วันศุกร์ที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

อันตรายจากนมวัว

                                               
อันตรายจากนมวัว

สัตว์ทั่วไปดื่มนมจากแม่ตั้งแต่ยังเป็นทารก พออายุมากขึ้นหน่อยก็จะเลิกดูดนมและกินอาหารอย่างอื่นแทน แต่มนุษย์น่าจะเป็นสิ่งมีชีวิตในโลกที่ดื่มนมตั้งแต่แรกทารกและยังมีสมองที่จะสามารถไปรีดนมจากสัตว์ชนิดอื่นมาเก็บสะสมเอาไว้ดื่มกินแม้จะโตเป็นผู้ใหญ่แล้วก็ตาม

ความจริงแล้วนมวัวก็น่าที่จะเหมาะกับวัวมากที่สุด นมคนก็น่าจะเหมาะกับคนเช่นเดียวกัน คนจะมีน้ำหนักเพิ่ม 3 กิโลกรัมโดยเฉลี่ย ในเวลา 3 เดือนหลังคลอดด้วยการดื่มนมจากแม่อย่างเดียว แต่ลูกวัวนั้นน้ำหนักจะเพิ่ม 30 กิโลกรัมในเวลาเท่ากัน และวัวเมื่อโตเต็มที่จะมีน้ำหนักรวม 500 กิโลกรัมขึ้นไป ในขณะที่คนจะมีน้ำหนักประมาณ 50-60 กิโลกรัม

แต่ลูกคนกินนมวัวมากกว่าลูกวัวเสียอีก ลูกวัวดื่มนมจากแม่วัวแค่ 1 ปี แต่ลูกคนรับประทานนมวัวต่อเนื่องเป็นสิบ ๆ ปี ฉะนั้นฮอร์โมนสำหรับการเจริญเติบโต (Growth Hormone) ของวัวจะกระตุ้นการเจริญเติบโตของเด็กอย่างต่อเนื่อง ทำให้ร่างกายสูงใหญ่ผิดไปจากเผ่าพันธุ์เดิม

เพราะการถูกครอบทางวัฒนธรรมและแฟชั่นจากชาติมหาอำนาจทางตะวันตกว่าคนที่เป็นดาราภาพยนตร์ต้องตัวโตสูงใหญ่มีโอกาสในการทำงานมากและจะหารายได้ได้มาก และคนเอเชียตัวเล็กเพราะขาดโปรตีน ต่อมารัฐบาลในหลายประเทศรณรงค์ให้คนเอเชียจำนวนหันมาดื่มนมวัวและมีร่างกายใหญ่โตมากขึ้น จนเราไม่เคยรู้อีกด้านหนึ่งนมวัวว่าเป็นอันตรายอย่างไร แม้แต่ในประเทศไทยก็ส่งเสริมให้เด็กดื่มนมวัวติดต่อกันมาเป็นเวลาหลายปีแล้วจนถึงปัจจุบัน ในขณะเดียวกันการดื่มนมวัวที่มากขึ้นของคนไทย ก็ได้สร้างให้อุตสาหกรรมยาได้ขายยาอีกจำนวนมากให้คนไทยได้กินกัน

ความจริงแล้วคนไทยและคนเอเชียถึงร้อยละ 80 ไม่มีน้ำย่อยแล็กโตสในนม ซึ่งส่วนใหญ่จะแสดงอาการท้องเสีย และอีกส่วนหนึ่งก็คือแพ้เคซีนในนม ซึ่งความจริงแล้วมนุษย์สามารถดูดซึมโปรตีนในนม (Net Protein Utilization) ได้เพียงร้อยละ 82 และดูดซึมไม่ได้อีกร้อยละ 18 จะดูดซึมไม่ได้ จะถูกแบคทีเรียย่อยสลายและทำให้เกิด Immune Complex หรือสารก่อภูมิแพ้ตัวใหม่ ๆ ขึ้น

นายแพทย์ เอส. ซี. ทรูเลิฟ ในวารสาร British Medical Journal ปี 1961 และงานของ ดี.โจเซฟ ซักคา ในวารสาร Annual of allergy พฤษภาคม 1971 ระบุเอาไว้ชัดเจนถึงความสัมพันธ์ของการดื่มนมกับการเกิดลำไส้อักเสบจากภาวะภูมิแพ้  นอกจากนี้ นมวัว เป็นผลิตภัณฑ์จากสัตว์ จึงมีไขมันอิ่มตัวเป็นส่วนประกอบในปริมาณมาก ซึ่งเป็นสาเหตุของโรคไขมันคลอเรสเตอรอลในเลือดสูงและเส้นเลือดหัวใจอุดตัน เราอาจไม่รู้ว่าการดื่มนมวันละ 2 แก้ว เทียบเท่ากับรับคลอเรสเตอรอลจากการรับประทานเบคอน 34 ชิ้น และยังรวมถึงโรคอื่น ๆ อีกมากที่มีความสัมพันธ์กับนมวัว เช่น โรคกระดูกพรุน โรคอัลไซเมอร์ โรคเวียนศีรษะในผู้สูงอายุ โรคปวดหัวไมเกรน ฯลฯ

ตัวอย่างเช่น หลายคนเดิมอาจคิดว่าการดื่มนมวัวมากๆน่าจะเพิ่มแคลเซียมในกระดูก ทำไมถึงเป็นโรคกระดูกพรุนได้ ความจริงมีอยู่ว่าน้ำนมประกอบด้วยแคลเซียมประมาณ 3 ส่วนและฟอสฟอรัส 2 ส่วน หากดื่มนมมากกว่า 500 มิลลิลิตร ร่างกายก็จะได้รับปริมาณฟอสฟอรัสมากเกินจำเป็น ซึ่งจะกระตุ้นต่อมพาราไทรอยด์ให้หลั่งฮอร์โมนออกมาสลายกระดูก จนเป็นเหตุให้มวลหรือเนื้อกระดูกบางลง

นอกจากนี้ Dr. Samuel Epstein จากมหาวิทยาลัยอิลินอยส์ ได้เตือนถึงอันตรายของระดับฮอร์โมนชนิดหนึ่งในนมวัวซึ่งเป็นฮอร์โมนสำคัญที่ทำให้เกิดการเจริญเติบโต ชื่อ Insulin like Growth Factor One หรือ IGF-1 ปริมาณสูงในนมจากวัวซึ่งถูกฉีด synthetic bovine growth hormone(rBGH) เขาได้เตือนว่า IGF-1 ในนมวัวเป็นสาเหตุสำคัญให้เกิดมะเร็งเต้านมและมะเร็งทางเดินอาหาร  ยังมีนักวิจัยอีกมากพบว่า IGF-1 มีความสัมพันธ์กับมะเร็งลำไส้ใหญ่ และนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ดยืนยันผลว่า ระดับ IGF-1 ในเลือดเพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งต่อมลูกหมาก

ดร.ที คอลลิน แคมพ์เบลล์ เป็นนักโภชนาการของสหรัฐอเมริกา เคยทำงานวิจัยในสถาบันทีมีชื่อเสียงหลายแห่ง เช่น สถาบันเทคโนโลยีแมสซาชูเสทส์ (MIT), สถาบันเทคโนโลยี เวอร์จีเนีย, มหาวิทยาลัยคอร์เนล และเป็นเจ้าหน้าที่ระดับสูงในสหพันธ์อเมริกันเพื่อการทดลองวิทยา และได้ทำงานวิจัยระดับชาติจีนศึกษา (China Study) ซึ่งเป็นงานร่วมมือกันระหว่างมหาวิทยาลัยคอร์เนล มหาวิทยาลัยอ๊อกซ์ฟอร์ด และสถาบันการแพทย์ป้องกันโรคของประเทศจีน ได้เป็นบุคคลหนึ่งที่วิจัยและทดสอบพบว่าเนื้อสัตว์และโปรตีนจากสัตว์มีความสัมพันธ์กับการเกิดโรคเรื้อรังหลายชนิดของมนุษย์ 

ซึ่งแม้จะงานวิจัยดังกล่าวจะมีรายละเอียดในการทดสอบและเปรียบเทียบระหว่างกลุ่มชาวจีนกับชาวอเมริกัน แต่ในที่นี้จะขอไม่กล่าวถึงการวิจัยเรื่องมนุษย์ เพราะผมเห็นว่าน่าจะยังมีตัวแปรอีกมากที่อาจไม่เกี่ยวกับอาหารชนิดเดียวกันโดยตรง เช่น อาหารอื่นๆ อารมณ์ อากาศ วัฒนธรรม การออกกำลังกาย อาการอุปทานหรือยาหลอก ฯลฯ ในที่นี้จึงขอกล่าวอ้างอิงเฉพาะการทดสอบที่สามารถควบคุมสิ่งแวดล้อมได้โดยการใช้หนูทดลอง ซึ่งได้ผลน่าสนใจบางประการดังนี้

ดร.ที คอลลิน แคมพ์เบลล์ เดิมเป็นคนที่ส่งเสริมให้คนบริโภคโปรตีนจากเนื้อสัตว์ นม และไข่มาก ๆ โดยเฉพาะในภูมิภาคเอเชีย แต่ภายหลังต่อมากลายเป็นผู้ที่รณรงค์ให้คนลดการบริโภคโปรตีนจากเนื้อสัตว์และนม โดย ดร.ที คอลลิน แคมเบลล์ ได้พบงานวิจัยของอินเดียซึ่งเป็นจุดประกายสำคัญในการทดลองต่อๆกันมา โดยงานานวิจัยชิ้นนั้นพบว่า

"หนูทดลองทุกตัวซึ่งได้รับสารก่อมะเร็งในถั่วที่ชื่อ อะฟลาทอกซิน พบว่าหากให้โปรตีนจากนมวัว 20% พบว่าหนูทั้งหมดจะกลายเป็นโรคมะเร็งในตับ ในขณะที่หนูกลุ่มที่ได้รับโปรตีนจากนมวัว 5% จะไม่มีตัวไหนเป็นมะเร็งเลย"

ดร.ที คอลลิน แคมพ์เบลล์ จึงได้ทำการทดลองต่อยอดกับหนูทดลองอีกหลายกรณีพบผลการวิจัย สรุปการทดลองบางส่วนพบว่า

1. การบริโภคโปรตีนจากนมวัว (เคซีน)ลดลง จะมีผลทำให้การจับกันระหว่างอะฟลาทอกซินกับดีเอ็นเอลดลง และทำให้มีหลักฐานชี้ชัดว่าการบริโภคโปรตีนจากนมวัวในปริมาณที่ต่ำมีผลทำให้การทำงานของเอนไซม์ลดลงอย่างมาก และป้องกันไม่ให้สารก่อมะเร็งที่เป็นอันตรายจับกับดีเอ็นเอ และเมื่อสัตว์ตัวเดียวกันที่กินโปรตีนจากนมวัวมากแล้วมีรอยโรค (foci) ที่จะก่อให้เกิดเนื้องอกแล้ว ถ้าลดปริมาณลงก็รอยโรคที่จะก่อให้เกิดเนื้องอกก็ลดลงตามไปด้วย แต่ถ้ากลับมาเพิ่มปริมาณการบริโภคโปรตีนจากนมวัวอีกก็รอยโรคที่ก่อให้เกิดเนื้องอกก็จะกลับเพิ่มขึ้นมาอีกเช่นกัน

2. การบริโภคโปรตีนจากพืช ทั้งจากข้าสาลี และถั่วเหลือง แม้จะใส่ปริมาณมากถึง 20% ให้เท่ากับเคซีนในโปรตีนของนมวัว พบว่าไม่เกิดรอยโรค (foci) ที่จะพัฒนากลายเป็นเนื้องอกได้

3. มีการอ้างอิงศูนย์การแพทย์อิลลินอยส์ เมืองชิคาโก ในสหรัฐอเมริกา พบว่าการบริโภคเคซีน (โปรตีนจากนมวัว) ในหนูทดลองเพิ่มขึ้น เป็นการส่งเสริมทำให้เกิดมะเร็งเต้นนมมากขึ้น

โรคต่าง ๆ ที่กล่าวข้างต้นถ้าเกิดกับมนุษย์ก็จะเกิดขึ้นอย่างช้า ๆ ฉะนั้นคนส่วนใหญ่จะไม่ตระหนักและเห็นผลได้ดีด้านเดียวว่านมวัวทำให้ร่างกายมนุษย์ใหญ่โตขึ้น ความจริงแล้วคนไทยสมัยก่อนไม่เคยดื่มนม เพิ่งจะมาเริ่มดื่มกันจริงก็ประมาณ 50-60 ปีมานี้เองที่ฝรั่งมาสอนและรณรงค์ให้ดื่ม และสมัยก่อนชาวสยามก็ได้รับโปรตีนและแคลเซียมจากอาหารอย่างอื่นโดยไม่ต้องดื่มนมวัว แต่เมื่อเริ่มดื่มนมวัวกันมากขึ้นก็ดูเหมือนว่าคนไทยเริ่มเป็นโรคเรื้อรังมากขึ้น และบริษัทขายยาก็ขายได้มากขึ้นเป็นเงาตามตัว

จากบันทึกของนายแพทย์มัลคอล์ม สมิธ เรื่อง "หมอฝรั่งในวังสยาม" โดยหมอสมิธเป็นแพทย์ชาวอังกฤษเข้ามารับราชการเป็นหมอหลวงในสมัยรัชกาลที่ 4 ได้เขียนบันทึกไว้ตอนหนึ่งว่า

"ชาวสยามไม่ดื่มนมวัวทุกรูปแบบ การเลี้ยงปศุสัตว์ทุกรูปแบบไม่เป็นที่รู้จักกันในเอเชียตะวันออก ชาวจีน ญี่ปุ่น และอันโดจีน ไม่เคยแตะต้องนมเลย ตั้งแต่หย่านม กระนั้นก็ตาม พละกำลังและความแข็งแรงของร่างกายโดยทั่วไป ไม่ได้ด้อยกว่าพวกยุโรป"

คำถามชวนให้คิดต่อมาก็คืออะไรที่ทำให้ชาวสยามในอดีตมีพละกำลังแข็งแรงไม่ได้ด้อยกว่าพวกยุโรป โดยไม่ต้องดื่มนมวัว !

ที่มา   :  www.manager.co.th  อันตรายจากนมวัว โดยพงษ์เทพ  พัวพงษ์พันธุ์
update : 17/11/12

วันอังคารที่ 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

  ไทยติดท็อปไฟว์โลก เสี่ยงเกิดอุบัติเหตุทางถนน

   
       ไทยติดอันดับ 5 ของโลก มีความเสี่ยงสูงเกิดอุบัติเหตุทางถนน รองจาก บราซิล เคนยา อินเดีย และ เขมร พบตายปีละ 12,000 คน บาดเจ็บอีกกว่าล้านคน “เมาไม่ขับ” เตรียมจัดขบวนแห่ดอกไม้จันทน์รำลึกเหยื่อผู้สูญเสียจากอุบัติเหตุทางถนน 18 พ.ย.นี้

        นพ.แท้จริง ศิริพานิช เลขาธิการมูลนิธิเมาไม่ขับ เปิดเผยว่า ปัญหาอุบัติเหตุจราจรคร่าชีวิตประชากรทั่วโลกมากถึงปีละ 1.3 ล้านคน บาดเจ็บและพิการอีกประมาณปีละ 50 ล้านคน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นประชากรวัยหนุ่มสาว อายุระหว่าง 15-29 ปี สำหรับประเทศไทยมีผู้เสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางถนนเฉลี่ยปีละ 12,000 คน บาดเจ็บเฉลี่ยกว่า 1 ล้านคน ติดอันดับประเทศที่มีความเสี่ยงสูงเป็นอันดับ 5 ของโลก รองจาก บราซิล เคนยา อินเดีย และ กัมพูชา

       นพ.แท้จริง กล่าวอีกว่า อย่างไรก็ตาม รัฐบาลไทยได้ให้ความสำคัญในการแก้ไขปัญหาอุบัติเหตุทางถนนมากขึ้น ซึ่งปีนี้ได้สนับสนุนกิจกรรมร่วมกับองค์การสหประชาชาติอย่างเป็นทางการ

โดยประกาศให้วันอาทิตย์สัปดาห์ที่ 3 เดือนพฤศจิกายนของทุกปี เป็น “วันรำลึกถึงเหยื่อผู้สูญเสียจากอุบัติเหตุทางถนน” ของประเทศไทย ซึ่งปีนี้ตรงกับวันที่ 18 พ.ย. เพื่อให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องถือเป็นแนวปฏิบัติในการร่วมกันจัดกิจกรรมรณรงค์ อันจะนำไปสู่การแก้ไขปัญหาอย่างเป็นรูปธรรมมากขึ้น และเพื่อรำลึกถึงเหยื่อผู้สูญเสียอุบัติเหตุทางถนนของโลก

“สำหรับกิจกรรมวันรำลึกถึงเหยื่อผู้สูญเสียฯ มูลนิธิเมาไม่ขับได้ประสานกับภาคีเครือข่ายรณรงค์ลดอุบัติเหตุทางถนนต่างๆ จัดขบวนแห่ดอกไม้จันทน์จำนวน 10,172 ดอก  เท่ากับจำนวนผู้เสียชีวิตในรอบปีที่ผ่านมา โดยผู้ร่วมขบวนนำโดยเหยื่อซึ่งเป็นผู้พิการจากอุบัติเหตุทางถนนและบุคคลในครอบครัว รวมไปถึงครอบครัวที่สูญเสียบุคคลอันเป็นที่รักจากอุบัติเหตุทางถนน เริ่มจากบริเวณลานพระบรมรูปทรงม้า ผ่านเส้นราชดำเนิน และจะนำดอกไม้จันทน์ไปวางรวมกันที่ด้านหน้าสำนักงานยูเอ็น เพื่อแสดงความอาลัย” นพ.แท้จริง กล่าว

ที่มา : www.manager.co.th
update : 14/11/12


  







วันศุกร์ที่ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2555



รับมือโรคหลงลืม ..... สมองเสื่อมก่อนจะสาย

โรคหนึ่งที่มักมากับอายุที่เพิ่มขึ้นก็คือ โรคสมองเสื่อม โดย พญ.ดาวชมพู นาคะวิโร เปิดเผยว่า จากการวิจัยพบว่าอัตราการเกิดโรคสมองเสื่อมในผู้สูงอายุไทยมีเพิ่มขึ้นตามอายุที่มากขึ้นจากร้อยละ 1 ในช่วงอายุ 60-64 ปี เพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 31 หรือเกือบ 1 ใน 3 ของผู้สูงอายุที่มีอายุมากกว่า 90 ปีขึ้นไป

สำหรับการรับมือกับโรคสมองเสื่อมนั้น พญ.ดาวชมพูระบุว่า การหาความรู้ ทำความเข้าใจเกี่ยวกับโรคทั้งลักษณะสาเหตุ อาการ วิธีป้องกัน และรักษาโรคสมองเสื่อม  สามารถที่จะนำไปสู่การดูแลตนเองตามที่ได้รับคำแนะนำจากแพทย์ เพื่อป้องกันภาวะเสื่อมของสมองหรือชะลอการเสื่อมได้ โดยอันดับแรกที่ควรรู้คือ รู้ว่าโรคนี้คืออะไร  ซึ่ง พญ.ดาวชมพูอธิบายให้เข้าใจง่ายๆ ว่า โรคสมองเสื่อมคือ ความเสื่อมของสมองที่ทำให้สมองมีการทำงานเปลี่ยนแปลงไปจากปกติ ซึ่งโดยทั่วไปสมองจะทำงาน 4 หน้าที่หลัก คือ จำ คิด พูด ทำ

ในรายที่มีภาวะสมองเสื่อมจะสังเกตได้ว่าการทำงานของสมองด้านใดด้านหนึ่งใน 4 หน้าที่นี้ผิดปกติไป เช่น ความจำไม่ดี คิดไม่ต่อเนื่อง พูดซ้ำ ถามซ้ำหรือเรียกชื่อไม่ถูก


และมีพฤติกรรมไม่หมาะสม โดยเฉพาะเรื่องความจำที่เป็นอาการหลักของโรคสมองเสื่อม เมื่อผิดปกติก็นำไปสู่ความบกพร่องของด้านอื่นๆ ด้วย   จึงควรทำความเข้าใจปัญหานี้ก่อน เพราะปัญหาความจำ หรือการหลงลืม จริงๆ แล้วก็พบในคนปกติด้วย จึงควรแยกให้ได้ว่าลืมแบบไหนถึงจะคิดถึงโรคสมองเสื่อม

สาเหตุที่ทำให้คนเราหลงลืม หลัก ๆ ก็จะมีอยู่ 2 อย่าง ถ้าจำง่ายๆ แยกคำออกมา 'หลง' คือขาดสติ หรือขาดความรู้ตัวไปชั่วขณะ
ทำให้ไม่สามารถรับรู้สิ่งที่อยู่ตรงหน้าได้ จึงดูเหมือนความจำหายไป แต่สมองส่วนเก็บข้อมูลยังเป็นปกติ ส่วนคำว่า 'ลืม' นั้นคือความจำหายไป เพราะสมองส่วนที่เก็บข้อมูลทำงานบกพร่อง


ซึ่งทำให้ผู้มีภาวะสมองเสื่อมจะลืมสิ่งที่เรียนรู้ช่วงเวลาหนึ่ง เช่น รับประทานอาหารแล้ว แต่พอถามอีกทีว่าทานข้าวหรือยังก็จำไม่ได้เลย หรือบางคนเป็นมากขนาดไปเที่ยวต่างประเทศมาหลายวัน
พอกลับมาแล้วถามว่าไปไหนมาบ้างก็จำไม่ได้แล้ว แต่ในคนทั่วไปที่ยังไม่ได้ป่วยเป็นโรคสมองเสื่อม อาจจะมีอาการหลงลืมชั่วคราวได้ เช่น วางของแล้วใจลอยคิดถึงเรื่องอื่น ก็จะทำให้จำไม่ได้ว่าวางของไว้ที่ไหน

พญ.ดาวชมพูให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่า ส่วนความผิดปกติที่แสดงออกมาอื่นๆ ที่น่าห่วงคือ ในรายที่ควบคุมตัวเองไม่ได้ “ผลของโรคสมองเสื่อมอาจจะทำให้พฤติกรรมเปลี่ยนไปจากเดิมเช่น เดิมเป็นคนเรียบร้อยแต่ปัจจุบันขี้หงุดหงิด เสียงดัง โวยวาย ทำอะไรที่ต่างจากเดิมชัดเจน ที่พฤติกรรมเปลี่ยนอาจเกิดมาจากโรคทางด้านอารมณ์ที่แทรกซ้อน หรือเกิดจากสมองส่วนที่ควบคุมความคิด
การกระทำให้เหมาะสม มีความยับยั้งชั่งใจเสียไป จนเกิดพฤติกรรมแปลกกว่าที่เคยทำ เช่นมีความก้าวร้าวและคุกคามผู้อื่นมากขึ้น ทำให้ญาติหรือผู้ดูแลหนักใจได้”

สำหรับการเกิดโรคสมองเสื่อมนั้น พญ.ดาวชมพูให้ความรู้ว่า มีสาเหตุ 2 ประการ คือ สาเหตุที่แก้ไขได้ เช่น การติดเชื้อโรคบางอย่าง ปัญหาเกี่ยวกับฮอร์โมนไทรอยด์ไม่สมดุลและขาดวิตามิน ซึ่งถ้าได้รับการตรวจรักษาก็จะทำให้อาการดีขึ้นได้ สำหรับสาเหตุอีกประการนั้นแก้ไขไม่ได้ เนื่องจากความเสื่อมตามวัย หรือสมองมีการเปลี่ยนแปลงที่ไม่สามารถคืนกลับสภาพเดิม

ซึ่งโรคที่พบบ่อย 2 อันดับแรก คือ โรคอัลไซเมอร์และโรคหลอดเลือดสมอง หรืออื่นๆ เช่น โรคสมองเสื่อมที่แทรกซ้อนจากโรคพาร์กินสัน โรคสมองเสื่อมจากสมองส่วนหน้าและสมองด้านข้างฝ่อ เป็นต้น


ส่วนการรักษาที่มักมีคนถามว่า เป็นแล้วจะหายหรือไม่นั้น พญ.ดาวชมพูระบุว่า หากตรวจพบเร็วและรีบรักษาก็จะช่วยชะลอความเสื่อมได้ ซึ่งวิธีรักษาก็ขึ้นอยู่กับอาการและระดับความเสื่อม  โดยอาจใช้ยาที่ชะลอการเสื่อมช่วย หรือใช้ยาเพื่อช่วยลดปัญหาพฤติกรรม แต่ที่สำคัญที่สุดคือการป้องกันไม่ให้สมองเสื่อมเร็วขึ้น เช่น ควบคุมอาหาร ให้ระดับน้ำตาล ไขมัน และความดันให้เป็นปกติ

โดยเฉพาะรายที่เป็นโรคสมองเสื่อมจากโรคหลอดเลือดสมอง นอกจากนี้ยังต้องมีการกระตุ้นสมอง ซึ่งเปรียบเทียบเหมือนการออกกำลังกายที่ทำให้ร่างกายแข็งแรง โดยใช้กิจกรรมบำบัด

เช่น ฝึกความจำด้วยการเล่นเกม ไพ่จับคู่ รวมถึงการปรับสิ่งแวดล้อม จัดบ้านให้เป็นระเบียบ มีที่เก็บของเป็นที่เป็นทางก็จะช่วยให้ลดปัญหาหลงลืมได้

สำหรับผู้ใกล้ชิดที่ต้องดูแลผู้ป่วยโรคสมองเสื่อมนั้น พญ.ดาวชมพูแนะนำว่า ให้ใช้ความรัก ความเข้าใจ และความอดทน ซึ่งนอกจากการดูแลทางร่างกายและประคับประคองอาการแล้ว


ยังต้องดูแลทางด้านจิตใจของผู้ป่วยและตัวผู้ดูแลเองอีกด้วย เพราะดังที่กล่าวมาแล้วว่า การรักษาโรคสมองเสื่อมเป็นการประคับประคองหรือชะลออาการ ดังนั้นแม้ความจำของผู้ป่วยจะไม่เหมือนเดิม

แต่ผู้ป่วยก็สามารถรู้สึกดีขึ้นและมีความสุขกับการใช้ชีวิตที่เหลืออยู่ได้อย่างมีคุณค่า ซึ่งก็ทำให้คนดูแลและผู้ป่วยอยู่ร่วมกันได้อย่างมีความสุข

สำหรับแนวทางการป้องกันโรคสมองเสื่อมไม่ให้เกิดก่อนวัยอันควรนั้น สามารถทำได้โดยผ่านกิจกรรมต่างๆ ในชีวิตประจำวันปกติ ซึ่งมีคำแนะนำดังนี้ 1.อาหารกาย รับประทานน้ำให้เพียงพอ

ประมาณ 8 แก้วต่อวัน รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ครบ 5 หมู่ และควบคุมอาหารที่มีผลต่อเส้นเลือดสมองดังที่กล่าวมาแล้ว 2.อาหารใจ เลือกรับข้อมูลข่าวสารที่ทำให้ตนเองสบายใจ

ดูแลจิตใจให้มีความสุข มีเมตตา และปรารถนาดีกับผู้อื่น เพราะการจมอยู่กับความรู้สึกไม่ดี ความเครียด ทำให้มีการหลั่งสารเคมีที่ทำลายเนื้อสมองได้ 3.ฝึกสติ คอยรู้สึกตัวอยู่เสมอว่าขณะนี้กำลังทำอะไร   และใส่ใจกับสิ่งที่อยู่ตรงหน้า ทำให้การเก็บข้อมูลที่จะนำไปสู่ความจำดีขึ้น ทำให้สมองทำงานได้ดีขึ้น ซึ่งเป็นการป้องกันภาวะหลงลืมได้.


ที่มา : www.thaipost.net


                            
"อัลไซเมอร์" โรคใกล้ตัวของผู้สูงอายุ

คงต้องยอมรับว่า ไม่มีอะไรในโลกนี้้ที่อยู่ยั่งยืนเป็น "อมตะ" ตลอดกาล เพราะทุกชีวิตต้องมี เกิด แก่เจ็บ และตาย ตามวัฏสงสารที่ถูกกำหนดไว้อย่างจริงแท้และแน่นอนตามกฎของธรรมชาติ

อย่างไรก็ตาม  สิ่งหนึ่งที่หลายคนค่อนข้างให้ความวิตกกังวลอยู่ไม่น้อยก็คือ การเจ็บไข้ได้ป่วยต่าง ๆ ที่มักมาเยี่ยมเยือนพร้อมกับอายุที่เพิ่มมากขึ้นตามลำดับ  และหนึ่งในโลกที่กำลังเป็นปัญหาของบรรดาผู้สูงอายุในขณะนี้ก็คือ "อัลไซเมอร์"

ทั้งนี้  เนื่องจากผลพวงจากโรคนี้จะส่งผลทำให้ประสิทธิภาพในการทำงานลดลง  โดยเฉพาะอย่างยิ่งระบบความจำที่เลือนหายไป.......... จากคุณพ่อที่ทำงานได้เก่งมากหรือคุณแม่ที่เป็นแม่ครัวชั้นหนึ่งของบ้าน  แต่ในวันนี้ลืมแม้กระทั่งวิธีจะยกช้อนกินข้าว

ปัจจุบันมีการศึกษาของกระทรวงสาธารณสุขสำรวจพบว่า  มีคนไทยเป็นโรคสมองเสื่อมหรือที่เรียกว่า "อัลไซเมอร์" ประมาณ 218,000 คน  และได้มีการคาดการณ์ในอนาคต จะมีผู้สูงอายุที่มีปัญหาจากกลุ่มอาการสมองเสื่อม เพิ่มขึ้นในอัตราประมาณ 3.4 เปอร์เซ็นต์ และเป็นเพศหญิงมากกว่าเพศชายประมาณ 2  เท่า ในขณะที่คนอเมริกันกว่า 4.5 ล้านคนเป็นโรคอัลไซเมอร์ และเพิ่มขึ้นมากกว่า 4.5 ล้านคนเป็นโรคอัลไซเมอร์และเพิ่มขึ้นมากกว่า 2 เท่านับจากปี ค.ศ.1980

จากการสำรวจของกระทรวงสาธารณสุขพบว่า ประชากรทุก 1 ใน 10 คน มีผู้ป่วยด้วยโรคอัลไวเมอร์อยู่ในครอบครัว  โดยเฉพาะโรคอัลไซเมอร์จะมีโอกาสสูงที่จะเกิดกับผู้สูงอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป

สาเหตุของโรคนี้นั้นเกิดจากเซลล์สมองที่มีอยู่ได้เสื่อมสภาพลง   เพราะสมองของมนุษย์เรานั้นเปรียบเสมือนเครื่องจักร  เมื่อมีการใช้งานนานหลายปีก็จะเสื่อมสภาพลงจนไม่สามารถใช้งานได้กลายมาเป็นโรคอัลไซเมอร์ในที่สุด  ซึ่งจะส่งผลทำให้ผู้ป่วยไม่สามารถวิเคราะห์ข้อมูลการบริหารจัดการในสิ่งต่าง ๆ ได้ เช่น การวางแผน การตัดสินใจ ว่าควรจะทำสิ่งนี้หรือไม่ควรทำ  รวมทั้งการเรียกชื่อ การสร้างประโยค หรือในส่วนที่เรียกว่า Executive Function หายไป

สำหรับสิ่งที่จะบ่งบอกได้ว่าเราเป็นโรคอัลไซเมอร์ หรือไม่นั้น  น.พ.สุนัย  บุษราคัมวงษ์  แพทย์สาขาอายุรแพทย์โรงพยาบาลผู้สูงอายุ กล้วยน้ำไท  ได้บอกว่า ก่อนที่แพทย์จะทำการวินิจฉัยผู้ป่วยที่เป็นโรคนี้ จะต้องเริ่มจากการศึกษาโครงสร้างของสมองก่อน  เพราะโรคอัลไซเมอร์เป็นโรคที่เกี่ยวกับสมองของคนเราโดยตรง

ทั้งนี้ สมองคนเรานั้นจะมีทั้งหมดด้วยกัน 4 ส่วน ถ้าสมองส่วนใดมีปัญหาก็จพทำให้การรับรู้ส่วนนั้นมีปัญหาไปด้วย และทางเจ้าหน้าที่และทีมแพทย์ก็จะได้ทำการรักษาได้อย่างถูกต้อง ซึ่งดดยปกติสมองจะมี 4 ส่วนด้วยกัน คือ
  • สมองซีกซ้าย  ซึ่งเป็นสมองส่วนที่เด่น จะทำหน้าที่ในการเรียนรู้ในเรื่องของภาษา กาารคิดคำนวณ  ถ้าสมองซีกซ้ายเกิดการชำรุด หรือเสื่อมไปก็จะส่งผลให้ไม่สามารถใช้ภาษาได้อย่างถูกต้อง เช่น เห็นพี่ชายคนโต รู้ว่าเป็นพี่ชายคนโตแต่ก็ยังเรียกชื่อผิด  ถึงเจ้าตัวจะบอกแต่ก็ยังเรียกผิดอยู่
  • สมองซีกขวา เป็นส่วนที่ทำหน้าที่เกี่ยวกับการคิดในเรื่องระยะทาง หรือจินตนาการ  ถ้าผูป่วยที่สสมองส่วนกลางมองส่วนนี้มีปัญหา จะทำให้ไม่สามารถจดจำสถานที่ที่เคยไปเป็นประจำได้  หรือการหลงทิศ เช่นเมื่อเดินไปที่ไหนเป็นประจำแต่มีอยู่วันหนึ่งไม่สามารถจำทางกลับบ้านได้
  • สมองส่วหน้า   ทำหน้าที่เรียนรู้สิ่งใหม่่  รวมทั้งการแก้ปัญหาเฉพาะหน้า ถ้าผู้ป่วยมัปัญหาเกี่ยวกับสมองส่วนหน้า  จะไม่สามารถเรียนรู้เกี่ยวกับข้อมูลใหม่ ๆ ได้ และจะลืมเหตุการณ์ที่เพิ่งผ่านไปสด ๆ ร้อน ๆ
  • สมองส่วนกลาง  ถือว่าเป็นส่วนที่ใช้ในการจดจำสิ่งต่าง ๆ ถ้าสมองส่วนนี้มีปัญหาจะส่งผลให้ผู้ป่วยไม่สามารถทพอะไรต่าง ๆ ได้ เช่น ไม่สามารถจดจำวิธีการต้มมาม่าที่ตัวเองต้มรับประทานอยู่เป็นประจำ
จากผลวิจัยได้มีการวิจัยพบว่าผู้ป่วยที่เป็นโรค "อัลไซเมอร์"  นั้นจะมีสัญญาณในการเตือนว่าคุณกำลังจะเป็นโรคอัลไซเมอร์  มีอยูหลายประการด้วยกัน เช่น ลืมเหตุการณ์ที่เพิ่งผ่านไปสด ๆ จนมีเหตุให้ต้องมีผลเสียต่อการทำงาน การใช้วิจารณญาณเสียไป ซึ่งในเรื่องของการใช้ววิจารณญาณที่เสียนี้จะเป็นอันตรายต่อผู้สูงอายุมาก  เพราะถ้าผูป่วยอยู่บนตึกที่สูงและคิดว่าตัวเองเป็นนกสามารถบินได้ เขาก็จะทำทันทีโดยไม่ได้คิดตรึกตรอง

รวมทั้งมีการเปลี่ยนแปลงอารมณ์และพฤติกรรมอย่างรวดเร็ว  อาจจะมีอารมณ์หงุดหงิดง่าย ซึมเศร้า วิตกกังวล สับสนกระวนกระวายมากขึ้น  ถ้าหากว่าในบ้านของคุณมีผู้สูงอายุที่เข้าข่ายในอาการเหล่านี้นั้น ควรที่จะพาไปพบแพทย์โดยด่วน เพื่อทำการรักษา

คำถามที่ตามมาก็คือ  แล้าเราจะมีวิธีบำบัดรักษาผู้สูงอายุที่ป่วยเป็น "โรคอัลไซเมอร์" ได้อย่างไร

ในเรื่องนี้ นิรุทต์อมรคณารัตน์ นักกิจกรรมบำบัด บอกว่า ไม่ามารถรักษาให้หายขาดได้ หน้าที่ของการรักษานั้น มีเพียงแต่ทุเลาอาการให้น้อยลง และให้ผู้ป่วยนั้นสามารถช่วยเหลืือตัวเองได้เท่านั้นเอง

สำหรับวิธีการรักษาก็คือ   เจ้าหน้าที่จะให้ผู้ป่วยได้ทำกิจกรรมที่เคยทำอยู่เป็นประจำมาใช้ในการรักษา ก็คือ การให้ผู้ป่วยได้ฝึกการเล่นไพ่ เพราะการเล่นไพ่จะเป็นการฝึกให้ผู่ป่วยได้ใช้ความคิด ซึ่งเปรีบเสมือนการบริหารสมองให้ได้คิด และไม่น่าเบื่อ

นอกจากนั้น  วิธีที่น่าสนใจอีกวิธีก็คือ เจ้าหน้าที่จะใช้วิธีการบำบัดเป็นระบบ ซึ่งวิธีการรักาาแบบเป็นระบบนี้เจ้าหน้าที่จะคอยบอกผู้ป่วยที่ละขั้นตอนว่าจะทำอะไร เช่น การทานข้าว เพราะผู้ที่เป็นโรคนี้จะไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้  ดังนั้นจึงต้องแนะนำวิธีการทานข้าวเป็นขั้นเป็นตอน โดยเริ่มจากการใช้ช้อนตักข้าว จนถึงการนำข้าวรับประทาน

การรักษาด้วยวิธีนี้จะทำให้ผู้สูงอายุไม่หงุดหงิดและมีความสุขเมท่อตัวเองสามารถทำสิ่งที่เจ้าหน้าที่บอกได้

อย่างไรก็ตาม  สิ่งที่สำคัญที่สุดก็คือ  การดูแลผู้สูงอายุที่เป็นโรคนี้  ผู้ดูแลจะต้องมีความอดทน และเข้าใจว่าเป็นอาการของโรคไม่ได้แกล้ง  ต้องมีความระมัดระวังและใช้ความใกล้ชิดในการดูแล เพราะผู้สูงอายุจะเดินออกจากบ้านแล้วหายไปเลย เพราะกลับบ้านไม่ถูก และสิ่งที่สำคัญที่สุดจะต้องไม่ใช้คำพูดที่กระตุ้นในส่ิงที่สะเทอนใจ  เพียงเท่านี้ท่านก็จะอยู่กับลูกหลานไปได้อีกนาน



ที่มา :  www.mamager.co.th
update : 12/10/2555

วันอังคารที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2555

แบบทดสอบสมรรถภาพทางกายมตรฐานของคณะกรรมการนานาชาติ                   
   
  
สมรรถภาพทางกายที่ดีเป็นสิ่งจำเป็นต่อการดำรงชีวิต และประกอบภารกิจประจำวัน หรือออกกำลังกาย เล่นกีฬาได้อย่างมีประสิทธิภาพ การที่จะทำให้ร่างกายมีสมรรถภาพที่ดีได้นั้นต้องอาศัยการออกกำลังกายหรือเล่นกีฬาเป็นประจำสม่ำเสมอ นอกจากนั้นควรมีโภชนาการที่ดีด้วย 

การทดสอบสมรรถภาพทางกาย เป็นวิธีที่จะบ่งบอกถึงสภาพความสมบูรณ์แข็งแรงของร่างกายหรือการมีสมรรถภาพทางกายแต่ละด้านดีมากน้อยเพียงใด ในปี ค.ศ.1964 (พ.ศ.2507) ที่นครโตเกียว ในระหว่างที่มีการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกครั้งที่ 19 ได้มีการตั้งคณะกรรมการนานาชาติ เพื่อจัดมาตรฐานการทดสอบความสมบูรณ์ทางกาย ( ICSPFT : International Committee for Standardization of Physical Fitness Test ) เพื่อทำการศึกษาหาแบบทดสอบความสมบูรณ์ทางกายที่จะใช้เป็นมาตรฐานทั่วโลก คือทั่วโลกมีการทดสอบไปในแนวเดียวกัน เพื่อจะได้นำมาเปรียบเทียบกันระหว่างชาติต่าง ๆ ได้ ซึ่งในสมัยนั้นมี  ศ.นพ.อวย เกตุสิงห์ เป็นกรรมการร่วมอยู่ด้วย ซึ่งคณะกรรมการชุดนี้ได้ศึกษาวิจัยรวบรวมข้อมูลนาน 8 ปี จึงได้นำข้อยุติของการทดสอบสมรรถภาพทางกายที่เป็นมาตรฐานออกมาใช้ ในปี ค.ศ.1972 (พ.ศ.2515) ได้นำไปทดสอบทั่วโลกโดยถือเป็นการทดสอบสมรรถภาพทางกายพื้นฐาน (Basic physical performance)
จากกิจกรรมของคณะกรรมการ มีการศึกษาวิจัยมากมาย และมีการรวมกันเป็นกลุ่ม จึงมีความคิดเห็นร่วมกันว่าควรร่วมมือวิจัยกันอย่างต่อเนื่อง มีการเปลี่ยนชื่อคณะกรรมการภายหลังเป็นคณะกรรมการนานาชาติเพื่อวิจัยความสมบูรณ์ทางกาย (ICPFR: International Committee on Physical Fitness Research)
สำหรับประเทศไทยการทดสอบแบบ ICSPFT ได้ทำการทดสอบครั้งแรกประมาณปี พ.ศ. 2515 โดยช่วงแรกทำการทดสอบที่โรงเรียน มาร์แตร์เดอีวิทยาลัย และโรงเรียนสวนบัว รวมทั้งทำการทดสอบในนักกีฬาไทยด้วย ซึ่งวิธีการดังกล่าวถูกนำมาใช้ทดสอบและประเมินสมรรถภาพทางกาย เด็ก เยาวชน และประชาชนอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้เพราะวิธีการ อุปกรณ์ทดสอบไม่ยุ่งยาก สามารถทำได้กับกลุ่มคนเป็นจำนวนมาก

ความหมายสมรรถภาพทางกาย   หมายถึงความสามารถของร่างกายในการประกอบกิจกรรม หรือทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพเป็นระยะเวลานาน ๆ โดยไม่อ่อนล้า  และเมื่อประกอบกิจกรรมนั้น ๆ เสร็จแล้ว ร่างกายสามารถกลับคืนสู่สภาพปกติได้อย่างรวดเร็ว  และยังมีพละกำลังเหลือพอที่จะกระทำกิจกรรมในเวลาว่าง และเผชิญกับสถานการณ์คับขันได้เป็นอย่างดี

องงค์ประกอบสมรรถภาพทางกาย

สมรรถภาพทางกาย ประกอบด้วย 2 ส่วน  ดังนี
  • สมรรถภาพทางกายเพื่อสุขภาพ (Health Related Fitness) เป็นสมรรถภาพทางกายพื้นฐานที่ช่วยให้บุคคลมีสุขภาพดี ไม่เจ็บป่วยง่าย  เนื่องจากร่างกายมรภูมิคุ้มกันโรค ป้องกันโรคภัยไข้เจ็บ ประกอบด้วย
          ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ (Muscular Strength) ความทนทานของ
          กล้ามเนื้อ (Muscular Endurance)  ความอ่อนตัว (Fexibility) ความ
          ทนทานของระบบหายใจ และระบบการไหลเวียนเลือด (Cardio
          Respiratory Endurance) สัดส่วนร่างกาย (Body Composition)
  • สมรรถภาพทางกลไกล (Motor Fitness or Skill-Related Fitness) เป็นสมรรถภาพทางกาย          ด้านทักษะ  สมรรถภาพทางกลไกลเกี่ยวโยงกับทักษะพื้นฐานของการกระทำที่มีประสิทธิภาพ ประกอบด้วย
          ความทนทาน (Endurance) พลัง (Power) ความแข็งแรง (Strength)
          ความคล่องแคล่วว่องไว (Agility) ความอ่อนตัว (Fexibility)
          การทรงตัว (Balance)



               
 หลักในการออกกำลังกาย

การออกกำลังกาย เป็นปัจจัยที่สำคัญอย่างหนึ่ง ที่มีผลต่อการเจริญเติบโตทางร่างกาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในวัยเด็ก และวัยรุ่น การออกกำลังกายจะทำให้กระดูก และกล้ามเนื้อ ส่วนต่าง ๆ มีการเจริญและพัฒนาขึ้นทั้งความยาว และความหนา  เนื่องจากมีการเพิ่ม การสะสมแร่ธาตุ (แคลเซียม) ในกระดูกทำให้กระดูกมีความแข็งแรง เพิ่มมากขึ้น

การออกกำลังกายที่กระทำโดยถูกต้องจะให้คุณค่าแก่ร่างกายมาก  โดยเฉพาะเด็ก ๆ  และ เยาวชน จะทำให้ร่างกายเติบโตสมวัย ผู้ที่ไม่ค่อยได้ออกกำลังกาย มักมีร่างกายเล็ก แคระแกรน และขี้โรค ใน วัยหนุ่มสาว การออกกำลังกายจะช่วยให้ ระบบประสาทและจิตใจทำงานได้ดีเป็นปกติ ในวัยสูงอายุ การออกกำลังกายจะช่วยป้องกัน และรักษาอาการ หรือโรคที่เกิดในวัยชรา เช่น อาการเมื่อย อาการท้องผูกเป็นประจำ ตลอดจนความรู้สึกวิงเวียนหน้ามืด และการไหลเวียนโลหิตไม่เพียงพอ

การออกกำลังกาย ควรจะปฏิบัติอย่างต่อเนื่อง และสม่ำเสมอ เพราะ

การออกกำลังกาย จะช่วยเพิ่มสมรรถภาพให้แก่ร่างกาย คือ ทำให้อวัยวะทุกส่วนมี ความแข็งแรงช่วยเพิ่ม ภูมิต้านทานโรค และช่วยทำให้สุขภาพจิตดีขึ้นด้วย

การออกกำลังกาย เพื่อมุ่งให้เกิดสมรรถภาพทางกายจะต้องเป็นการฝึกในด้านต่าง ๆ ได้แก่ ความอ่อนตัว ความสัมพันธ์ระหว่างระบบประสาท และกล้ามเนื้อ การทรงตัว ความยืดหยุ่นรวมทั้งความอดทนของการทำงาน ของปอด และหัวใจ ซึ่งจะมีผลต่อ ความเหนื่อยช้าหรือเร็วของบุคคลด้วย

ความสำคัญของสมรรถภาพทางกาย

สมรรถภาพทางกายมีความสำคัญต่อการปรับปรุงคุณภาพชีวิตเป็นส่วนสำคัญที่จะทำให้มนุษย์  สามารถปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ผลของการเป็นผู้ทีมีประสิทธิภาพทางกายที่ดี คือลดอัตรา การเสี่ยงต่อการเป็นโรคหัวใจเพิ่มพูนประสิทธิภาพของระบบต่างๆ ในร่างกาย เช่น ระบบหมุนเวียนโลหิต ระบบการหายใจ ระบบการย่อยอาหาร ฯลฯ ทำให้รูปร่าง และสัดส่วนของ ร่างกายดีขึ้น ช่วยควบคุมมิให้น้ำหนักเกิน หรือควบคุมไขมันในร่างกาย ช่วยลดความดันโลหิตสูง  ช่วยลดไขมันเลือด เพิ่มความคล่องตัว เกิดประสิทธิภาพ ในการทำงาน

หลักการจำแนกสมรรถภาพทางกายพื้นฐาน


1.ความเร็ว (Speed) หมายถึง ความสามารถของกล้ามเนื้อที่สามารถทำงาน หรือเคลื่อนที่ซ้ำ ๆ กัน ได้อย่างรวดเร็ว

2.พลังกล้ามเนื้อ (Muscle power) หมายถึง ความสามารถของกล้ามเนื้อที่หดตัวได้แรง และทำให้วัตถุหรือร่างกายเคลื่อนที่ออกไปเป็นระยะทางมากที่สุดภายในเวลาจำกัด

3.ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ (Muscle strength) หมายถึง ความสามารถของกล้ามเนื้อที่หดตัว เพื่อเคลื่อนน้ำหนักหรือต้านน้ำหนักเพียงครั้งเดียวโดยไม่จำกัดเวลา

4.ความอดทนของกล้ามเนื้อ (Muscle endurance) หมายถึง ความสามารถของกล้ามเนื้อที่ทำงานได้นานโดยไม่เสื่อมประสิทธิภาพ

5.ความแคล่วคล่องว่องไว (Agility) หมายถึง ความสามารถของร่างกายในการควบคุมการเปลี่ยนทิศทางการเคลื่อนไหวได้อย่างรวดเร็วและตรงเป้าหมาย

6.ความอ่อนตัว (Flexibility) หมายถึง ความสามารถของร่างกายในการเคลื่อนไหวให้ได้มุมของการเคลื่อนไหวอย่างเต็มที่ของข้อต่อแต่ละข้อ

7.ความอดทนทั่วไป (General endurance) หมายถึง ความสามารถของระบบหายใจและไหลเวียนเลือดที่ทำงานได้นานต่อเนื่องอย่างมีประสิทธิภาพ ในขณะที่ร่างกายมีการเคลื่อนไหวหรือเคลื่อนที่

หลักในการทดสอบสมรถภาพทางกายมาตรฐานของคณะกรรมการนานาชาติ 

รายการที่ 1 วิ่งเร็ว 50 เมตร (50 Meters Sprint)

อุปกรณ์
  • นาฬิกาจับเวลา อ่านละเอียด 1/100 วินาที
  • ทางวิ่ง 50 เมตร มีเส้นเริ่มและเส้นชัย
  • อุปกรณ์ปล่อยตัว เช่น โบกธงสีขาว
เจ้าหน้าที่
  • ผู้ปล่อยตัว
  • ผู้จับเวลา
  • ผู้บันทึก

วันอาทิตย์ที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2555

ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง รายวิชา พ 33101 สุขศึกษา 5
  1. อธิบายกระบวนการสร้างเสริมและดำรงประสิทธิภาพการทำงานของอวัยวะต่าง ๆ
  2. วางแผนดูแลสุขภาพตามภาวะการเจริญเติบโตและพัฒนาการของตนเองปละบุคคลในครอบครัว
  3. วิเคราะห์อิทธิพลของครอบครัว เพื่อน สังคม และวัฒนธรรมที่มีผลต่อพฤติกรรมทางเพศและการดำเนินชีวิต
  4. วิเคราะห์ค่านิยมในเรื่องเพศตามวัฒนธรรมไทยและวัฒนธรรมอื่น ๆ
  5. เลือกใช้ทักษะที่เหมาะสมในการป้องกัน ลดความขัดแย้ง และแก้ปัญหาเรื่องเพศและครอบครัว
  6. วิเคราะห์สาเหตุและผลของความขัดแย้งที่อาจเกิดขึ้นระหว่างนักเรียนหรือเยาวชนในชุมชน และเสนอแนวทางแก้ไขปัญหา
  7. วิเคราะห์บทบาทและความรับผิดชอบของบุคคลที่มีต่อการสร้างเสริมสุขภาพและการป้องกันโรคในชุมชน
  8. วิเคราะห์อิทธิพลของสื่อโฆษณาเกี่ยวกับสุขภาพเพื่อการบริโภค
  9. ปฏิบัติตามสิทธิผู้บริโภค
  10. วิเคราะห์สาเหตุและเสนอแนวทางการป้องกันการเจ็บป่วยและการตายของคนไทย


เนื้อหาสาะ
  1. ระบบอวัยวะ
  2. ทักษะชีวิต
  3. เพศที่แตกต่าง
  4. สุขภาพดีสร้างได้
  5. สิทธิผู้บริโภค


กิจกรรมการเรียนการสอน
  1. บรรยาย
  2. อภิปราย
  3. ซักถาม
  4. บันทึก
  5. สาธิตทำงานกลุ่ม
  6. รายงานการค้นคว้า
  7. วิเคราะห์กรณีศึกษา                     
       แหล่งเรียนรู้
  • หนังสือเรียนสาระการเรียนรู้พื้นฐานสุขศึกษาและพลศึกษา ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6
  • หนังสือพิมพ์รายวัน
  • วารสารใกล้เหมอ
  • วารสารหมอชาวบ้าน
  • สิ่งพิมพ์ทางการแพทย์และสาธารณสุข
  • กรณีศึกษาทางการแพทย์และสาธารณสุข
          •                   



ห้องสมุดโรงเรียน
ห้องสมุดประชาชน


ออนไลน์
www.bbc.co.uk/science/humanbody
www.learninggamesforkids.com/health-gan
www.thaigoodview.com
www.thaihealth.or.th
www.vimanloy.com
http://kruyongyuth.blogspot.com

วันอังคารที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

สื่อการเรียนรู้ สำหรับห้องเรียนแห่งอนาคต

สื่อการเรียนรู้เป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งในการจัดการเรียนการสอน ซึ่งเป็นเครื่องมืออย่างหนึ่งที่จะช่วยสร้างความเข้าใจเนื้อหาของบทเรียนตรงกันระหว่างผู้สอนกับผู้เรียน เป็นสิ่งที่จะช่วยเสริมให้ผู้เรียนได้รับประสบการณ์ตรงที่เป็นรูปธรรม
ในการจัดการเรียนรู้นั้นครูผู้สอนต้องเป็นครูยุคใหม่ ต้องเลือกสรรและใช้รูปแบบและวิธีการจัดการเรียนรู้ที่หลากหลาย หมั่นศึกษาเรียนรู้สื่อใหม่ ๆ เพื่อนำมาใช้กระตุ้นให้ผู้เรียนได้ศึกษาหาความรู้อย่างกว้างขวางและทันสมัย รู้จักคิดอย่างมีเหตุผล สามารถแก้ไขปัญหาและมีทักษะในเชิงปฏิบัติ มีการสร้างแรงจูงใจ สร้างบรรยากาศในการเรียนรู้ ให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมอย่างกระตือรือร้น และกระตุ้นให้เกิดปฏิสัมพันธ์ระหว่างกันในเชิงสร้างสรรค์  ซึ่งหลายคนทราบดีว่าธรรมชาติของเด็ก โดยเฉพาะอย่างยิ่งเด็กปฐมวัยหรือประถมศึกษานั้นชอบ “เล่น” การจัดการเรียนรู้จึงต้องสอดคล้องกับความต้องการและวัยของผู้เรียน เมื่อเด็กชอบเล่นครูควรใช้ “การเล่น” มาเป็นสื่อในการถ่ายทอดความรู้ โดยครูต้องมีวัสดุอุปกรณ์ และจัดกิจกรรมให้เด็กได้มีส่วนร่วม เพื่อสร้างจิตนาการและความคิดสร้างสรรค์ต่าง ๆ สื่อที่ใช้ต้องสามารถเป็นตัวกระตุ้นความสนใจของเด็กในเรื่องที่จะเรียน   เมื่อเด็กเกิดความสนใจก็จะเกิดความพยายามเรียนรู้เรื่องนั้น ๆ แล้ว การให้เด็กได้เรียนรู้ด้วยการร่วมกิจกรรมและลงมือปฏิบัติถือเป็นวิธีการที่ดีที่จะช่วยให้เด็กเกิดความรู้ติดตัวที่คงทนและยั่งยืน
 
โดยจากผลการวิจัยของมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด พบว่า กิจกรรมการจัดการเรียนรู้ที่ต่างกันทำให้จดจำสิ่งที่ได้เรียนรู้ต่างกันด้วย คือ การเรียนในห้องเรียน นั่งฟังบรรยาย จะจำได้เพียง 5% การอ่านด้วยตัวเอง จะจำได้เพิ่มขึ้นเป็น 10% การฟังและได้เห็น เช่น การดูโทรทัศน์ ฟังวิทยุ จำได้ 20% การได้เห็นตัวอย่าง จะช่วยให้จำได้ 30% การได้แลกเปลี่ยนพูดคุยกัน เช่น การพูดคุยแลกเปลี่ยนความรู้กันในกลุ่ม จะช่วยให้จำได้ถึง 50% การได้ทดลองปฏิบัติเอง จะจำได้ถึง 75% การได้สอนผู้อื่น เช่น การติวหรือการสอน จะช่วยให้จำได้ถึง 90% ดังนั้นครูผู้สอนจึงต้องพิจารณาเลือกใช้กิจกรรมที่เหมาะสม

แม้กระแสความเปลี่ยนแปลงของสังคมโลกหลายประเทศได้ให้ความสำคัญกับการปรับการเรียนการสอน มีการวางแผนยุทธศาสตร์ห้องเรียนแห่งอนาคตในทศวรรษที่ 21  ซึ่งเป็นระบบห้องเรียนอิเล็กทรอนิกส์ที่สามารถจัดการเรียนรู้ด้วยระบบสารสนเทศเพื่อการเรียนรู้ที่เชื่อมโยงกับแหล่งเรียนรู้ได้ทั่วโลกผ่านทางระบบอินเทอร์เน็ต ที่มีการผสมผสานระหว่างเทคโนโลยีการสื่อสารและเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ ที่จะช่วยยกระดับคุณภาพการจัดการศึกษาให้สูงขึ้น  ลักษณะของห้องเรียนแห่งอนาคตนั้นจะมีการนำเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์เข้ามาใช้ในการพัฒนาการศึกษา มีการจัดแหล่งเรียนรู้โดยใช้ระบบสื่อเทคโนโลยีไม่ว่าจะเป็นระบบ E-Classroom, E-Learning, E-Library,E-office, E-Student, E-Service เป็นต้น หรืออาจใช้ระบบเครือข่ายสังคมออนไลน์ (Social Network) มาสนับสนุนการเรียนรู้และการบริหารจัดการและพัฒนาคุณภาพผู้เรียนให้ก้าวทันสังคมในยุคข้อมูลข่าวสาร  สำหรับประเทศไทยนั้นมีสถานศึกษาเพียงบางแห่งที่มีความพร้อมสูงมีการจัดห้องเรียน ในลักษณะของห้องเรียนที่มีการใช้สื่อเทคโนโลยีเข้ามาบูรณาการในการจัดการเรียนการสอน
ปัจจุบันแท็บเล็ต (Tablet PC) เป็นสื่อที่กำลังมาแรงและเป็นที่นิยมอย่างมาก เนื่องมาจากคุณประโยชน์อันหลากหลายและรูปแบบที่ทันสมัย พกพาได้สะดวกสบาย ใช้ประโยชน์ได้หลากหลาย เช่น ใช้ต่ออินเทอร์เน็ตได้ ถ่ายรูปได้

เป็นแหล่งค้นคว้าหาความรู้ ตรวจสอบข้อมูลข่าวสาร อ่านหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ หรือ e-Book ซึ่งขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ของการใช้งานเป็นสำคัญ   ในสังคมการศึกษาไทยรัฐบาลชุดปัจจุบันมีนโยบายแจกแท็บเล็ตให้กับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ตามโครงการ One Tablet PC Per Child ซึ่งเป็นไปตามนโยบายที่รัฐบาลได้แถลงไว้ ถือเป็นการสร้างมิติใหม่ของการศึกษาไทยในการเข้าถึงการปรับใช้สื่อเทคโนโลยีเพื่อการศึกษาในยุคปฏิรูปการศึกษาทศวรรษที่สอง 


จากกระแสการแจกแท็บเล็ตให้กับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 มีผลการสำรวจ “ความคิดเห็นของชาวอีสานกับนโยบายการแจก Tablet PC แก่เด็กนักเรียน ชั้น ป.1 ของรัฐบาล” ของอีสานโพล (E-Saan Poll) ศูนย์วิจัยธุรกิจและเศรษฐกิจอีสาน (ECBER) คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยขอนแก่น มีหลายประเด็นที่น่าสนใจ เช่น ชาวอีสานส่วนใหญ่คิดว่าการนำ Tablet PC มาให้นักเรียน ป.1 ใช้จะไม่ช่วยทำให้คุณภาพการศึกษาของไทยดีขึ้น ยังเป็นห่วงว่าบทบาทของครูจะลดลง เห็นว่าควรแจก Tablet PC ให้กับเด็กโตมากกว่าเด็กเล็ก เด็กจะไม่ได้ใช้ Tablet PC เพื่อประโยชน์ทางการศึกษาเป็นหลัก แต่ใช้เพื่อวัตถุประสงค์อื่น เช่น เล่นเกม เล่นอินเทอร์เน็ต และยังกังวลว่า เด็ก ป.1 จะยังไม่สามารถดูแลรักษาสิ่งของอย่าง Tablet PC ได้  อาจเกิดปัญหาการพังเสียหาย การทำสูญหาย หรือแม้แต่อาชญากรรมการลักขโมย เป็นต้น ซึ่งการแจกแท็บเล็ตให้กับนักเรียนประถมศึกษาปีที่ 1 บ้างก็เห็นด้วยว่าเป็นสิ่งดี
เพราะเทคโนโลยีนั้นมีศักยภาพทางบวกอยู่มาก ที่จะช่วยเพิ่มแรงจูงใจใฝ่เรียนรู้ให้กับผู้เรียน เป็นการเปิดโลกกว้างแห่งการเรียนรู้ให้แก่เด็ก ช่วยให้เด็กไทยก้าวสู่โลกสมัยใหม่และค้นคว้าข้อมูลได้อย่างกว้างขวางรวดเร็ว  รวมถึงยังสนับสนุนให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ด้วยตนเอง ไม่จำกัดการเรียนรู้ของเด็กอยู่เฉพาะในห้องเรียนแบบเดิม ๆ


อย่างไรก็ตามการมองต่างมุมของหลายฝ่าย ก็มีความเป็นห่วงว่าสื่อการเรียนรู้ที่ทันสมัยนั้นอาจจะเป็นดาบ 2 คมที่มีทั้งข้อดีและข้อเสีย ดังนั้นผู้รับผิดชอบคงต้องพิจารณาเพื่อหาทางป้องกันอย่างรอบคอบ แม้วงการศึกษาจำเป็นต้องมีการปรับการเรียนเปลี่ยนการสอนให้เหมาะสมสอดคล้องกับบริบทใหม่ของการเปลี่ยนแปลง  แต่ก็ยังปรารถนาที่จะเห็นห้องเรียนแห่งอนาคตเกิดขึ้นในสถานศึกษาทุกแห่งอย่างทั่วถึงและเท่าเทียม.     

        
บทความ:ฟาฏินา วงศ์เลขา
ที่มา :เดลินิวส์ 
update:1พฤษภาคม55