1. ทำหวาดกลัว สับสวนและเครียดถึง 61 กรณี 2. ทำให้อึดอัด อับอาย ไม่กล้าบอกใคร 36 ราย 3. คดีไม่คืบหน้า ไม่ได้รับความเป็นธรรม 27 กรณี 4. ทำให้เกิดวิตกกังวลในการการสอบปากคำ การสืบพยาน 12 กรณี 5. ถูกข่มขู่ คุกคาม 11 กรณี 6. ต้องการที่พัก 10 กรณี 7. สามี/อดีตสามีทำร้ายร่างกาย คุกคาม ไม่รับผิดชอบ 9 กรณี 8. ตั้งครรภ์ไม่พร้อมจากการถูกข่มขืน 7 กรณี 9. ต้องการอาชีพ 3 กรณี 10. พ่อแม่ขัดแย้งกับลูก (กรณีอยากให้เลิกกับแฟน) 2 กรณี และ 11. ถ่ายคลิปวิดีโอ 1 กรณี

“ปัญหาความรุนแรงต่อผู้หญิง” คงไม่ใช่เรื่องเล็กๆ อีกต่อไป ถึงเวลาที่สังคมต้องร่วมมือกันแก้ไขอย่างเร่งด่วน คงไม่ใช่เพียงแค่หน่วยงานใดหน่วยงานหนึ่งเท่านั้น แต่นั่นหมายถึงทุกคนในสังคมร่วมมือกันช่วยเหลือเพื่อนผู้ที่ประสบเหตุไปพร้อมๆ กันโดยไม่ทอดทิ้งกัน หากพบเห็นความรุนแรงในครอบครัว หรือในสังคม อย่าเงียบเฉย รีบแจ้งต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ หน่วยงานรัฐ หรือองค์กรเอกชน เพื่อช่วยเหลือผู้ถูกกระทำความรุนแรง นอกจากนี้ยังต้องช่วยกันอบรมสั่งสอนลูกหลานให้รู้จักเท่าทันต่อสถานการณ์ที่ล่อแหลมกับอันตรายที่จะเกิดขึ้น สอนให้รู้จักปกป้องสิทธิของตนเอง และรู้จักช่วยเหลือผู้อื่นด้วย อีกทั้งต้องปลูกฝังค่านิยมที่ถูกต้องเรื่อง “ชายหญิงเท่าเทียมกัน” ไม่ทำร้ายกัน ส่วนผู้ชายต้องไม่มองผู้หญิงเป็นเพียงแค่เครื่องระบายอารมณ์เพียงอย่างเดียว

เพียงแค่นี้ก็สามารถ! ยุติความรุนแรงต่างๆ ที่จะเกิดขึ้นได้... หรือจะรอให้เรื่องนี้เกิดขึ้นกับคุณและคนที่คุณรักก่อน ถึงจะเล็งเห็นถึงความสำคัญ! ซึ่งวันนั้นอาจจะเป็นวันที่สายเกินไปแล้วก็ได้...ใครจะรู้!


ที่มา : http://www.thaihealth.or.th/node/12426
Update: 25-11-52

วันอังคารที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2553

'ผู้สูงอายุ' กับการตกเป็นเหยื่อ 'ความรุนแรง'

               เหลืออีกไม่กี่วันก็จะเข้าช่วง “เทศกาลปีใหม่” มีวันหยุดยาว ใครหลาย ๆ คน กำลังเตรียมตัวเดินทาง กลับบ้านเยี่ยมพ่อแม่ ญาติผู้ใหญ่ที่อยู่ในวัยชรา เพื่อเป็นการแสดงความกตัญญูต่อผู้มีพระคุณที่เลี้ยงดูเรามา แต่อีกด้านหนึ่งของสังคมใครจะรู้ว่ายังมีผู้สูงอายุอีกจำนวนไม่น้อยที่ต้องถูกทอดทิ้งและต้องตกเป็น “เหยื่อ” ของ “ความรุนแรงในสังคม”

            ปัญหาความรุนแรงที่เกิดขึ้นกับผู้สูงอายุ แม้จะยังมีไม่มากเท่าปัญหาความรุนแรงที่เกิดขึ้นกับกลุ่มเด็กและสตรี แต่แนวโน้มปัญหาความรุนแรงในผู้สูงอายุก็มีจำนวนเพิ่มมาก เห็นได้จากภาพข่าวทางโทรทัศน์และหน้าหนังสือพิมพ์ที่มีการนำเสนออย่างต่อเนื่อง!?!

            ความรุนแรงที่เกิดขึ้นกับผู้สูงอายุในรูปแบบต่าง ๆ ทั้งจากคนใกล้ชิดและคนในสังคม ที่ดูเหมือนจะมีเพิ่มมากขึ้นทุกวันนั้น ถึงเวลาแล้วหรือยังที่สังคมต้องหันกลับมามองและหาทางออก เพื่อป้องกันและช่วยแก้ปัญหาในเรื่องนี้อย่างจริงจังเสียที!!!
 
รศ.ดร.จิราพร เกศพิชญวัฒนา คณะพยาบาลศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวถึงแนวทางในการจัดการปัญหาผู้สูงอายุที่ถูกกระทำรุนแรงในครอบครัว ซึ่งได้รับการสนับสนุนโดยมูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย (มส.ผส.) และสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ว่า จากการทบทวนการศึกษาวิจัยในประเทศไทย ปัจจุบันปัญหาความรุนแรงที่เกิดขึ้นกับผู้สูงอายุ ส่วนใหญ่เกิดจากคนในครอบครัว ซึ่งโดยมากเป็นการกระทำด้านจิตใจและอารมณ์ ไม่ว่าจะเป็น การใช้วาจา คำพูด การแสดงกิริยาท่าทางที่ไม่ให้ความเคารพ รังเกียจ ไม่เห็นถึงคุณค่าของผู้สูงอายุ  
   
           รองลงมาเป็นเรื่องการทอดทิ้งไม่ดูแล หรือไม่ให้การดูแลที่เหมาะสม โดยปัญหาดังกล่าวมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น เป็นผลมาจากการที่ผู้ดูแลเกิดความเครียด เพราะมีจำนวนผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพาสูงขึ้น  ปัญหาที่เกิดขึ้นจึงเป็นสิ่งที่ท้าทายภาครัฐ และสังคม ในการจัดระบบรองรับเพื่อช่วยเหลือผู้สูงอายุ ที่ต้องการความช่วยเหลือในเรื่องการดูแลระยะยาว และหากไม่รีบดำเนินการแล้ว ปัญหาความรุนแรงต่อผู้สูงอายุจะเพิ่มขึ้นอย่างแน่นอน

ที่ผ่านมาสังคมไทยรับรู้เรื่องปัญหาการถูกกระทำความรุนแรงในกลุ่มเด็กและสตรีมากกว่าความรุนแรงในผู้สูงอายุ สาเหตุเพราะเป็นปัญหาที่ซ่อนเร้น และขาดการรายงานปัญหา รวมทั้งบุคลากรเจ้าหน้าที่เกี่ยวข้องไม่ได้ตระหนักและให้ความสำคัญแก่การกระทำรุนแรงในผู้สูงอายุ และประชาชนส่วนใหญ่ก็ไม่ได้คิดว่ามีการกระทำรุนแรงเกิดขึ้นกับผู้สูงอายุจริง เพราะคิดว่าสังคมไทยให้ความสำคัญกับความกตัญญูกตเวทีต่อผู้สูงอายุ ขณะที่ผู้สูงอายุเองก็ไม่กล้าบอกหรือเล่าให้ผู้อื่นฟังว่าตนเองถูกกระทำรุนแรง

อย่างไรก็ตาม การที่คนในสังคมส่วนใหญ่เห็นว่าความรุนแรงในผู้สูงอายุยังไม่ใช่ปัญหาใหญ่ จึงส่งผลให้การตระหนักในการให้ความช่วยเหลือผู้สูงอายุในเรื่องนี้ยังมีข้อจำกัด  อยู่ โดยนางพจนา ธรรมรัตนพฤกษ์ ผู้อำนวยการกลุ่มการพัฒนามาตรการ กลไก สำนักส่งเสริมและพิทักษ์ผู้สูงอายุ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กล่าวยอมรับว่า ปัจจุบันหน่วยงานที่ให้การสงเคราะห์ ช่วยเหลือแก่กลุ่มผู้สูงอายุที่ได้รับการกระทำรุนแรงยังมีอยู่จำกัด และส่วนใหญ่จะเน้นให้การช่วยเหลือ เด็กและสตรี ศ.ดร.จิราพร กล่าว

สอดคล้องกับ นพ.พรเพชร ปัญจปิยะกุล แพทย์ผู้เชี่ยวชาญจากสำนักระบบบริการสุขภาพ กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข ระบุว่า การดำเนินการของศูนย์พึ่งได้ หรือศูนย์ OSCC ที่อยู่ตามโรงพยาบาลต่าง ๆ ทั่วประเทศ รับแจ้งและให้ความช่วยเหลือแก่กลุ่มเด็กและสตรีที่ได้รับความรุนแรง ซึ่งก็ยอมรับว่าในปัจจุบันข้อมูลและการเน้นผู้สูงอายุที่เป็นผู้ที่ได้รับผลจากความรุนแรงเป็นเรื่องที่ต้องให้ความสำคัญและต้องเน้นให้ความช่วยเหลือในกลุ่มนี้เพิ่มขึ้น
   
 สำหรับในส่วนของประเด็นในเรื่องของกฎหมายที่คุ้มครองผู้สูงอายุที่ถูกกระทำรุนแรงนั้น นางนงพรณ์ รุ่งเพชรวงศ์ ผู้อำนวยการกองพิทักษ์สิทธิและเสรีภาพ กระทรวงยุติธรรม กล่าวว่า การประกาศใช้พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัว พ.ศ. 2550 นั้น ได้ครอบคลุมถึงการคุ้มครองกลุ่มผู้สูงอายุด้วย แต่คดีความรุนแรงในกลุ่มผู้สูงอายุยังมีน้อยมากในปัจจุบัน เมื่อเทียบกับคดีความที่เกิดขึ้นกับกลุ่มเด็กและสตรี  

            สาเหตุที่คดีความมีน้อยอาจเป็นเพราะผู้สูงอายุที่เป็นพ่อแม่ที่ชราไม่ต้องการแจ้งความดำเนินคดีกับลูก ขณะเดียวกันก็เห็นด้วยกับการนำประเด็นความรุนแรงต่อผู้สูงอายุ ไปเพิ่มเติมในแผนปฏิบัติการการให้ความช่วยเหลือแก่ผู้ถูกละเมิดสิทธิและเสรีภาพ โดยกลุ่มเป้าหมายที่ได้รับผลกระทบจากความรุนแรงในครอบครัว ให้เน้นหรือให้ความสำคัญกับกลุ่มผู้สูงอายุด้วย
   
            รวมทั้งการระแวดระวังของบุคลากรทางการแพทย์ที่พบผู้สูงอายุ ที่มารับการตรวจรักษาที่ห้องฉุกเฉินหรือห้องตรวจผู้ป่วยนอก  ซึ่งข้อมูลจากการซักประวัติหรือลักษณะท่าทางที่อาจมีผลหรือทำให้มีข้อสงสัยว่าผู้สูงอายุมีปัญหาถูกกระทำรุนแรงมา เช่น ให้ข้อมูลประวัติที่ไม่ชัดเจน มีรอยฟกช้ำดำเขียว ร่องรอยของการถูกทำร้ายร่างกาย อาการหวาดกลัว การไม่ยอมให้ข้อมูล หรือสภาพทางกายที่แสดงถึงการขาดการดูแล ฯลฯ

ทั้งนี้ในปัจจุบันสังคมไทยกำลังเดินเข้าสู่ สังคมผู้สูงอายุอย่างเต็มตัว ทำให้ในอนาคตประชากรผู้สูงอายุ ก็จะมีจำนวนเพิ่มมากขึ้นในสังคม ปัญหาความรุนแรงในผู้สูงอายุก็ต้องเพิ่มขึ้นเป็นเงาตามตัวเช่นกัน!?!
   
จึงเป็นเรื่องที่ภาครัฐ ครอบครัว รวมถึงทุกคนในสังคมจะปล่อยเฉย หรือไม่ให้ความสำคัญกับเรื่องนี้ไม่ได้อีกต่อไป!?

ที่มา : http://www.thaihealth.or.th/node/13280
Update:04-01-53

วันอาทิตย์ที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2553

ต้นแบบมาตรการลดอุบัติเหตุบนท้องถนน

ปัจจุบันประเทศไทยยังคงมีอัตราผู้เสียชีวิตจากอุบัติเหตุอยู่ในเกณฑ์ที่สูง เฉลี่ยวันละ 30 คน หรือทุก 2 ชั่วโมงจะมีคนเสียชีวิต 3 คน เมื่อเทียบกับประเทศที่มีจำนวนประชากรใกล้เคียงกับไทย เช่น ฝรั่งเศสและอังกฤษ พบว่า ในปี 2550 ไทยมีผู้เสียชีวิตจากอุบัติเหตุ 12,492 คน บาดเจ็บ 973,104 คนสูงกว่าฝรั่งเศสถึง 3 เท่าที่มีผู้เสียชีวิต 4,620 คน บาดเจ็บ 77,007 คน ขณะที่อังกฤษมีผู้เสียชีวิตเพียง 298 คน และบาดเจ็บ 264,288 คน

องค์การอนามัยโลก (WHO) ประเมินการแก้ปัญหาอุบัติเหตุบนท้องถนนของไทย พบว่าสอบตกในทุกมาตรการ ทั้งในเรื่องการลดความเร็ว ได้คะแนนเพียง 2 เต็ม 10 การลดการดื่มแล้วขับ ได้ 5 เต็ม 10 การใช้หมวกนิรภัยกับรถจักรยานยนต์ ได้ 4 เต็ม 10 การคาดเข็มขัดนิรภัย ได้ 5 เต็ม 10 ขณะที่การใช้ที่นั่งนิรภัยในเด็กไม่ได้คะแนน คือ 0 เต็ม 10 ส่งผลให้ประเทศไทยอยู่ในอันดับ 106 จาก 178 ประเทศที่สำรวจ

แม้จะมีการประกาศให้ไทยเป็นทศวรรษแห่งความปลอดภัยหวังลดจำนวนผู้เสียชีวิตให้ได้ครึ่งหนึ่งภายใน 10 ปีข้างหน้า แต่หนึ่งปีผ่านไปยังไม่เห็นอะไรที่เป็นรูปธรรมในการแก้ปัญหามากนัก ซึ่งไทยอาจต้องนำตัวอย่างความสำเร็จในการลดอุบัติเหตุจราจรในต่างประเทศ เช่น ยุโรป มาเป็นรูปแบบการดำเนินการลดปัญหาอุบัติเหตุ

ก่อนหน้านี้ การเสียชีวิตจากอุบัติเหตุในประเทศแถบยุโรปเกิดจากปัญหาที่หลายประเทศรวมทั้งไทยกำลังประสบอยู่ นั่นคือผู้ขับขี่มักไม่ให้ความสำคัญกับการปฏิบัติตามกฎหมายจราจร ขาดการบังคับใช้กฎหมายจากภาครัฐอย่างจริงจัง ขณะที่ตำรวจจราจรก็มีน้อย อุปกรณ์มีจำกัด และไม่ได้ถูกบริหารจัดการอย่างมีประสิทธิภาพ ยุโรปจึงเริ่มให้ความสำคัญกับการบังคับใช้กฎหมายอย่างจริงจัง จนมีข้อมูลงานวิจัยยืนยันว่าสามารถลดอัตราการเกิดอุบัติเหตุลงได้ถึงกว่าร้อยละ 50

หลักของการบังคับใช้กฎหมายในยุโรป ไม่ได้มีเป้าหมายเพื่อเพิ่มจำนวนใบสั่ง ค้นหาผู้กระทำผิด แต่เพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของผู้ขับขี่ ให้ตระหนักถึงความปลอดภัยในการขับขี่และมีความรับผิดชอบต่อสังคมร่วมกันโดยเริ่มจาก

1. กำจัดความเร็วเพื่อลดการเกิดอุบัติเหตุและลดการบาดเจ็บรุนแรง ซึ่งการลดความเร็วเฉลี่ยบนถนนลง 1 กิโลเมตรต่อชั่วโมง สามารถลดอัตราการเกิดอุบัติเหตุลงได้ถึงร้อยละ 4 ส่วนคนเดินเท้าที่ถูกรถชนร้อยละ 85 หากถูกชนที่ความเร็ว 50 กิโลเมตรต่อชั่วโมงจะเสียชีวิต แต่หากลดความเร็วลงเหลือ 30 กิโลเมตรต่อชั่วโมง จะมีผู้เสียชีวิตเมื่อถูกชนเหลือเพียงร้อยละ 10

2. คาดเข็มขัดนิรภัย พบว่าสามารถลดการเสียชีวิตจาก 2.5 หมื่นคน ลงได้ถึง 1 หมื่นชีวิตแต่ต้องทำควบคู่ไปกับการรณรงค์ ประชาสัมพันธ์อย่างทั่วถึงและต่อเนื่อง

3. การฝ่าฝืนกฎจราจรเกี่ยวกับการให้ทางพฤติกรรมการฝ่าฝืนกฎจราจร เช่น ไม่จอดให้คนข้ามถนนข้ามเมื่อมีสัญญาณคนข้าม ขับรถฝ่าไฟแดง ส่งผลให้เกิดอุบัติเหตุสูงถึงร้อยละ 50 ซึ่งในยุโรปมีเทคโนโลยีการใช้กล้องเพื่อช่วยในการบังคับใช้กฎหมาย เช่น กล้องตรวจจับการฝ่าฝืนสัญญาณไฟ ได้ผลดีคุ้มค่าต่อการลงทุน แม้ประเทศไทยเริ่มมีใช้บ้างแล้ว แต่ก็ยังไม่ครอบคลุมทั่วถึง

4. บังคับใช้กฎหมายดื่มแล้วขับ สร้างความชัดเจนเกี่ยวกับโทษ ผลกระทบและระดับแอลกอฮอล์ที่ผิดกฎหมาย กลยุทธ์ในยุโรป คือทำให้ผู้ขับขี่เกิดความรู้สึกว่าตนเองมีโอกาสถูกจับได้ตลอดเวลา หากทำผิดกฎหมาย ด้วยวิธีการสุ่มตรวจด้วยเครื่องเป่าวัดปริมาณแอลกอฮอล์ ในทุกที่ ทุกเวลา และทำพร้อมกันเป็นวงกว้าง เพื่อให้มั่นใจว่าผู้ขับขี่ไม่สามารถหลบหนีไปในเส้นทางอื่นได้

5. ตรวจวัดสมรรถนะความพร้อมของผู้ขับขี่ ไม่เพียงแต่ในผู้ขับขี่อาชีพ อย่างรถโดยสารสาธารณะ รถบรรทุก เท่านั้นแต่รวมไปถึงผู้ขับขี่รถโดยทั่วไปด้วย


ในประเทศยุโรปได้จัดทำข้อเสนอแนะในการบังคับใช้กฎหมายให้มีประสิทธิภาพ ซึ่งประเทศไทยสามารถนำมาเป็นตัวอย่างในการดำเนินงานได้คือ

     1. วิเคราะห์ข้อมูลเชิงลึกของการเกิดอุบัติเหตุ เพื่อกำหนดตัวชี้วัดด้านพฤติกรรมที่เสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุ

     2. บูรณาการการบังคับใช้กฎหมายควบคู่กับการรณรงค์ผ่านสื่อ อาศัยความรู้จากการศึกษาทดลองจากพื้นที่อื่นที่ประสบความสำเร็จ เพื่อเป็นแนวทางดำเนินงานและกำหนดทรัพยากรให้สอดคล้องในแต่ละกลยุทธ์

    3. พัฒนาระบบข้อมูลและระบบการฝึก เพื่อเสริมสร้างสมรรถนะในการทำงานของตำรวจ บูรณาการการทำงานร่วมกันในระบบยุติธรรม เช่น กฎหมาย อัยการ ศาล เพื่อให้เกิดผลลัพธ์ที่มีประสิทธิภาพหลังจากการจับกุม

    4. สื่อสารถึงตัวอย่างที่ประสบความสำเร็จ ทั้งในระดับนโยบายหรือในกลุ่มตำรวจด้วยกันรวมทั้งพัฒนาเครือข่ายตำรวจทั้งภายในและระหว่างประเทศ

   5. ติดตามผลเพื่อเปรียบเทียบการบังคับใช้กฎหมาย ในแต่ละฐานความผิดกับการเกิดอุบัติเหตุที่เกี่ยวข้องกับฐานความผิดดังกล่าว

"การเสียชีวิตจากอุบัติเหตุในประเทศแถบยุโรปเกิดจากปัญหาที่หลายประเทศรวมทั้งไทยกำลังประสบอยู่นั่นคือผู้ขับขี่มักไม่ให้ความสำคัญกับการปฏิบัติตามกฎหมาย จราจร ขาดการบังคับใช้กฎหมายจากภาครัฐอย่างจริงจัง ขณะที่ตำรวจจราจรก็มีน้อย อุปกรณ์มีจำกัด และไม่ได้ถูกบริหารจัดการอย่างมีประสิทธิภาพ"


ที่มา : http://www.thaihealth.or.th/node/17684
Update : 25-10-53












ความปลอดภัยในการโดยสารเรือ

การจราจรบนถนนที่คับคั่งในปัจจุบัน ส่งผลให้ประชาชนจำนวนหนึ่งหันมาใช้เส้นทางการจราจรทางน้ำกันมากขึ้น ซึ่งการโดยสารเรือมีความเสี่ยงสูงต่อการได้รับอันตรายจากอุบัติภัยทางน้ำ ดังนั้น เพื่อความปลอดภัย จึงขอแนะวิธีป้องกันอุบัติภัยทางน้ำ และการโดยสารเรือที่ถูกต้องและปลอดภัย ดังนี้

ผู้ประกอบการโป๊ะเทียบเรือ ติดตั้งป้ายระบุจำนวนคนที่สามารถรองรับน้ำหนักได้บริเวณโป๊ะเทียบเรือ จัดวางพวงชูชีพที่พร้อมใช้งานตามมุมต่างๆของโป๊ะอย่างน้อย ๔ พวง ติดตั้งไฟส่องสว่างให้เพียงพอตลอดบริเวณโป๊ะ และทางขึ้นลงโป๊ะ รวมถึงจัดเจ้าหน้าที่ควบคุมมิให้ประชาชนลงไปยืนบนโป๊ะเทียบเรือเกินกว่าจำนวนที่กำหนด

เจ้าของเรือ ตรวจสอบเรือให้อยู่ในสภาพพร้อมใช้งาน จัดเตรียมอุปกรณ์นิรภัยไว้ประจำเรือ เช่น เสื้อชูชีพ เครื่องดับเพลิง ติดตั้งป้ายระบุจำนวนผู้โดยสารบนเรือโดยสารในมุมที่สามารถมองเห็นได้อย่างชัดเจน ไม่บรรทุกผู้โดยสารหรือสิ่งของเกินกว่าน้ำหนักที่กำหนด ในขณะที่เรือแล่นสวนทางกันหรือแซงกันในระยะใกล้ให้ลดความเร็วลง เพื่อป้องกันอันตรายจากคลื่นน้ำของเรือ ตลอดจนควบคุมผู้โดยสารมิให้นั่งหรือยืนบริเวณหัวเรือ กราบเรือ และหลังคาเรือ รวมถึงกระทำกิจกรรมใดๆ ภายในเรือ ซึ่งอาจเป็นสาเหตุให้เรือล่ม ที่สำคัญ ห้ามดื่มสุราหรือเสพของมึนเมาเป็นอันขาด เพราะจะทำให้ขาดสติจนไม่สามารถควบคุมเรือได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ประชาชน หากว่ายน้ำไม่เป็นให้หลีกเลี่ยงการนั่งเรือเพียงลำพัง ควรให้มีเพื่อนร่วมเดินทางด้วย ถ้าต้องการเดินทางคนเดียว ให้บอกผู้ควบคุมเรือทราบ หากเกิดเหตุฉุกเฉิน จะได้มีคนคอยให้ความช่วยเหลือ

การโดยสารเรือที่ถูกต้องปลอดภัย ควรปฏิบัติ ดังนี้

การยืนรอเรือ ไม่รอเรือบนโป๊ะหรือยืนชิดขอบโป๊ะมากเกินไป ให้ยืนรอภายในเขตเส้นที่กำหนด เพราะขณะที่เรือจอดเทียบท่า คลื่นอาจซัดทำให้ท่าเรือโคลงเคลง จนผู้ที่ยืนบนโป๊ะเสียการทรงตัวและพลัดตกน้ำ

การขึ้น - ลงเรือ รอให้เรือจอดเทียบท่าก่อนจะขึ้น - ลงจากเรืออย่างเป็นระเบียบ ไม่แย่งกันขึ้น - ลงเรือ อาจทำให้เรือโคลงเคลง หากมีผู้โดยสารมากไม่ควรลงเรือไปเสริม เพราะเรือที่บรรทุกเกินอัตราเสี่ยงต่อการล่มได้ง่าย

การโดยสารทางเรือ นั่งเรือให้เป็นที่และหาที่ยึดเกาะให้มั่นคง ไม่หยอกล้อเล่นกันหรือเดินไป – มา ในขณะที่เรือกำลังแล่น เพราะอาจทำให้เรือเสียการทรงตัว หลีกเลี่ยงการยืนบริเวณท้ายเรือ หรือกราบเรือ เพราะเสี่ยงต่อการพลัดตกน้ำ ให้กระจายการนั่งบนเรืออย่างสมดุล และคำนึงถึงการทรงตัวของเรือเป็นหลัก หากเรือมีอาการเอียงหรือไหว ให้นั่งนิ่งๆ อย่าตื่นตระหนก พยายามฝืนอาการเอียงของเรือ เมื่อเรือจอดเทียบท่า ให้ทยอยกันขึ้นจากเรืออย่างเป็นระเบียบ ส่วนผู้โดยสารที่ยังอยู่ในเรือให้ขยับที่นั่งใหม่ เพื่อให้เรือทรงตัวในลักษณะสมดุลที่สุด

กรณีพลัดตกเรือ ควบคุมสติให้มั่น พยุงตัวให้ลอยน้ำโดยใช้ขาทั้งสองข้างตีน้ำ หรือหาที่ยึดเกาะเพื่อรอการช่วยเหลือ อย่าว่ายน้ำเข้าหาฝั่งเอง เพราะอาจหมดแรงหรือเป็นตะคริวจมน้ำเสียชีวิตได้

หากเรือโดยสารล่ม อย่าตื่นตระหนก ตั้งสติให้มั่น พยายามว่ายน้ำผละออกจากเรือโดยเร็วที่สุด เพื่อป้องกันถูกดูดเข้าไปใต้ท้องเรือและถูกใบพัดเรือตีจนได้รับบาดเจ็บ และพยุงตัวลอยน้ำไว้ ถอดสิ่งของที่ถ่วงน้ำหนักออกให้หมด รวมทั้งคว้าสิ่งของที่ช่วยให้ลอยน้ำได้ เช่น ยางรถยนต์ ถังน้ำ เพื่อรอการช่วยเหลือ

แม้การจราจรทางน้ำจะเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุ แต่หากประชาชนเพิ่มความระมัดระวังในการโดยสารเรือ เรียนรู้วิธีปฏิบัติตนที่ถูกต้องและปลอดภัยในการโดยสารเรือ รวมถึงวิธีปฏิบัติตนหากเรือประสบอุบัติเหตุหรือตกน้ำ จะช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติภัยทางน้ำ และทำให้สามารถช่วยเหลือตนเองได้อย่างปลอดภัยหากเกิดเหตุฉุกเฉินทางน้ำ

ที่มา : www .thaihealth.or.th/node/15584/

วันอังคารที่ 17 สิงหาคม พ.ศ. 2553


โรคซึมเศร้าเป็นการป่วยทั้งร่างกาย จิตใจและความคิด ซึ่งผลของโรคกระทบต่อชีวิตประจำวันเช่นการรับประทานอาหาร การหลับนอน ความรับรู้ตัวเอง ผู้ป่วยไม่สามารถประสานความคิด ความรู้สึกของตัวเพื่อแก้ปัญหา หากไม่รักษาอาการอาจจะอยู่เป็นเดือน

โรคซึมเศร้าอาจจะเกิดในคนที่มีการสูญเสีย หรือโรคซึมเศร้าอาจจะเกิดในคนที่มีโรคประจำตัวหรือเกิดในคนปกติทัวๆไป มีการประเมินว่าในระยะเวลา 1 ปีจะมีประชาชนร้อยละ 9 จะเป็นโรคซึมเศร้า ทำให้สูญเสียทางเศรษฐกิจประเมินมากมาย แต่สูญเสียคุณภาพชีวิตรวมทั้งความทุกข์ที่เกิดกับผู้ป่วยจะประเมินมิได้ โรคซึมเศร้าจะทำให้การดำรงชีวิตเปลี่ยนแปลงและเกิดความเจ็บปวดทั้งผู้ป่วยและผู้ดูแล บางครั้งอาจจะทำให้ครอบครัวแตกแยก


วันพุธที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

การวางแผนดูสุขภาพของตนเองและบุคคลในครอบครัว

การวางแผนดูแลสุขภาพตนเองและบุคคลในครอบครัว เป็นเรื่องที่มีคุณค่าอย่างยิ่งเพราะนอกจากจะเป็นสิ่งที่ช่วยกระตุ้นให้ตัวของเราเองและบุคคลในครอบครัวเกิดความกระตือรือร้นในการดูแลสุขภาพแล้ว ยังเป็นสิ่งที่ช่วยให้เกิดสัมพันธภาพอันดีระหว่างสมาชิกทุกคนในครอบครัว เกิดความรักในครอบครัวซึ่งจะช่วยแก้ปัญหาต่าง ๆ ได้อย่างดี อันจะนำไปสู่การมีคุณภาพชีวิตที่ดีในอนาคต

1. คุณค่าของการวางแผนดูแลสุขภาพของตนเองและบุคคลในครอบครัว

คำว่า “สุขภาพดี” ในแต่ละคนนั้นอาจแตกต่างกันออกไปตามแต่สภาวะสังคม หรือรูปแบบของวิถีชีวิตที่แตกต่างกัน แต่โดยรวมแล้วสุขภาพดีอย่างน้อยจะต้องหมายถึง ความสมบูรณ์ของทั้งร่างกายและจิตใจ ซึ่งสิ่งที่เกิดขึ้นนี้จะเกิดได้เนื่องจากการดูแลเอาใจใส่ระบบต่าง ๆ ที่สำคัญของร่างกาย การที่จะมีสุขภาพดีได้นั้น ไม่ว่าจะเป็นสุขภาพของตนเองหรือของบุคคลในครอบครัว ไม่ใช่เป็นสิ่งเกิดขึ้นได้ด้วยความบังเอิญ หากแต่จำเป็นที่จะต้องมีการวางแผนในการดูแลสุขภาพล่วงหน้าซึ่งจะช่วยให้เกิดผลดี ดังนี้  
  1. สามารถที่จะกำหนดวิธีการ หรือเลือกรูปแบบที่เหมาะสมกับการดำเนินชีวิตของตัวเราเองหรือบุคคลในครอบครัวได้อย่างเหมาะสม
  2. สามารถที่จะกำหนดช่วงเวลาในการดูแลสุขภาพได้อย่างเหมาะสม อาจจะมีกิจกรรมการออกกำลังกายในช่วงเช้า หรือในบางครอบครัวอาจจะมีเวลาว่างในช่วงเย็น ก็อาจจะกำหนดกิจกรรมการส่งเสริมสุขภาพในช่วงเย็นก็ได้ หรืออาจจะกำหนดช่วงเวลาในการตรวจสุขภาพประจำปีของบุคคลในครอบครัวได้อย่างเหมาะสม
  3. เป็นการเฝ้าระวังสุขภาพทั้งของตนเองและบุคคลในครอบครัว ไม่ให้ป่วยด้วยโรคต่าง ๆ นับว่าเป็นการสร้างสุขภาพ ซึ่งจะดีกว่าการที่จะต้องมาซ่อมสุขภาพ หรือการรักษาพยาบาลในภายหลัง
  4. ช่วยในการวางแผนเรื่องของเศรษฐกิจและการเงินในครอบครัว เนื่องจากไม่ต้องใช้จ่ายเงินไปในการรักษาพยาบาล
  5. ส่งเสริมสุขภาพทั้งของตนเองและบุคคลในครอบครัว
  6. ทำให้คุณภาพชีวิตทั้งของตนเองและสมาชิกในครอบครัวดีขึ้น
2. การวางแผนดูแลสุขภาพของตนเอง  
  1. การสำรวจรูปแบบการดำเนินชีวิตของตนเองว่าเป็นอย่างไร นักเรียนอาจทำได้โดยการลองจดบันทึกประจำวันว่าแต่ละวันใน 1 สัปดาห์ หรือ 1 เดือนนั้น นักเรียนทำอะไรบ้าง แล้วนำกลับมาพิจารณาว่านักเรียนมีพฤติกรรมใดที่ส่งเสริมหรือขัดขวางต่อการมีสุขภาพที่ดีหรือไม่
  2. จากข้อมูลที่ได้ นักเรียนลองนำมากำหนดเป็นแผนในการที่จะดูแลสุขภาพของตนเองโยอาจจะเริ่มต้นด้วยการกำหนดเป็นแผนรายวัน หรือรายสัปดาห์ก่อน ว่านักเรียนจะต้องประกอบกิจกรรมอะไรบ้างที่จะช่วยในการส่งเสริมสุขภาพของตนเอง
  3. เมื่อกำหนดแผนในการดูแลสุขภาพตนเองได้แล้ว ก็ดำเนินการตามแผนที่วางไว้ และประเมินผลเป็นระยะ ๆ ว่าตนเองสามารถดำเนินการในการดูแลสุขภาพของตนเองตามแผนที่วางไว้ได้หรือไม่
  4. หากพบว่าไม่สามารถปฏิบัติตามแผนที่วางไว้ได้ ก็นำข้อมูลมาวิเคราะห์ใหม่ ว่าเกิดจากปัจจัยใด และลองปรับเปลี่ยนแผนให้เหมาะสมกับตนเองให้มากที่สุด  
คุณค่าของการวางแผนดูแลสุขภาพของตนเอง

สุขภาพเป็นรากฐานที่สำคัญต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์ นับตั้งแต่การปฏิสนธิจนถึงสิ้นอายุขัย สุขภาพจึงเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับตัวบุคคล สังคมและสิ่งแวดล้อม หากขาดความสมดุลก็จะก่อให้เกิดปัญหาสุขภาพได้


ในปัจจุบันประเทศไทยมีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว ทำให้วิถีการดำเนินชีวิตของคนไทยเปลี่ยนไป และมีพฤติกรรมสุขภาพไม่เหมาะสม ขาดความสนใจละเลยต่อการดูแลสุขภาพ เช่น บริโภคอาหารที่ไม่เหมาะสม ขาดการออกกำลังกาย ใช้สารเสพติด ขาดการพักผ่อนและมีความเครียด เป็นต้น สาเหตุเหล่านี้เป็นสิ่งบั่นทอนสุขภาพและอาจเป็นอันตรายต่อชีวิตได้ ถ้าหากเรามีการบำรุงรักษา ดูแลสุขภาพให้สมบูรณ์แข็งแรงตลอด จะเป็นเสมือนเกราะป้องกัน โรคภัยต่าง ๆ ไม่ให้ทำอันตรายต่อร่างกายได้ และยิ่งมีการปฏิบัติอย่างถูกต้องจนเป็นสุขนิสัย ความแข็งแกร่งทนทานในการป้องกันโรคก็จะยิ่งเพิ่มมากขึ้น เป็นผลทำให้ สามารถดำรงชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างสดชื่น แจ่มใส ไม่เจ็บป่วยและมีชีวิตยืนยง

 3. การวางแผนดูแลสุขภาพของบุคคลในครอบครัว  
  1. การสำรวจรูปแบบการดำเนินชีวิตของสมาชิกในครอบครัวว่าเป็นอย่างไร เนื่องจากการดูแลสุขภาพของบุคคลในครอบครัวนั้น ไม่ใช่เป็นการดำเนินงานโดยบุคคลใดบุคคลหนึ่งเพียงคนเดียวแล้วจะประสบความสำเร็จ หากแต่ต้องอาศัยความร่วมมือร่วมใจของสมาชิกในครอบครัวเป็นสำคัญ
  2. จากข้อมูลที่ได้ นำมากำหนดเป็นแผนการในการที่จะดูแลสุขภาพของสมาชิกในครอบครัวโดยการกำหนดเป็นแผนในการดูแลสุขภาพซึ่งอาจจะทำแยกเป็นรายบุคคล หรืออาจจะทำเป็นภาพรวมของทุกคนในครอบครัว
  3. เมื่อกำหนดแผนในการดูแลสุขภาพของสมาชิกในครอบครัวได้แล้ว ก็ดำเนินตามแผนที่วางไว้ และประเมินผลเป็นระยะ ๆ ว่าบุคคลในครอบครัวสามารถปฏิบัติตามแผนในการดูแลสุขภาพที่วางไว้ได้หรือไม่ อย่างไร
  4. หากพบว่างไม่สามารถปฏิบัติตามแผนที่วางไว้ได้ ก็นำข้อมูลมาวิเคราะห์ใหม่ ว่าเกิดจากปัจจัยใด และลองปรับเปลี่ยนแผนให้เหมาะสมกับสมาชิกในครอบครัวของเราให้มากที่สุด
ที่มา :  http:// www.mwit.ac.th/~t2090107/link/sheet/HPE301031/sheet_5doc.
            http://www.sainampeung.ac.th/wbi/ict-teacher

วันศุกร์ที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

เปิดค่านิยมเด็กยุคใหม่ "เชื่อพรหมลิขิต-ติดยา-บ้าแบรนด์เนม-ติดเกม-กลัวผี”

อนุกมธ.วุฒิ ชี้วิกฤกฤตการเมือง ส่งผลเด็กเลียนแบบในทางที่ผิด เปิด 5 ค่านิยมเด็กไทยยุคใหม่ เชื่อ“พรหมลิขิต ติดยา บ้าแบรนด์เนม ติดเกม กลัวผี” สะท้อนปัญหาระบบบการศึกษาไทยล้มเหลว ด้านเครือข่ายครอบครัวชี้โรงเรียนต้องเปิดพื้นที่ ให้พ่อแม่มีส่วนร่วมเฝ้าระวังเด็กกลุ่มเสี่ยง

เมื่อวันที่ 2 กรกฎาคม ที่รัฐสภา คณะอนุกรรมาธิการสิทธิเสรีภาพและการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนตามรัฐธรรมนูญ วุฒิสภา ได้มีการจัดเสวนาเรื่อง “เด็ก: ควรเรียนรู้อะไรจากวิกฤตทางการเมือง”

โดยนายอนุศักดิ์ คงมาลัย ประธานคณะอนุกรรมาธิการฯ กล่าวว่า พฤติกรรมความรุนแรงกรณีนักเรียนชั้นม. 5 โรงเรียนวิทยานุสรณ์ ก่อเหตุเผาหอสมุดโรงเรียน ซึ่งเกิดจากความเครียดจากการกดดันทางการเรียน และการเลียนแบบพฤติกรรมความรุนแรงทางการเมืองที่ผ่านมา สะท้อนให้เห็นว่า เด็กไทยกำลังเผชิญปัญหาความสามารถด้านการบริหารอารมณ์ จนกลายเป็นจุดอ่อนต่อความอดกลั้นเมื่อเผชิญปัญหาและการหาทางออกด้วยตนเอง

"นอกจากนี้ยังพบว่า ค่านิยมของเด็กไทยในยุคปัจจุบันที่เกิดจากการเลียนแบบทาสังคมที่สำคัญ 5 ด้าน พรหมลิขิต ติดยา บ้าแบรนด์เนม ติดเกม กลัวผี ซึ่งค่านิยมเหล่านี้มาจากเพื่อน สังคมรอบข้าง การโฆษณาชวนเชื่อ สื่อมวลชน ผู้นำทางความคิด"นายอนุศักดิ์ กล่าว

นายอนุศักดิ์ กล่าวว่า ขณะที่ระบบการศึกษาไทยที่ผ่านมาไม่สามารถทำได้ตามความคาดหวังที่ตั้งกันเอาไว้ ปรับตัวไม่ทันต่อความเปลี่ยนแปลงทางสัคม และมีเพียงมาตรฐานเดียวในการวัดความเก่งของเด็ก ดังนั้นสิ่งที่เด็กควรเรียนรู้จากบทเรียนที่เกิดขึ้นในสังคมคือ การเรียนรู้ความเป็นจริงที่เกิดขึ้นในสังคมด้วยตนเองอย่างรู้เท่าทัน เพื่อไม่ตกเป็นเหยื่อ และเรียกร้องให้ผู้ใหญ่ทุกฝ่าย ทั้งฝ่ายรัฐบาล ฝ่ายค้าน ข้าราชการ และทุกภาคส่วนตระหนักในการสนับสนุนให้เกิดความร่วมมือในการเฝ้าระวังเด็ก ในภาวะที่สังคมสับสน โดยจำเป็นต้องใช้กลไกที่ใกล้ตัวที่สุดในการเฝ้าระวังกับปัญหา ได้แก่ เครือข่ายเพื่อนร่วมชั้นเรียน เครือข่ายผู้ปกครอง ผู้บริหารสถานศึกษา และผู้บริหารเขตพื้นที่การศึกษา

นายธนากร คมกริช หัวหน้าโครงการเครือข่ายผู้ปกครองในสถานศึกษา มูลนิธิเครือข่ายครอบครัว กล่าวว่า เด็กควรเรียนรู้ความเป็นจริง เพื่อไม่ตกเป็นเหยื่อของสังคม โดยทุกระบบในสังคมต้องทำหน้าที่ฝึกสอนให้เด็กได้เรียนรู้ กลับพบว่า หน้าที่ในการอบรมเด็กกลับถูกผลักภาระไว้ที่โรงเรียนเพียงอย่างเดียว ในขณะที่ระบบโรงเรียนกลับมุ่งเน้นในเชิงวิชาการ แม้จะมีระบบคัดกรองเด็กที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยงเพื่อนำเข้าสู่การแก้ไขปัญหา แต่กลไกเหล่านี้ยังไม่ถูกทำหน้าที่ จึงเห็นด้วยที่ผู้ปกครองต้องเข้ามามีส่วนร่วมในการดูแลลูก ไม่ควรฝากภาระและอนาคตให้กับโรงเรียน โดยต้องมีระบบกลไกทางสังคมที่ช่วยให้ระบบครอบครัวมีความเข้มแข็ง มีทักษะและความรู้ความเข้าใจในการแนะนำลูกของตนเอง ซึ่งการสร้างระบบเครือข่ายผู้ปกครองสามารถทำได้ โดยโรงเรียนต้องเปิดพื้นที่ให้กลุ่มพ่อแม่ได้เกิดกระบวนการเรียนรู้ของความเป็นผู้ปกครอง เช่น มีห้องให้ผู้ปกครองได้แลกเปลี่ยนประสบการณ์และการให้คำปรึกษาการเลี้ยงดูลูก เพื่อให้เครือข่ายครอบครัวมีส่วนในการเข้าไปช่วยแก้ไขปัญหาเด็กในโรงเรียนมากขึ้น

ที่มา : http://www.manager.co.th/QOL/ViewNews.aspx?NewsID=9530000091128

หนุ่มสาวจิตป่วย กดดัน – เครียด - เป็นบ้า


จิต' คำคำนี้ในสังคมไทย เป็นคำที่มีความหมายค่อนข้างลบ แถมยังผูกพ่วงมากับภาพลักษณ์ของความน่ากลัวและน่าอันตราย เอาเป็นว่าถ้ามีคนโรคจิตสักคน มาขออาศัยอยู่ร่วมชายคา เชื่อว่าคนร้อยทั้งร้อยต้องคิดทบทวนกันอย่างหนัก และมีน้อยยิ่งกว่าน้อยที่ตอบว่าเอาสิ ได้โดยไม่มีความเคลือบแคลงกังวล

แต่ทราบหรือไม่ว่า ในความเป็นจริงแล้ว ปีๆ หนึ่ง มีคนไทยที่ป่วยเป็นโรคทางจิตอยู่ถึงกว่าหนึ่งแสนคน โดยอันดับแรก เป็นผู้ป่วยที่ป่วยด้วยโรคจิตเภท รองลงมาก็เป็นผู้ป่วยโรคซึมเศร้า และตามติดมาด้วยผู้ป่วยอาการทางจิตที่เนื่องมาจากการเสพสารเสพติด
ซึ่งไม่ว่าจะเป็นสาเหตุจากอะไรก็ตาม ก็นับเป็นผู้ป่วยทางจิตทั้งนั้น แต่ที่สำคัญไปกว่านั้น ก็คือ ในบรรดาผู้ป่วยกว่า 100,000 คนที่เข้ามารับการรักษานั้น เกือบทั้งหมดเป็นคนที่มีอายุเฉลี่ย 20 – 30 ปี หรือพูดง่ายๆ ก็คือผู้ป่วยทางจิตของไทยส่วนมากจะเป็นคนในวัยซึ่งเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาประเทศ

มันเกิดอะไรขึ้นกับหนุ่มสาวไทยกันแน่นะ ???

หนุ่มสาวไทยกับอาการป่วยไข้ทางจิต

การที่คนอายุ 20 – 30 ปี กว่าแสนคน ตบเท้าเดินเข้าโรงพยาบาลเพื่อรักษาอาการทางจิตในปีที่ผ่านมา หากลองทบทวนให้ดี ตัวเลขเหล่านี้ ย่อมมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่สามารถบอกอะไรบางอย่างกับเราได้
นายแพทย์ศักดา กาญจนาวิโรจน์กุล ผู้อำนวยการ โรงพยาบาลศรีธัญญา ให้ความกระจ่างเกี่ยวกับผู้ป่วยที่เป็นโรคจิตเภทไว้ว่า สาเหตุที่แท้จริงนั้นยังไม่มีใครรู้ว่าเกิดมาจากอะไร ซึ่งส่วนใหญ่ที่มักแสดงอาการในช่วงคนอายุ 20-30 ปีนั้น ก็เนื่องจากในช่วงอายุนี้จะเกิดการเปลี่ยนแปลงของสารเคมีในสมองที่เรียกว่า สื่อนำทางประสาทผิดปกติ จึงทำให้ระบบความคิดของผู้ป่วยเปลี่ยนแปลงไป และส่งผลให้มีการแสดงออกทางพฤติกรรมที่แปลก เช่น การแต่งตัวแปลกๆ ควบคุมตัวเองไม่ได้ เก็บตัว ไม่ยุ่งกับใคร หรืออาจจะแสดงออกทางลักษณะประสาทหลอนก็เป็นได้

“ถือว่าเป็นอาการผิดปกติของคน จะเกิดอาการประสาทหลอนทางหู ตา หรือการหลงผิดต่างๆ ที่ผ่านมาเราเจอกลุ่มผู้ป่วยที่เป็นจิตเภทอยู่สองประเภท คือ แสดงออกทางบวก พวกนี้จะเอะอะ โวยวาย ก้าวร้าว หูแว่ว หลงผิดคิดว่าคนจะมาทำร้าย อีกกลุ่มหนึ่งแสดงอาการทางลบ ไม่ยุ่งกับใคร ไม่สังคมกับใคร ไม่ดูแลตัวเอง อยู่เฉยๆ ซึ่งโอกาสเกิดมีร้อยละ 1 เท่านั้น”

ในส่วนของการป้องกันนั้น นายแพทย์คนเดิมบอกว่า ส่วนใหญ่จะป้องกันในกลุ่มผู้ที่ป่วยแล้วไม่ให้กลับมาเป็นโรคเดิมซ้ำมากกว่า ซึ่งถ้าหากจะป้องกันคนทั่วไปไม่ให้เป็นโรคจิตเภทเลย ถือเป็นเรื่องลำบาก เพราะยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัด

อย่างไรก็ตามสิ่งแวดล้อม การเลี้ยงดู ก็มีส่วนช่วยให้คนที่มีแนวโน้มจะเป็นโรคไม่ให้เป็นได้ และหากเป็นโรคนี้แล้วต้องรักษา เมื่อในทางการแพทย์เชื่อว่ามีสารเคมีผิดปกติ ก็ต้องรักษาโดยการให้ยาร่วมกับการทำจิตบำบัดควบคู่กันไป

“คนที่เป็นมักจะไม่รู้ตัวว่าเป็น แต่คนข้างๆ สามารถสังเกตได้ เขาเป็นโรค คนคนนั้นต้องมีลักษณะพฤติกรรมการพูด เปลี่ยนแปลงไปจากเดิม เช่น เก็บตัว ก้าวร้าว นั่งพูดคนเดียว หรือเดินไปเรื่อยๆ โดยไม่มีจุดประสงค์ ง่ายๆ เรื่องการนอน นอนไม่ค่อยหลับก็ช่วยให้สังเกตได้”
นายแพทย์ศักดาบอกอีกว่า จากที่เคยพบในงานวิจัย ผู้ป่วยในโรคนี้ โอกาสที่จะทำร้ายผู้อื่น หรือทำการฆาตกรรม ไม่ต่างจากคนทั่วไปมากนัก เพียงแต่พวกผู้ร้ายที่เป็นโรคจิตเภท เมื่อทำร้ายผู้อื่นจึงตกเป็นข่าวดัง

“จริงๆ แล้วพวกเขาไม่ต่างจากคนทั่วไป ไม่เชื่อลองดูในหนังสือพิมพ์ได้ ส่วนมากที่ก่อคดีก็ไม่ได้เกิดจากคนไข้โรคจิต คนธรรมดาทั้งนั้น แต่เมื่อถามว่าคนไข้กลุ่มนี้เขามีโอกาสที่จะทำอันตรายผู้อื่นหรือไม่ ก็แค่ช่วงที่อาการกำเริบเขาก็จะควบคุมตัวเองได้น้อย และอาจจะมีโอกาสทำได้ง่ายกว่าคนปกติ”
และจากการวิจัยนั้นยังบอกอีกว่า ส่วนใหญ่แล้ว คนไข้จิตเภท มักจะเป็นฝ่ายถูกทำร้ายจากคนที่ไม่ได้ป่วยเสียมากกว่า

เครียดก็บ้าได้

จากข้อมูลที่นายแพทย์ศักดา ให้มา ทำให้เราทราบว่าแท้แล้ว โรคจิตเภทนั้น เป็นโรคที่เกิดขึ้นกับใครก็ได้ ทั้งยังไม่รู้ที่มาของสาเหตุชัดเจน รู้แต่ว่ามันสืบเนื่องมาจากการเปลี่ยนแปลงของสารเคมีบางอย่างในสมอง ซึ่งในทางการแพทย์นั้น เชื่อกันว่า นั่นเป็นสาเหตุหลักของการเกิดโรคทางจิต
หากแต่เมื่อมองไปรอบๆ ตัว ก็ไม่อาจปฏิเสธได้ว่า นอกจากเรื่องของสารเคมีในสมอง ที่เป็นเรื่องทางการแพทย์แล้ว ความเครียดจากสภาวะสังคม ก็เป็นอีกปัจจัยหนึ่ง ที่คนทั่วไปเชื่อว่า มันส่งผลต่ออาการป่วยไข้ของจิตใจแน่นอน

ปิยศักดิ์ ประไพพร หนุ่มวัยใกล้ 30 ที่กำลังต่อสู้แบบปากกัดตีนถีบ เพื่อความอยู่รอดในสังคม เล่าให้เราฟังว่าความเครียดในการหาเลี้ยงชีวิตก็มีผลกับจิตใจไม่แพ้กับการเปลี่ยนแปลงของสารเคมีในสมอง ซึ่งอาจจะนำไปสู่อาการป่วยไข้ทางจิตได้ง่ายๆ แต่เขาโชคดีที่เขาค้นพบทางออกของตัวเองในการจัดการความเครียดเหล่านั้นแล้ว

“คนในวัยเกือบสามสิบ หรือคนวัยผมทุกคนนั้นค่อนข้างมีความเสี่ยงนะ สังคมมันค่อนข้างกดดัน เพราะแต่ละคนมีความมุ่งหมายที่ตั้งเอาไว้แล้วต้องไปให้ถึง ตอนนี้หลายคนก็ต้องคิดแล้วว่าจะซื้อบ้านดีไหม? จะต้องอยู่หอไปจนแก่หรือ? บางทีก็งงๆ ไม่รู้ว่าจะทำอะไรต่อไปในอนาคตดี อย่างผม ซึ่งเป็นคนที่เรียนไม่จบอาจจะเสี่ยงเยอะกว่า เพราะว่าทางเลือกที่เลือกได้มันยิ่งแคบลงๆ มีความกดดันมากกว่าคนที่เรียนจบและมีทางเลือกในการทำงาน

“ทางออกของผมก็คือ การคิดให้ตก คิดให้มากจนไม่ต้องคิดมากอีกต่อไป อย่างเช่น เมื่อก่อนเรามีเป้าหมายชีวิตทั้งเรื่องบ้านเรื่องลูกสูง แต่เอาเข้าจริงมันยังทำไม่ได้ เราก็ต้องคิดที่จะลดเป้าหมายลงมา อยู่ในสภาพความเป็นจริง ค่อยๆ คิดค่อยๆ ทำไป ถ้าเราคิดตกจริงๆ เราจะไม่เครียดและไม่มีปัญหาทางจิตนะ แต่ถ้าคิดไม่ได้ สมมติมีเงินเดือนแค่หมื่นกว่า แต่ยังอยากได้รถ ไม่ยอมปรับเป้าหมายสุดท้ายก็ต้องไปซื้อมา สุดท้ายปัญหามันก็ไม่จบ อย่างนี้อาจจะป่วยทางจิตเอาได้ง่ายๆ เพราะปัญหาเก่าใหม่มันมารุมเร้า”
เช่นเดียวกับ นาถณดา ชัชวาลกิจกุล สาวพนักงานธนาคาร ที่ถึงแม้จะมีฐานะทางการเงินที่มั่นคง แต่ก็ต้องเผชิญกับงานที่ซ้ำซาก และน่าเบื่อหน่ายอยู่ทุกวี่ทุกวัน แต่กระนั้น เธอก็มีทางออกสำหรับระบายความเครียดของตนเอง

“งานที่เราทำมันเป็นงานรูทีน เหมือนกันทุกวัน และเกิดความเครียดในการทำงานได้ง่าย ถ้าไม่มีการระบาย จิตใจอาจจะมีปัญหาได้นะ ซึ่งสำหรับเราแล้ว การได้พบ ได้พูดคุยกับเพื่อนนั้น เป็นทางออกที่ดีที่สุด คือเวลาเจอกัน เราไม่ต้องถึงขั้นเล่าเรื่องหนักใจของเราให้เขาฟังหรอก แค่พูดคุย เล่นกันเฉยๆ ก็ผ่อนคลายแล้ว”

ตัวอย่างเยียวยาหัวใจให้ฟื้นจากความซึมเศร้า

10 กว่าปีก่อน ในแวดวงแฟชั่นระดับโลก ชื่อเสียงเรียงนามของ ยุ้ย-รจนา เพชรกันหา หญิงสาวจากอุบลราชธานีผู้นี้ คือซูเปอร์โมเดลที่ได้รับการยอมรับ เธอคือพรีเซ็นเตอร์ที่ชาแนลรักใคร่ เป็นที่ชื่นชอบของคัมภีร์แฟชั่นอย่าง VOGUE เป็นหญิงสาวที่ทำให้โลกตะวันตกได้ตระหนักถึงความงามของเอเชีย กระทั่งได้รับการกล่าวขานว่า เธอคือภาพแทนของความงามแห่งโลกตะวันออก
“ยุ้ยต้องใช้เวลานานหลายปีเลยค่ะ กว่าจะกลับมาเข้มแข็งได้ ยอมรับว่าช่วงที่ชีวิตย่ำแย่ จิตใจเราอ่อนแอมากๆ แล้วยุ้ยก็บอกตรงๆ ได้เลยค่ะ ว่าครอบครัวยุ้ย ไม่ได้อบอุ่นนัก พอเรามีโอกาสได้ไปพบกับสภาพสังคมในเมืองใหญ่ ไปพบกับแรงกดดันและไปพบกับสิ่งยั่วยุมากมายโดยที่พื้นฐานจิตใจเราไม่ได้มีเบ้าหลอมที่แข็งแรง มันก็ทำให้เราถูกชักจูง ถูกคล้อยตามจากคนไม่ดีได้ง่าย ยุ้ยว่าสภาพสังคมรอบข้าง ผู้คนรอบข้างก็มีส่วนที่ทำให้เราเกิดความกดดัน ทำให้เราเกิดความเครียด และทำให้เราหลงคล้อยตามไปกับสิ่งต่างๆ ที่ไม่ดี และนอกจากผู้คนรอบข้าง สภาพสังคมรอบตัวแล้ว สภาพจิตใจของเราก็มีส่วนมากๆ เหมือนกัน ซึ่งยุ้ยก็ยอมรับว่ายุ้ยไม่หนักแน่น ไม่เข้มแข็งพอ”

เมื่อจิตใจของเธอไม่อาจทัดทานสิ่งยั่วยุที่เป็นค่านิยมของวงการ สยบยอมต่ออำนาจยาเสพติด ทั้งจิตใจไม่อาจรับมือกับความสำเร็จ 'ระดับโลก' ที่ประเดประดังมาอย่างไม่คาดคิด การปล่อยตัวปล่อยใจอย่างเคว้งคว้างไร้หลักที่มั่นคง จึงนำเธอไปสู่จุดตกต่ำอย่างที่สุด ติดยางอมแงม ตกอับกลับมาเมืองไทยด้วยสภาพจิตใจล้มเหลว มีผลข้างเคียงจากการติดยาเป็นเวลานาน มีเงินใช้วันละไม่ถึง 100 บาท แต่ในที่สุด ด้วยกำลังใจจากแม่ของเธอและคนรอบตัวที่รักและหวังดีอย่างแท้จริง ยุ้ย ก็กลับมาใช้ชีวิตอย่างรู้คุณค่าอีกครั้ง ทั้งยังฝากเป็นกำลังใจให้ทุกๆ คน ที่กำลังประสบกับภาวะความเครียด ซึมเซา เนื่องจากสภาพสังคมและผู้คนรอบข้างว่า

“ที่ยุ้ยเป็นห่วงมากๆ ก็คือเด็กรุ่นใหม่ๆ ที่อายุยังน้อย เพราะเขาเป็นวัยที่อาจจะถูกชักจูงได้ง่าย ถ้าไปเจอคนไม่ดี ชักนำไปในทางไม่ดีก็อาจคล้อยตาม อยากให้ทุกคนเลือกคบเพื่อนดีๆ คบคนดีๆ ตัวยุ้ยเองที่กลับมาเข้มแข็งได้ ยอมรับเลยว่า แม่ของยุ้ยเป็นคนสำคัญมากๆ ที่คอยให้กำลังใจ แล้วก็ใครอีกหลายๆ คนที่เป็นคนดี มองโลกในมุมดีๆ อยู่ใกล้คนที่มีทัศนคติดีๆ แล้ว ชีวิตเราจะมีความสุขขึ้น แต่นอกจากการเลือกคบคนดีๆ และมีพ่อแม่ผู้ปกครองที่คอยใส่ใจลูกๆ แล้ว สิ่งสำคัญอีกอย่างก็คือ ตัวเราเองก็ต้องมีจิตใจที่หนักแน่น เข้มแข็งด้วย ซึ่งทุกวันนี้ยุ้ยเข้มแข็งขึ้นได้ ก็เพราะได้หันมาสนใจ ศึกษาธรรมะ ทำให้จิตใจเราสงบและมีสติ เป็นสิ่งที่ช่วยได้มากเลยค่ะ”

เมื่อความสำเร็จหรือล้มเหลว ล้วนเป็นธรรมดาของชีวิต การที่ยุ้ยยอมรับความเป็นจริง ยอมรับความผิดพลาดและกลับมายืนหยัดได้อีกครั้ง จึงน่าจะเป็นแรงบันดาลใจสำคัญให้ใครที่กำลังท้อแท้ ซึมเซา จมจ่อมอยู่กับปัญหาชีวิตที่เป็นผลร้ายบั่นทอนทางจิต จนอาจจะเป็นโรคจิตถึงบ้าได้ ให้ลุกขึ้นสู้อีกครั้ง
แต่ไม่ว่าคนเราจะมีอาการป่วยทางจิตด้วยสาเหตุใดก็ตาม ความจริงข้อหนึ่งที่เราต้องยอมรับก็คือ ในสังคมที่เราอาศัยอยู่ทุกวันนี้ มีคนที่มีความเสี่ยงที่จะป่วยทางจิตอยู่ถึง 1 ใน 100 และใครจะรู้ว่าหนึ่งในนั้น อาจจะเกิดขึ้นกับเราในวันใดวันหนึ่งก็ได้ ดังนั้น ทางที่ดีก็ควรที่จะเริ่มดูแลสุขภาพจิตของตัวเองตั้งแต่วันนี้ เพื่อว่า เราจะได้มีชีวิตที่ห่างไกลโรคจิตเภทและสามารถดำรงชีวิตอย่างปกติท่ามกลางสภาพสังคมที่สับสนซับซ้อนและชวนป่วยอย่างในทุกวันนี้

คู่มือสังเกตคนเพี้ยน (Schizoid personality Manual)

การที่จะรู้หรือไม่รู้ว่าใครจะเป็นโรคจิตเภทหรือไม่นั้น สามารถทำได้โดยการสังเกตอาการและดูดีกรีความเพี้ยนในการใช้ชีวิตของเขา ว่าดำเนินไปอย่างไร ซึ่งถ้าหากใครมีคุณสมบัติความเพี้ยนครบ 8 ข้อ ดังข้างล่างนี้ ก็แนะนำให้พาเขาไปหาหมอได้ทันที เพราะเขาคนนั้นมีโอกาสป่วยเป็นโรคจิตเภทเกือบ 100 เปอร์เซ็นต์แล้ว
  1. ไม่ค่อยมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับใคร แม้แต่คนในครอบครัว,
  2.  ชอบทำงานที่ทำคนเดียว หรือกิจกรรมที่ทำคนเดียว
  3.  ไม่ค่อยมีความสุข หรือสนุกกับอะไรเป็นพิเศษ 
  4.  ไม่มีเพื่อนสนิทคนอื่นซึ่งไม่ใช่ญาติสายตรง (อาจจะสนิทกับญาติสายตรงบางคนได้) 
  5. รักษาความสัมพันธ์กับคนอื่นนานๆ ไม่ได้ เช่น คบเพื่อนนานเป็นปีๆ หรือสิบๆ ปีได้ยาก ฯลฯ 
  6. ไม่หวั่นไหวต่อคำสรรเสริญและนินทา (แต่ไม่ใช่ผู้บรรลุธรรมชั้นสูงแต่อย่างใด) 
  7. แสดงความรู้สึกน้อย (ทั้งด้านบวกและลบ) 
  8. มีความคิดเพ้อเจ้อ ฝันกลางวัน
ข้อมูลจาก clevelandclinic.org

โรคซึมเศร้า
โรคซึมเศร้าเป็นโรคที่รั้งตำแหน่งที่สองของผู้ป่วยทางจิตในบ้านเรา ซึ่งถ้าเราจะนิยามความหมายแล้ว ก็อาจจะบอกได้คร่าวๆ ว่า โรคซึมเศร้านั้นคือ การป่วยทั้งร่างกาย จิตใจและความคิด ซึ่งผลของโรคกระทบต่อชีวิตประจำวันเช่นการรับประทานอาหาร การหลับนอน ความรับรู้ตัวเอง ผู้ป่วยไม่สามารถประสานความคิด ความรู้สึกของตัวเพื่อแก้ปัญหา หากไม่รักษาอาการอาจจะอยู่เป็นเดือน ซึ่งโรคซึมเศร้าแบ่งอาการได้เป็น 3 กลุ่มดังนี้
  1. Major depression ผู้ป่วยจะมีอาการ เช่น รู้สึกซึมเศร้า กังวล หงุดหงิดฉุนเฉียว โกรธง่าย อยู่ไม่สุข กระวนกระวาย ซึ่งอาการเหล่านี้จะรบกวนการทำงาน การรับประทานอาหาร การนอน การเรียน การทำงาน และอารมณ์สุนทรีย์ อาการดังกล่าวจะเกิดเป็นครั้งๆ แล้วหายไปแต่สามารถเกิดได้บ่อยๆ  
  2. Dsthymia เป็นภาวะที่รุนแรงและเป็นเรื้อรังซึ่งจะทำให้คนสูญเสียความสามารถในการทำงานและความรู้สึกที่ดี  
  3. Bpolar disorder หรือที่เรียกว่า manic-depressive illness ผู้ป่วยจะมีการเปลี่ยนแปลงทางอารมณ์ซึ่งบางคนอาจจะเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ส่วนมากจะค่อยเป็นค่อยไป เวลาซึมเศร้าจะมีอาการมากบ้างน้อยบ้าง แต่เมื่อเปลี่ยนเป็นช่วงอารมณ์ mania ผู้ป่วยจะพูดมาก กระฉับกระเฉงมากเกินกว่าเหตุ มีพลังงานเหลือเฟือ ในช่วง mania จะมีผลกระทบต่อความคิด การตัดสินใจและพฤติกรรมผู้ป่วยอาจจะหลงผิด หากไม่รักษาภาวะนี้อาจจะกลายเป็นโรคจิตเภท 
ซึ่งการรักษาอาการของโรคซึมเศร้านั้น ทำได้ 2 วิธีคือการช็อตไฟฟ้า (ECT) ซึ่งเหมาะสำหรับผู้ที่มีอาการรุนแรง และการใช้ยาต้านโทมนัส

ที่มา : http://www.siamhealth.net/

เรื่อง ทีมข่าว CLICK

วันจันทร์ที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2553

การแก้ไขประวัติส่วนตัว



1. คลิกที่ เลขประจำตัว (เพื่อเข้าสู่ประวัติส่วนตัว)

2. คลิกที่ เฟรม แก้ไขประวัติส่วนตัว
3. เปลี่ยนชื่อ / นามสกุลเป็นตัวเลขที่กำหนดให้

4. พิมพ์ เลขประจำตัวที่บล็อก
5. คลิกที่ อัพเดทประวัติส่วนตัว
 


วันอังคารที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2553

การเรียนรู้ผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต

โรงเรียนยานนาเวศวิทยาคม
1. พิมพ์ ที่ about:blank http://203.172.132.200/moodle

2. เว็บ E-learning โรงเรียนยานนาเวศวิทยาคม

1. พิมพ์ YN เพื่อค้นหาเว็บโรงเรียนยานนาวศวิทยาคม

2. คลิก ชื่อ โรงเรียนยานนาเวศวิทยาคม

                                        3. คลิกที่ข้อความ E-leaning

4. คลิกที่ ข้อความ (เข้าสู่ระบบ) 
                                    
5. พิมพ์ ชื่อผู้ใช้ และ รหัสประจำตัว

            

 6. เข้าเว็บ E-learning  การเรียนรู้ผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
                                        
      7. สังเกตข่าว ประกาศ ที่ครูได้ลงแจ้งความ หรือนัดหมายนักเรียน   
  

8. คลิก วิชาเรียนของฉัน มีชื่อรายวิชา / รายวิชาทั้งหมด 
นักเรียนเลือกคลิกรายวิชาที่นักเรียนต้องการ
 

9. นักเรียนตอบตกลงที่จะสมัครเข้าเป็นสมาชิกของรายวิชานี้


10. เลือก เนื้อหาวิชา / ข้อสอบ / ข้อสอบซ่อม /บทความ

10.1 เลือกบทความ

10.2 เลือกข้อสอบ  นักเรียนตอบตกลงเข้าสอบวิชาที่เลือก

10.2.1 ข้อสอบแบบจับคู่

10.2.2 ข้อสอบปรนัย


13. อ่านโจทย์ เลือกคำตอบ /. คลิก เลือกคำตอบ

14. คลิกตัวเลขข้อ ด้านล่าง หรือด้านบนเพื่อเลือกข้อต่อไป

15. เมื่อทำข้อสอบเสร็จแล้ว คลิก บล็อก ขวามือ เพื่อส่งข้อสอบ
/ตอบตกลง
16.ข้อสอบถูกส่งเข้าระบบแล้ว คลิกที่ข้อความ E-learning
 

17. กลับสู่หน้าหลัก / คลิก (ออกนอกระบบ)               
               


Pakinson's Disease





















โรคพาร์กินสันหรือโรคสั่นเกร็งในวัยชรา ซึ่งเกิดจากความผิดปกติของระบบประสาทส่วนกลาง ที่จะส่งผลให้เกิดอาการสั่นเกร็ง และเคลื่อนไหวช้า โดยเฉพาะในผู้สูงอายุ ถูกค้นพบโดยDr. Jame Parkinson แพทย์ชาวอังกฤษ ปัจจุบันประเทศไทยมีผู้ป่วยประมาณ 80,000-120,000 คน

สาเหตุสำคัญของการเกิดโรค

  • ความชราภาพของสมอง มีผลทำให้เซลล์สมองที่สร้างสารโดปามีน (เกิดจากกลุ่มเซลล์ประสาทที่มีสีดำที่อยู่บริเวณก้านสมอง โดยทำหน้าที่สำคัญในการสั่งร่างกายให้เคลื่อนไหว) มีจำนวนลดลง โดยมากพบในผู้ที่มีอายุ 65 ปีขึ้นไป ทั้งเพศชายและหญิง และจัดว่าเป็นกลุ่มที่ไม่มีสาเหตุจำเพาะอย่างแน่นอน นอกจากนี้ยังเป็นกลุ่มที่พบบ่อยที่สุด
  • ยากล่อมประสาทหลัก หรือยานอนหลับที่ออกฤทธิ์กดหรือต้านการสร้างสรรโดปามีน โดยมากพบในผู้ป่วยโรคทางจิตเวช ที่ต้องได้รับยากลุ่มนี้เพื่อป้องกันการคลุ้มคลั่ง รวมถึงอาการอื่น ๆ ทางประสาท แต่ปัจจุบันยากลุ่มนี้ลดความนิยมในการใช้ลง แต่ปลอดภัยสูงกว่าและไม่มีผลต่อการเกิด โรคพาร์กินสัน
  • ยาลดความดันโลหิตสูง ในอดีตมียาลดความดันโลหิต ที่มีคุณสมบัติออกฤทธิ์ที่ระบบประสาทส่วนกลาง จึงทำให้สมองลดการสร้างสารโดปามีน แต่ในระยะหลัง ๆ ยาควบคุมความดันโลหิตส่วนใหญ่จะมีฤทธิ์นอกระบบประสาทส่วนกลาง แต่มีผลทำให้ขยายหลอดเลือดส่วนปลาย จึงไม่ส่งต่อสมองที่จะทำให้เกิด โรคพาร์กินสัน ต่อไป
  • หลอดเลือดในสมองอุดตัน ทำให้เซลล์สมองที่สร้างโดปานีมีจำนวนน้อยหรือหมดไป
  • สารพิษทำลายสมอง ได้แก่ สารแมงกานีสในโรงงานถ่านไฟฉาย พิษจากสารคาร์บอนมอนนอกไซด์
  • สมองขาดออกซิเจน ในกรณีที่จมน้ำ ถูกบีบคอ เกิดการอุดตันในทางเดินหายใจ จากเสมหะหรืออาหาร เป็นต้น
  • ศีรษะถูกกระทบกระเทือนจากอุบัติเหตุ หรือโรคเมาหมัดในนักมวย
  • การอักเสบของสมอง
  • โรคทางพันธุกรรม เช่น โรควิลสันซึ่งเกิดจากการที่มีอาการของโรคตับพิการร่วมกับโรคสมอง สาเหตุมาจากธาตุทองแดงไปเกาะในตับและสมองมากจนเป็นอันตรายขึ้นมา
  • ยากลุ่มต้านแคลเซียมที่ใช้ในโรคหัวใจ โรคสมอง ยาแก้เวียนศีรษะ และยาแก้อาเจียนบางชนิด
อาการของโรคพาร์กินสัน

โดยทั่วไปอาการจะแสดงออกมากน้อยแตกต่างกันในผู้ป่วยแต่ละราย ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลาย ๆ ด้าน เช่น อายุ ระยะเวลาการเป็นโรค และภาวะแทรกซ้อนที่ตามมา แต่โรคชนิดนี้จะมีอาการที่แสดงออกที่เห็นได้ชัด คือ

  • อาการสั่น พบว่าเป็นอาการเริ่มต้นของโรคประมาณร้อยละ 60-70 ของผู้ป่วยจะมีอาการสั่น โดยเฉพาะเวลาที่อยู่นิ่ง ๆ จะมีอาการมากเป็นพิเศษ (4-8 ครั้ง/วินาที) แต่ถ้าเคลื่อนไหวหรือทำกิจกรรมก็จะมีอาการสั่นลดลง หรือหายไป โดยมากพบอาการสั่นที่มือและเท้า แต่บางครั้งอาจพบได้ที่คางหรือลิ้นก็ได้ แต่มักไม่พบที่ศีรษะ
  • อาการเกร็ง ผู้ป่วยจะรู้สึกปวดเมื่อยตามกล้ามเนื้อ โดยเฉพาะแขน ขา และลำตัว ทั้ง ๆ ที่ไม่ได้เคลื่อนไหวหรือทำงานหนักแต่อย่างใด
  • เคลื่อนไหวช้า ผู้ป่วยจะขาดความกระฉับกระเฉงงุ่มง่าม โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อเริ่มต้นเคลื่อนไหว บางรายอาจหกล้มจนเกิดอุบัติเหตุตามาได้ เช่น สะโพกหัก หัวเข่าแตก เป็นต้น
  • ท่าเดินผิดปกติ ผู้ป่วยจะมีท่าเดินจำเพาะตัวที่ผิดจากโรคอื่น คือ ก้าวเดินสั้น ๆ แบบซอยเท้าในช่วงแรก ๆ และจะก้าวยาวขึ้นเรื่อย ๆ จนเร็วมากและหยุดไม่ได้ทันที โอกาสที่จะหกล้มหน้าคว่ำจึงมีสูง นอกจากนี้ยังเดินหลังค่อม ตัวงอ แขนไม่แกว่ง มือชิด แนบลำตัว หรือเดินแข็งทื่อเป็นหุ่นยนต์
  • การแสดงสีหน้า ใบหน้าของผู้ป่วยจะเฉยเมย ไม่มีอารมณ์เหมือนใส่หน้ากาก เวลาพูดมุมปากจะขยับเล็กน้อย
  • เสียงพูด ผู้ป่วยจะพูดเสียงเครือ ๆ เบา ไม่ชัด หากพูดนาน ๆ เสียงจะค่อย ๆ หายไปในลำคอ บางรายที่อาการไม่หนักเมื่อพูดน้ำเสียงจะราบเรียบ รัว และระดับเสียงจะอยู่ระดับเดียวกันตลอด นอกจากนี้น้ำลายยังออกมาและสออยู่ที่มุมปากตลอดเวลา
  • การเขียน ผู้ป่วยจะเขียนหนังสือลำบาก ตัวหนังสือจะค่อย ๆ เล็กลงจนอ่านไม่ออก ส่วนปัญหาด้านสายตา ผู้ป่วยจะไม่สามารถกลอกตาไปมาได้คล่องแคล่วอย่างปกติ เพราะลูกตาจะเคลื่อนไหวแบบกระตุก โดยส่วนมากผู้ป่วยโรคพาร์กินสัน จะมีอาการแทรกซ้อน คือ ท้องผูกเป็นประจำ ท้อแท้ซึมเศร้า ปวดกล้ามเนื้อ และอ่อนเพลีย
การรักษาโรคพาร์กินสัน มี 3 วิธี
  1. รักษาด้วยยา แม้ว่ายาจะไม่สามารถทำให้เซลล์สมองที่ตายไปแล้วฟื้นตัว หรือกลับมางอกทดแทนเซลล์เดิมได้ แต่ก็จะทำให้สารเคมีโดปามีนในสมอง
  2. ทำกายภาพบำบัด จุดมุ่งหมายของการรักษาก็คือ ให้ผู้ป่วยกลับคืนสู่สภาพชีวิตที่ใกล้เคียงคนปกติที่สุด สามารถเข้าสังคมได้อย่างดี มีความสุขทั้งกายและใจ ซึ่งมีหลักวิธีปฏิบัติง่าย ๆ คือ ฝึกการเดินให้ค่อย ๆ ก้าวขาแต่พอดีโดยเอาส้นเท้าลงเต็มฝ่าเท้า และแกว่งแขนไปด้วยขณะเดิน เพื่อช่วยในการทรงตัวดี นอกจากนี้ควรหมั่นจัดท่าทางในอิริยาบถต่าง ๆ ให้ถูกสุขลักษณะ รองเท้าที่ใช้ควรเป็นแบบส้นเตี้ย และพื้นต้องไม่ทำมาจากยาง หรือวัสดุที่เหนียวติดพื้นง่าย ฝึกการพูด โดยญาติจะต้องให้ความเข้าอกเข้าใจค่อย ๆ ฝึกผู้ป่วย และควรทำในสถานที่ที่เงียบสงบ
  3. การผ่าตัด โดยมากจะได้ผลดีในผู้ป่วยที่มีอายุน้อย และมีอาการไม่มากนัก หรือในผู้ที่มีอาการแทรกซ้อนจากยาที่ใช้มาเป็นระยะเวลานาน ๆ เช่น อาการสั่นที่รุนแรง หรือมีการเคลื่อนไหวแขน ขา มากผิดปกติจากยา
หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
  • สถาบันประสาทวิทยา 132 ถนนราชวิถี เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400
  • ศูนย์โรคพาร์กินสัน โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย 871 ถนนอังรีดูนังต์ ปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330
ที่มา : ศ.นพ.นิพนธ์ พวงวรินทร์
http://health.kapook.com/view5780.html
http://www.thailabonline.com/parkinson.htm

วันอาทิตย์ที่ 13 มิถุนายน พ.ศ. 2553

ตะคริว (Muscle Cramps)



http://www.gotoknow.com/

ตะคริว (Muscle cramps)
ตะคริว หมายถึง การหดตัวของกล้ามเนื้ออย่างรุนแรงเป็นเวลาต่อเนื่องกันนาน ๆ โดยไม่ได้ตั้งใจทำอาจเป็นกล้ามเนื้อกลุ่มเดียวหรือหลาย ๆ กลุ่มก็ได้

สาเหตุของการเป็นตะคริว
  1. ภาวะที่ร่างกายขาดน้ำและเกลือ
  2. กล้ามเนื้ออ่อนแอและเกร็งตัวจากการทำงานหรือออกแรงอย่างมากและเร็วเกินไป (ขาดการอุ่นเครื่อง) เช่นวิ่งเร็ว หรือแข่งกีฬาหนัก ๆ โดยไม่มีการอุ่นเครื่องก่อน
  3. ระบบไหลเวียนของเลือด ไปเลี้ยงกล้ามเนื้อไม่เพียงพอ เช่น อากาศหนาวมาก ใส่ถุงเท้ารัดแน่นมาก ทำให้เลือดไปเลี้ยงปลายเท้าไม่พอ เกิดเป็นตะคริวที่น่อง หรือที่ฝ่าเท้าได้
  4. ภาวะเครียดทางจิตใจมีผลทำให้กล้ามเนื้อเครียดหรือตึงตัวมากเกินไปก็ทำให้เกิดเป็นตะคริวได้ง่าย
การป้องกัน
  • มีการฝึกซ้อมและออกกำลังกายอยู่เสมอ
  • ดื่มน้ำ (หรือน้ำหวาน) ผสมเกลือเล็กน้อย
  • ควรมีการอุ่นเครื่อง (Warm-up) เช่นการวิ่งเหยาะ กายบริหารก่อนการแข่งขันกีฬาทุกครั้งนวดกล้ามเนื้อเบา ๆ ก่อนและหลังการเล่น หรือแข่งขันกีฬา
  • ตัดความกังวลใจล่วงหน้าก่อนการแข่งขัน
การดูแลและปฐมพยาบาล
  • เนื่องจากการเป็นตะคริวทำให้กล้ามเนื้อนั้นหดเกร็ง เจ็บปวด และเลือดไปเลี้ยงไม่เพียงพอ ถ้าปล่อยทิ้งไว้นานกล้ามเนื้อนั้นอาจขาดคุณสมบัติในการยืดหดได้ และส่งผลให้เป็นตะคริวได้บ่อย ๆอีก ดังนั้นจึงต้องรีบแก้ไขทันทีที่เป็นตะคริว ดังนี้


  • จัดท่าทาง (Positioning) เพื่อยืดกล้ามเนื้อที่เป็นตะคริว อาจยืดเองหรือให้ผู้อื่นทำให้ก็ได้ ตัวอย่างเช่น การยืดกล้ามเนื้อต้องทำอย่างนิ่มนวลก่อนแล้วจึงค่อย ๆ เพิ่มแรงยืดทีละน้อยจนสุดการเคลื่อนไหวของข้อและยืดค้างไว้สักครู่ เมื่อกล้ามเนื้อคลายตัวแล้วจึงค่อยๆ คลายแรงยืดนั้นลงการยืดแรง ๆ และเร็วแบบกระตุกจะทำให้เกร็งมากขึ้นกว่าเดิมได้ง่ายจึงไม่ควรทำ
  • การนวดที่กล้ามเนื้อ ในระยะที่เริ่มเป็นตะคริวนี้ ควรจะนวดเบาสลับกับการยืดกล้ามเนื้อก็ได้ เช่น การคลึงเบา ๆ ที่กล้ามเนื้อนั้นประมาณ 1-2 นาที สลับกับการยืดกล้ามเนื้อ 1-2 นาที จะทำให้กล้ามเนื้อคลายตัวเร็วขึ้น การบีบนวดอย่างแรง ๆ เป็นการกระตุ้นให้กล้ามเนื้อเกร็งมากยิ่งขึ้น ดังนั้นไม่ควรทำ
  • การให้ความอบอุ่น หรือ ความร้อนแก่กล้ามเนื้อที่เป็นตะคริว มีความสำคัญมากในการลดอาการเกร็งเนื่องจากตะคริว และช่วยป้องกันการเป็นซ้ำ ๆ อีกได้เป็นอย่างดี ในระยะกระทันหันการช่วยเหลือ 2 อย่างแรกน่าจะเพียงพอ นอกจากจะเป็นซ้ำ ๆ กันบ่อยครั้ง จึงควรใช้ความร้อนช่วย อาจให้ในรูปของผ้าขนหนูชุบน้ำอุ่น แล้วบิดให้พอหมาด ๆ แล้วนำมาประคบบริเวณที่เป็นตะคริวหรือจะใช้กระเป๋าน้ำร้อนห่อด้วยผ้าขนหนู 2 ชั้น มาประคบก็ได้ จะทำให้เลือดมาเลี้ยงกล้ามเนื้อได้มากขึ้นและลดอาการเกร็ง การประคบใช้เวลาประมาณ 20-30 นาที ถ้าเป็นผ้าชุบน้ำอุ่นก็ควรนำมาชุบน้ำอุ่นบ่อย ๆ เพื่อรักษาความร้อนได้นาน


ที่มา : www.doctor.or.th/node/6178

วันศุกร์ที่ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2553

ความรู้เรื่องกระดูกพรุน



โรคกระดูกพรุน (Osteoporosis)

คือภาวะที่เนื้อกระดูกผุกร่อนไปจากปกติ และเนื้อกระดูกลดลงอาจถึงขั้นอันตราย ผุกร่อนพร้อมที่จะแตกหักได้ทุกเมื่อ เพียงแค่กิจกรรมง่าย ๆ เช่น ยกของหนัก หรือร่างกายกระทบกระแทรกเพียงเล็กน้อยก็เกิดการแตกหักได้

สาเหตุของการเกิดโรคกระดูกพรุน
เนื้อเยื่อ จะมีการเสื่อมสลายและสร้างเสริมตลอดเวลา ตั้งแต่วัยเด็กจนถึงวัยรุ่นซ่งกระดูกแข็งแรงจากการมีเนื้อกระดูกเพิ่มขึ้นมากกว่าการสูญเสีย เมื่ออยุเกิน 30 ปี กระบวนการสร้างเสริมกระดูกจะเร่มลดลงทั้งเพศหญิงและเพศชาย ตามปกติเพศหญิงจะมีมวลกระดูกน้อยกว่าเพศชาย และเมื่อวัยหมดประจำเดือนเพศหญิงจะมีอัตราการสูญเสียมวลกระดูกมากว่าเพศชาย

ภาวะเสี่ยงต่อการเกิดโรคกระดูกพรุน
  1. ผู้สูงอายุทั้งผู้ชายและผู้หญิง โดยเฉพาะในผู้หญิงมีอัตราเสี่ยงสูงกว่า
  2. ผู้หญิงที่ทำการผ่าตัดเอารังไข่ออกทั้งสองข้าง
  3. ผู้หญิงวัยหลังหมดประจำเดือน (menopause)
  4. บุคคลมีประวัติบุคคลในครอบครัวที่เคยเป็นโรคกระดูกพรุน หรือมีประวัติกระดูหักจากโรคกระดูกพรุน
  5. ดื่มเหล้าและสูบบุหรี่จัด
  6. ได้รับยาบางชนิดเป็นเวลานาน เช่น ยาสเตียรอยด์ (steroid)
  7. ขาดการเคลื่อนไหวออกกำลัง และร่างกายไม่เคยถูกแสงแดด

อาการแสดงของโรค
อาจมีแค่อาการปวดเมื่อย และอาจจะทราบโดยได้รับการตรวจรักษาจากอาการกระดูกหัก หรือมีอาการปวดหลัง หลังโก่งค่อม หรือโค้งงอ ตัวเตี้ยลงจากการยุบตัวของกระดูกสันหลัง
การป้องกันภาวะกระดูกพรุน
  • การป้องกันในช่วงวัยรุ่น เน้นให้มีการสะสมเนื้อกระดูกให้มากที่สุด
  • ป้องกันก่อนวัยหมดประจำเดือน โดยพยายามรักษาปริมาณเนื้อกระดูกให้คงเดิมให้มากที่ด
  • ป้องกันหลังวัยหมดประจำเดือน โดยชะลอการถดถอยของเนื้อกระดูก เพื่อลดความเสี่ยงต่อการเกิดกระดูกหัก เช่น บริเวณกระดูกข้อสะโพก กระดูกสันหลัง และกระดูกข้อมมือ
การปฏิบัติตนเพื่อป้องกันกระดูกพรุน
  1. รับประทานแคลเซี่ยมให้ได้ปริมาณที่ต้องการในหนึ่งวัน
  2. รับประทานวิตามินดี แม็กนีเซี่ยม เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการดูดซึมแคลเซี่ยม หรืออาหารที่มีวิตามินสูง เช่น เนยแข็ง ไข่ และตับ การที่ร่างกายได้รับแสงแดด จะเป็นการเพิ่มการสังเคราะห์วิตามินดีทางผิวหนัง รับประทานแคลเซี่ยมหลังอหาร เพื่อกระตุ้นกรดในกระเพาะอาหารให้หลั่งออกมาย่อยแคลเซี่ยม
  3. หลีกเลี่ยงบุหรี่ สุรา และยาบางชนิด เช่น ยาลูกกลอน ยากันชัก
  4. ดื่มน้ำที่มีสารฟลูออไรด์
  5. ออกกำลังการสม่ำเสมอ อย่างน้อยวันละ 30 นาที เพื่อมห้ระบบกล้ามเนื้อ กระดูกแข็งแรง ระบบหัวใจและปอดมีประสิทธิภาพในการทำงานเพิ่มขึ้น
  6. ผู้หญิงที่ขาดประจำเดือนหรือประจำเดือนหมดก่อนวัยอันควร ควรปรึกษาแพทย์เฉพาะทางเพื่อรับคำแนะนำในการรับประทานฮอร์โมนเอสโตรเจนเสริม

การเสริมสร้างทางด้านโภชนาการ
  • นม เนยแข็ง ผลิตภัณฑ์จากนม
  • ปลาป่น ปลาเล็กปลาน้อยพร้อมกระดูก
  • ปลากระป๋องพร้อมกระดูก
  • กุ้งแห้ง กุ้งฝอย กะปิ
  • ถั่วแดง งาดำ
  • ผักใบเขียวทุกชนิด
  • อาหารทะเล

ที่มา : น.พ.ธวัช ประสาทฤทธา ร.พ.เลิศสิน http://www.lerdsin.go.th/modules/htmlarea/upload/Thavatosteoporosis.pdf

วันพุธที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2553

ระบบกล้ามเนื้อ (Muscular System)

กล้ามเนื้อเป็นเนื้อเยื่อที่มีหน้าที่โดยตรงเกี่ยวกับการเคลื่อนไหวของมนุษย์ ร่างกายมนุษย์ประกอบด้วยกล้ามเนื้อ 656 มัด และมีน้ำหนักรวมกันประมาณครึ่งหนึ่งของน้ำหนักร่างกาย


การเคลื่อนไหวอวัยวะต่าง ๆ ของร่างกาย เป็นผลมาจากการทำงานที่สัมพันธ์กันของกระดูกและกล้ามเนื้อ เช่น การเดิน การวิ่ง การกระโดด เป็นต้น แต่บางทีก็อาจเกิดจากการยืม-หดตัวของกล้ามเนื้อเพียงอย่างเดียว เช่น การเต้นของหัวใจ การบีบตัวของปอด การเคลื่อนไหวและบีบตัวในการย่อยอหารของกระเพาะอาหาร


โครงสร้างของกล้ามเนื้อ แบ่งออกเป็น 3 ชนิด


  • กล้ามเนื้อลลาย (Striated Muscle) เป็นกล้ามเนื้อที่อยู่ในอำนาจจิตใจ และพบมากที่สุดในร่างกายโดยกล้ามเนื้อชนิดนี้จะยึดเกาะอยู่กับกระดูกทุกส่วนของร่างกาย จึงมีชื่อเรียกว่ากล้ามเนื้อยึดกระดูกหรือกล้ามเนื้อโครงร่าง (Skeletal Muscle)
  • กล้ามเนื้อเรียบ (Smooth Muscle) เป็นกล้ามเนื้อที่อยู่นอกอำนาจจิตใจ สามารถพบได้ที่ผนังของอวัยวะในระบบย่อยอาหาร ระบบขับถ่าย ระบบสืบพันธุ์ และหลอดเลือด
  • กล้ามเนื้อหัวใจ (Cardiac Muscle) เป็นกล้ามเนื้อที่อยู่นอกอำนาจจิตใจ และสามารถทำงานต่อเนื่องกันโดยไม่หยุดพัก สามารถพบได้เฉพาะบริเวณหัวใจ

การหดตัวของกล้ามเนื้อ มี 2 แบบ

  1. การหดตัวแบบไอโซเมตริก (Isometric Contraction) เป็นการหดตัวที่ความยาวของกล้ามเนื้อคงที่ แต่ความตึงตัวเปลี่ยนไป เช่น การดันกำแพง
  2. การหัดตัวแบบไอโซโทนิค (Isotonic Contraction) เป็นการหดตัวที่ทำให้ความยาวของกล้ามเนื้อเปลี่ยนแปลงไปแต่ความตึงตังคงที่ เป็นการออกแรงโดยทำให้วัตถุเคลื่อนที่เป็นพลศาสตร์ เช่น การยกสิ่งของ การลาก หรือเลื่อนวัตถุ
การทำงานของกล้ามเนื้อ

กล้ามเนื้อทำงานภายใต้ระบบประสาท (Nervous System) เมื่อทันทีที่ได้รับคำสั่งจากระบบประสาท กล้ามเนื้อและเส้นใยของกล้ามเนื้อก็จะหดตัวสั้นและหนาขึ้น


ที่มา : หนังสือสุขศึกษา ม.4-ม.6 เล่ม 1 ยุพาพร โตสกุลและคณะ สำนักพิมพ์อักษรเจริญทัศน์ 2545

วันอังคารที่ 8 มิถุนายน พ.ศ. 2553

โรคกระดูกพรุน (Osteoporosis)

รู้เท่าทันโรคกระดูกพรุน

หลายคนอาจเคยสงสัยว่า ทำไมคนเราเมื่อมีอายุมากขึ้นถึงมีปัญหาเรื่องตัวเตี้ยลง หลังค่อม ขาโก่งงอ หรือกระดูกหักง่าย วันนี้สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) มีคำตอบมาให้ค่ะ

สาเหตุของอาการดังกล่าว มาจากความขยันขันแข็งของเจ้า “กระดูก” นั่นเอง มันจึงไม่เคยหยุดพัก วันๆ เอาแต่สร้างเซลล์กระดูกใหม่และสลายเซลล์กระดูกเก่าอยู่ตลอดเวลา ซึ่งจะทำให้เนื้อกระดูกส่วนที่หมดอายุถูกกำจัดออกไปเพื่อให้กระดูกที่สร้างใหม่ขึ้นมาแทนที่ โดยเฉพาะในช่วงวัยเด็กถึงวัยหนุ่มสาว อัตราการสร้างกระดูกจะเร็วกว่าอัตราการสลายกระดูก ทำให้กระดูกต่างๆ ในร่างกายของคุณแข็งแรงทนทาน ไม่ก่ออาการเจ็บป่วยง่ายๆ

แต่!!!เมื่อคุณย่างก้าวเข้าสู่วัยที่มีเลข 3 นำหน้าขึ้นไป อัตราการสลายกระดูกจะเร็วกว่าอัตราการสร้างกระดูก ซึ่งเป็นผลทำให้ปริมาณมวลกระดูกลดลงและโครงสร้างภายในของกระดูกถูกทำลาย ทำให้รูพรุนที่คล้ายฟองน้ำของกระดูกชั้นในมีขนาดใหญ่ขึ้น ส่งผลให้กระดูกบางลงและอ่อนแอ จนเกิดภาวะ “กระดูกพรุน” ขึ้น โดยเฉพาะในผู้หญิงวัยหมดประจำเดือน ปริมาณเนื้อกระดูกจะลดลงอย่างรวดเร็ว ทำให้ตลอดชีวิตผู้หญิงจะสูญเสียเนื้อกระดูกมากกว่าผู้ชายถึง 2 - 3 เท่า

เกี่ยวกับเรื่องดังกล่าว นพ.ธนา ธุระเจน เลขาธิการมูลนิธิโรคกระดูกพรุนแห่งประเทศไทย เล่าให้ฟังว่า โรคกระดูกพรุน คือ ภาวะความผิดปกติของกระดูกซึ่งทำให้ความแข็งแรงของกระดูกลดลงซึ่งโดยทั่วไปจะไม่มีอาการ ผู้ป่วยจึงไม่ได้ใส่ใจที่จะป้องกันและดูแลรักษาจนหลายครั้งเมื่อตรวจพบหรือเกิดอุบัติการณ์กระดูกหักก็มีผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตแล้ว สำหรับในประเทศไทย ในปี 2552 พบว่ามีประชากรอายุมากกว่า 50 ปี ประมาณ 15 ล้านคน โดยประมาณ 15% ของประชากรผู้หญิงอายุมากกว่า 50 ปี หรือ 2.25 ล้านคนเป็นโรคกระดูกพรุน ซึ่งถือว่าเป็นอัตราที่ค่อนข้างสูง

สำหรับผู้ที่มีปัจจัยเสี่ยงที่จะมีโอกาสป่วยเป็นโรคนี้ ได้แก่ ผู้สูงอายุ หญิงวัยหมดประจำเดือน ผู้ป่วยโรคทางเดินอาหารที่มีความผิดปกติในการดูดซึมแคลเซียม คนที่ดื่มสุรา กาแฟ สูบบุหรี่จัด ผู้ป่วยที่ต้องนอนบนเตียงคนป่วยเป็นเวลานาน ผู้ป่วยโรคมะเร็งกระจายไปที่กระดูก ผู้ที่มีประวัติว่าคนในครอบครัวกระดูกหักง่าย นอกจากนี้ การได้รับยาบางชนิดเป็นเวลานาน เช่น ยาเสตรียรอยด์ ยากันชัก ยาไทร็อกซิน ฯลฯ รวมทั้งคนที่เป็นโรครูมาตอยด์ โรคต่อมไทรอยด์เป็นพิษ ฯลฯ ก็มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคมากเป็นพิเศษอีกด้วย

เมื่อกระดูกในร่างกายเริ่มบางลง จนเริ่มเข้าสู่ภาวะกระดูกพรุน ผู้ป่วยจะไม่มีอาการใดๆ ปรากฏเลยถ้ากระดูกไม่หัก ดังนั้น ผู้ที่เป็นโรคกระดูกพรุน จะดำรงชีวิตได้อย่างปกติ แต่หากวันดีคืนดีเดินสะดุดก้อนหินหกล้ม หรือถูกคนวิ่งมาชน ภัยเงียบที่แอบแฝงในร่ายกายอย่างเจ้าโรคกระดูกพรุนก็จะสำแดงฤทธิ์เดชทำให้กระดูกหักได้ทันที โดยกระดูกบริเวณที่พบว่าหักบ่อย ได้แก่ กระดูกหลัง กระดูกสะโพก กระดูกข้อมือ ซึ่งผลกระทบที่เกิดขึ้นเมื่อกระดูกสะโพกหักนั้นทำให้ผู้ป่วยไม่สามารถเดินได้ ต้องนอนบนเตียงเป็นเวลานานทำให้เสี่ยงการเกิดแผลกดทับ ผู้ป่วยไม่สามารถยกของที่มีน้ำหนักได้ตามปกติ รวมทั้งต้องเป็นภาระในการดูแลระยะยาวและอาจเสียชีวิตในที่สุด

นอกจากนั้นภาวะกระดูกพรุนยังส่งผลต่อโครงสร้างของกระดูกสันหลังอีกด้วย เพราะจะทำให้ผู้ป่วยมีอาการปวดหลังเฉียบพลันและเรื้อรัง มีรูปร่างเปลี่ยนไป เตี้ยลง หลังโก่ง ไหล่งุ้มกว่าปกติ พุงยื่น หลังแอ่น ไม่มีเอว ฟันหลุดง่าย และการทำงานของอวัยวะภายในด้อยลง การย่อยอาหาร และการหายใจลำบาก เพิ่มความเสี่ยงกระดูกหัก ส่งผลให้อัตราตายสูงขึ้น

หากใครสงสัยว่าจะป่วยเป็นโรคกระดูกพรุน ก็สามารถไปตรวจวัดความหนาแน่นของกระดูกด้วยวิธีการเอกซเรย์ที่โรงพยาบาล เพื่อคำนวณหาความหนาแน่นของกระดูกเมื่อเทียบกับค่ามาตรฐานโดย
กระดูกปกติ จะค่าความหนาแน่นกระดูกมากกว่า -1 เมื่อเริ่มเป็นกระดูกบางจะมีค่าความหนาแน่นกระดูกน้อยกว่า -1 ถึงมากกว่า -2.5 หากเข้าสู่ภาวะกระดูกพรุนจะมีค่าความหนาแน่นกระดูกน้อยกว่าหรือเท่ากับ -2.5 และหากป่วยโรคกระดูกพรุนอย่างรุนแรง จะมีค่าความหนาแน่นกระดูกน้อยกว่าหรือเท่ากับ -2.5 และมีกระดูกหักร่วมด้วย

โรคกระดูกพรุน มีอันตรายสูงมาก ดังนั้น ผู้ป่วยจึงต้องป้องกันและรักษาโดยเร่งด่วน เพราะเมื่อกระดูกหักอันแรก ก็มักจะนำไปสู่กระดูกหักอันต่อไป…แต่การที่จะรักษากระดูกที่พรุนแล้วให้กลับเข้าสู่สภาพเดิมนั้นมักจะไม่ค่อยได้ผล ดังนั้น สิ่งที่ดีที่สุด คือ การดูแลตัวเองไม่ให้ป่วยเป็นโรคกระดูกพรุนนั่นเอง...

โรคกระดูกพรุนสามารถป้องกันได้ ถ้าเราให้ความสนใจดูแลรักษา โดยรับประทานอาหารที่มีคุณภาพ เพราะร่างกายต้องการแร่ธาตุที่สำคัญเพื่อมาซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอ หรือเติมเต็มสิ่งที่มีอยู่ให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น ร่างกายจึงควรได้รับสารอาหารต่างๆ ดังนี้...

แคลเซียม ในวัยผู้ใหญ่ที่อายุตั้งแต่ 30 ปีขึ้นไป ควรรับประทานแคลเซียมให้ได้ 1200 – 1500 มิลลิกรัมต่อวัน เพราะแคลเซียมเป็นแร่ธาตุที่มีมากที่สุดเป็นอันดับ 3 ในร่างกาย เพราะร้อยละ 99 ของแคลเซียมจะอยู่ในกระดูก ที่เหลือจะกระจายอยู่ตามของเหลวต่างๆ ในร่างกาย หน้าที่ของแคลเซียมคือ ทำให้กระดูกและฟันแข็งแรง กล้ามเนื้อและประสาททำงานเป็นปกติ กระตุ้นการแข็งตัวของเลือดหลังการบาดเจ็บ และควบคุมการทำงานของ เอ็นไซม์และการเต้นของหัวใจ แหล่งอาหารที่อุดมด้วยแคลเซียม คือ นม โยเกิร์ต ถั่วเหลือง ถั่วเขียว งา ปลาตัวเล็กที่รับประทานทั้งกระดูก และผักใบเขียวที่ปลอดสารเคมี เป็นต้น

แมกนีเซียม พบมากในร่างกายเป็นอันดับสองรองจากแคลเซียม หน้าที่ของแมกนีเซียมคือ ช่วยควบคุมการทำงานของร่างกาย ผลิตพลังงาน สร้างโปรตีน และช่วยการหดตัวของกล้ามเนื้อ แหล่งอาหารที่อุดมด้วยแมกนีเซียม ได้แก่ ถั่วต่างๆ ธัญพืช แป้ง และอาหารทะเล นอกจากนี้ร่างกายยังต้องการทองแดง แมงกานีส สังกะสี เข้ามาช่วยในการทำงานของเอ็นไซม์ในกลไกการสร้างกระดูก และช่วยเพิ่มความแข็งแรงของกระดูกสันหลังในผู้หญิงวัยหมดประจำเดือน นอกจากนี้ยังควรงดดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์และการบริโภคชนิดอาหารที่ไม่ถูกหลักโภชนาการอีกด้วย

ไม่เพียงเท่านั้น...“วิตามินดี”...ก็มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อความแข็งแรงของกระดูก เพราะหากได้รับวิตามินดีไม่เพียงพอ ร่างกายก็จะไม่สามารถดูดซึมแคลเซียม ซึ่งเป็นธาตุที่สำคัญต่อกระดูกได้ เรียกได้ว่า การขาดวิตามินดีเป็นสาเหตุหนึ่งของการเกิด "โรคกระดูกพรุน" เลยทีเดียวค่ะ...

แต่สิ่งที่สำคัญที่สุดในการป้องกันโรคกระดูกพรุน คือ
การออกกำลังกายอย่างน้อย 15-20 นาที เป็นประจำทุกวัน ดังที่ สสส. ได้รณรงค์มาโดยตลอด เพราะการออกกำลังกายจะช่วยเพิ่มความหนาแน่นของมวลกระดูก ทำให้กระดูกแข็งแรงไม่แตกหักได้ง่าย

เมื่อรู้วิธีป้องกันแล้วอย่านิ่งเฉย เพราะการที่คุณเริ่มต้นบำรุงกระดูกได้เร็วเท่าใดก็จะทำให้คุณสะสมปริมาณมวลกระดูก ชะลออัตราการสูญเสียมวลกระดูก ซึ่งจะช่วยให้คุณห่างไกลจากโรคกระดูกพรุนเมื่อสูงอายุขึ้นได้อย่างมีประสิทธิภาพ

สุขภาพดีไม่มีขาย อยากได้ต้องสร้างเอง...

ที่มา: อารยา สิงห์สวัสดิ์ Team content http://www.thaihealth.or.th/