วันจันทร์ที่ 26 เมษายน พ.ศ. 2553

5 เคล็ดวิธีหนีโรคอัลไซเมอร์

สร้างสื่อนำประสาท ช่วยกระตุ้น บำรุงสมอง

นพ.กฤษดา ศิรามพุช ผู้อำนวยการศูนย์เวชศาสตร์อายุรวัฒน์นานาชาติแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านเวชศาสตร์อายุรวัฒน์ กล่าวว่าอัลไซเมอร์อีกโรคหนึ่ง จะมีอาการหลงลืมจากสมอง เพียงแค่ระยะเวลาสั้นๆ ก็อาจลืมได้ โรคอัลไซเมอร์ เป็นเพียงหนึ่งโรคย่อย ๆ ของโรคสมองเสื่อม

ทั้งนี้โรคสมองเสื่อมอาจะเกิด อาจเกิดจากหลอดเลือดสมองตีบ, โรคพันธุกรรมหรือแม้แต่จากยาบางชนิดก็ได้ แต่อาจสรุปได้ว่าสาเหตุของการเกิดโรคนั้นยังไม่สามารถสรุปได้ชัดเจน

ความเครียดอาจเป็นสาเหตุของโรคสมองเสื่อม โดยเฉพาะกลุ่มผู้บริหารที่มีโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดโรคสมองเสื่อมได้เช่นกันอาจสังเกตได้ดังนี้
  1. มีการเดินผิดปกติไป เช่น เดินกางขามากขึ้น กลั้นปัสสาวะไม่ได้
  2. ความทรงจำเสียไป เริ่มจากความทรงจำในปัจจุบันก่อน แล้วค่อยกลายเป็นลืมความทรงจำสมัยก่อน(อดีต)คนสูงอายุจึงชอบเล่าความหลังอย่างที่กล่าวกัน
  3. ความเฉลี่ยวฉลาดเสื่อมไป
  4. มีพฤติกรรม อารมณ์เปลี่ยนไปก้าวร้าว ฉุนเฉียว จนในที่สุดซึมเศร้าได้เมื่อเป็นมากขึ้น
  5. เมื่ออาการคืบหน้าไปมากขึ้น จะไม่สามารถช่วยเหลือตนเองได้ ไม่สามารถออกจากบ้านไปไหนคนเดียวได้ จำเป็นต้องมีผู้อยู่ดูแล ช่วยเหลือใกล้ชิดอยู่ตลอดเวลา

นพ.กฤษดา ศิรามพุช ได้แนะนำ 5 เคล็ดลับวิธีหนีไกลโรคสมองเสื่อม ต้องเข้าใจหลักการทำงานของสมอง ซึ่งจำเป็นต้องมี "สื่อประสาท" ไปหล่อเลี้ยงให้กระแสประสาทวิ่งไปได้คล่องขึ้น ไม่ติดขัดตะกุกตะกัก เหมือนกับเครื่องยนต์ที่ได้หยอดน้ำมันหล่อลื่นเข้าไป ลูกสูบกลไกต่างๆจะไม่สำลักสะดุดหยุด ซึ่งน้ำมันหล่อลื่นของสมองนี้มีอยู่ 5 ส่วนสำคัญ ได้แก่

  1. น้ำมันปลา จากปลาทะเลหรือปลาน้ำจืดก็ได้ ซึ่งจะช่วยสมองไม่ร้อนลุกเป็นไฟ ไม่มีตะกรันแก่มาเกาะ
  2. น้ำสะอาด อย่างน้อยวันละ 1 ออนซ์ต่อน้ำหนักตัว1กิโลกรัม
  3. ผักผลไม้บำบัด โดยเฉพาะผักใบเขียวจัด, ผลไม้หลายสีและถั่วต่าง ๆ
  4. หัดมองโลกในแง่บวก ถ้ารู้สึกขุ่นใจสิ่งใดขึ้นมาก็หาไดอารี่มาเขียนบันทึกจะช่วยได้มากทีเดียวครับ
  5. ครองสติอยู่กับปัจจุบัน

  • ที่มา:หนังสือพิมพ์พิมพ์ไทย
  • 27-11-51

อัลไซเมอร์ .... เมื่อการขี้ลืมไม่ได้เป็นแค่เรื่องเล็ก ๆ

อายุมาก เป็นโรคความดันโลหิตสูงเรื้อรัง เป็นปัจจัยเสี่ยง

อัลไซเมอร์ (Alzheimer) จัดว่าเป็นโรคอย่างหนึ่ง ไม่ใช่เป็นภาวะสมองเสื่อมตามธรรมชาติ หรือตามอายุที่มากขึ้น มักพบในคนที่มีอายุ 65 ปีขึ้นไป เป็นหนึ่งของโรคที่พบบ่อยในกลุ่มโรคผิดปกติของสมอง "Dementia" ซึ่งมีการถดถอยหน้าที่ของสมอง จำเหตุการณ์และช่วงเวลาได้ไม่แน่นอน ความจำเสื่อม มีปฏิกิริยาโต้ตอบอย่างแปลกๆ พฤติกรรมเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ไม่เหมาะสม อารมณ์จะไม่สม่ำเสมอ เป็นโรคที่ป้องกันไม่ได้และรักษาไม่หายขาด เพียงชะลออาการของโรคได้เท่านั้น จึงทำให้โรคอัลไซเมอร์แตกต่าง และรุนแรงกว่าอาการสมองเสื่อมที่เกิดจากสาเหตุอื่น ๆ

ปัจจัยเสี่ยงของ "อัลไซเมอร์" มีอะไรบ้าง
  1. อายุ ยิ่งอายุมากขึ้นยิ่งมีโอกาสเป็นมากขึ้น พบว่าร้อยละ 25 ของผู้ป่วยอายุ 85 ปี เป็นโรคนี้
  2. โรคความดันโลหิตสูงเรื้อรัง เพราะทำให้ผู้ป่วยสูญเสียความจำ การรักษาความดันจะทำให้ความจำดีขึ้น
  3. เรื่องของกรรมพันธุ์ ถ้ามีบุคคลในครอบครัวป่วยด้วยโรคอัลไซเมอร์ หรือปัญญาอ่อน จะมีความเสี่ยงเพิ่มขึ้น
  4. ระดับฮอร์โมนเอสโตรเจนที่ลดลง ในวัยหมดประจำเดือนของผู้หญิง จะเพิ่มปัจจัยเสี่ยงให้แก่การเกิดโรคนี้
  5. ภาวะขาดสารอาหารที่มีแอนตี้ออกซิแดนท์ (Antioxidant) ที่ช่วยป้องกันการเสื่อมของเซลล์
  6. ภาวะที่สมองได้รับการกระทบกระเทือน

รู้ได้อย่างไรว่าเป็นโรคอัลไซเมอร์ (Alzheimer's Disease)

  1. อาการหลงลืม เช่น หลงลืมสิ่งของ ลืมนัด จำเหตุการณ์หรือคำพูดที่เพิ่งผ่านมาไม่ได้
  2. สับสนเรื่องเวลา สถานที่ กลับบ้านไม่ถูก
  3. จำบุคคลที่เคยรู้จัก เพื่อน หรือสมาชิกในครอบครัวไม่ได้ คิดว่าเป็นคนแปลกหน้า
  4. ปัญหาเรื่องการพูด ลืมหรือเรียกสิ่งของไม่ถูก พูดคำ หรือประโยคซ้ำ ๆ
  5. ไม่สนใจในสิ่งที่เคยสนใจ กิจกรรมประจำวัน งานอดิเรก
  6. ปัญหาเรื่องการนับหรือทอนเงิน การใช้โทรศัพท์
  7. พฤติกรรมที่อาจเกิดปัญหายุ่งยาก เช่น ออกนอกบ้านเวลากลางคืน พฤติกรรมก้าวร้าว
  8. ไม่สนใจดูแลความสะอาดของตัวเอง เช่น แปรงฟันไม่เป็น อาบน้ำไม่เป็น

หากพบว่า ผู้สูงอายุในครอบครัวมีพฤติกรรมปัญหาดังกล่าว ข้อใดข้อหนึ่งหรือมากกว่า อาจเป็นไปได้ว่า มีปัญจัยเสี่ยงต่อโรคอัลไซเมอร์ หรืออาจมีปัญหาด้านสุขภาพอื่น ๆ


  • ที่มา: โรงพยาบาลเวชธานี
  • 23-07-52