วันจันทร์ที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2553

การแก้ไขประวัติส่วนตัว



1. คลิกที่ เลขประจำตัว (เพื่อเข้าสู่ประวัติส่วนตัว)

2. คลิกที่ เฟรม แก้ไขประวัติส่วนตัว
3. เปลี่ยนชื่อ / นามสกุลเป็นตัวเลขที่กำหนดให้

4. พิมพ์ เลขประจำตัวที่บล็อก
5. คลิกที่ อัพเดทประวัติส่วนตัว
 


วันอังคารที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2553

การเรียนรู้ผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต

โรงเรียนยานนาเวศวิทยาคม
1. พิมพ์ ที่ about:blank http://203.172.132.200/moodle

2. เว็บ E-learning โรงเรียนยานนาเวศวิทยาคม

1. พิมพ์ YN เพื่อค้นหาเว็บโรงเรียนยานนาวศวิทยาคม

2. คลิก ชื่อ โรงเรียนยานนาเวศวิทยาคม

                                        3. คลิกที่ข้อความ E-leaning

4. คลิกที่ ข้อความ (เข้าสู่ระบบ) 
                                    
5. พิมพ์ ชื่อผู้ใช้ และ รหัสประจำตัว

            

 6. เข้าเว็บ E-learning  การเรียนรู้ผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
                                        
      7. สังเกตข่าว ประกาศ ที่ครูได้ลงแจ้งความ หรือนัดหมายนักเรียน   
  

8. คลิก วิชาเรียนของฉัน มีชื่อรายวิชา / รายวิชาทั้งหมด 
นักเรียนเลือกคลิกรายวิชาที่นักเรียนต้องการ
 

9. นักเรียนตอบตกลงที่จะสมัครเข้าเป็นสมาชิกของรายวิชานี้


10. เลือก เนื้อหาวิชา / ข้อสอบ / ข้อสอบซ่อม /บทความ

10.1 เลือกบทความ

10.2 เลือกข้อสอบ  นักเรียนตอบตกลงเข้าสอบวิชาที่เลือก

10.2.1 ข้อสอบแบบจับคู่

10.2.2 ข้อสอบปรนัย


13. อ่านโจทย์ เลือกคำตอบ /. คลิก เลือกคำตอบ

14. คลิกตัวเลขข้อ ด้านล่าง หรือด้านบนเพื่อเลือกข้อต่อไป

15. เมื่อทำข้อสอบเสร็จแล้ว คลิก บล็อก ขวามือ เพื่อส่งข้อสอบ
/ตอบตกลง
16.ข้อสอบถูกส่งเข้าระบบแล้ว คลิกที่ข้อความ E-learning
 

17. กลับสู่หน้าหลัก / คลิก (ออกนอกระบบ)               
               


Pakinson's Disease





















โรคพาร์กินสันหรือโรคสั่นเกร็งในวัยชรา ซึ่งเกิดจากความผิดปกติของระบบประสาทส่วนกลาง ที่จะส่งผลให้เกิดอาการสั่นเกร็ง และเคลื่อนไหวช้า โดยเฉพาะในผู้สูงอายุ ถูกค้นพบโดยDr. Jame Parkinson แพทย์ชาวอังกฤษ ปัจจุบันประเทศไทยมีผู้ป่วยประมาณ 80,000-120,000 คน

สาเหตุสำคัญของการเกิดโรค

  • ความชราภาพของสมอง มีผลทำให้เซลล์สมองที่สร้างสารโดปามีน (เกิดจากกลุ่มเซลล์ประสาทที่มีสีดำที่อยู่บริเวณก้านสมอง โดยทำหน้าที่สำคัญในการสั่งร่างกายให้เคลื่อนไหว) มีจำนวนลดลง โดยมากพบในผู้ที่มีอายุ 65 ปีขึ้นไป ทั้งเพศชายและหญิง และจัดว่าเป็นกลุ่มที่ไม่มีสาเหตุจำเพาะอย่างแน่นอน นอกจากนี้ยังเป็นกลุ่มที่พบบ่อยที่สุด
  • ยากล่อมประสาทหลัก หรือยานอนหลับที่ออกฤทธิ์กดหรือต้านการสร้างสรรโดปามีน โดยมากพบในผู้ป่วยโรคทางจิตเวช ที่ต้องได้รับยากลุ่มนี้เพื่อป้องกันการคลุ้มคลั่ง รวมถึงอาการอื่น ๆ ทางประสาท แต่ปัจจุบันยากลุ่มนี้ลดความนิยมในการใช้ลง แต่ปลอดภัยสูงกว่าและไม่มีผลต่อการเกิด โรคพาร์กินสัน
  • ยาลดความดันโลหิตสูง ในอดีตมียาลดความดันโลหิต ที่มีคุณสมบัติออกฤทธิ์ที่ระบบประสาทส่วนกลาง จึงทำให้สมองลดการสร้างสารโดปามีน แต่ในระยะหลัง ๆ ยาควบคุมความดันโลหิตส่วนใหญ่จะมีฤทธิ์นอกระบบประสาทส่วนกลาง แต่มีผลทำให้ขยายหลอดเลือดส่วนปลาย จึงไม่ส่งต่อสมองที่จะทำให้เกิด โรคพาร์กินสัน ต่อไป
  • หลอดเลือดในสมองอุดตัน ทำให้เซลล์สมองที่สร้างโดปานีมีจำนวนน้อยหรือหมดไป
  • สารพิษทำลายสมอง ได้แก่ สารแมงกานีสในโรงงานถ่านไฟฉาย พิษจากสารคาร์บอนมอนนอกไซด์
  • สมองขาดออกซิเจน ในกรณีที่จมน้ำ ถูกบีบคอ เกิดการอุดตันในทางเดินหายใจ จากเสมหะหรืออาหาร เป็นต้น
  • ศีรษะถูกกระทบกระเทือนจากอุบัติเหตุ หรือโรคเมาหมัดในนักมวย
  • การอักเสบของสมอง
  • โรคทางพันธุกรรม เช่น โรควิลสันซึ่งเกิดจากการที่มีอาการของโรคตับพิการร่วมกับโรคสมอง สาเหตุมาจากธาตุทองแดงไปเกาะในตับและสมองมากจนเป็นอันตรายขึ้นมา
  • ยากลุ่มต้านแคลเซียมที่ใช้ในโรคหัวใจ โรคสมอง ยาแก้เวียนศีรษะ และยาแก้อาเจียนบางชนิด
อาการของโรคพาร์กินสัน

โดยทั่วไปอาการจะแสดงออกมากน้อยแตกต่างกันในผู้ป่วยแต่ละราย ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลาย ๆ ด้าน เช่น อายุ ระยะเวลาการเป็นโรค และภาวะแทรกซ้อนที่ตามมา แต่โรคชนิดนี้จะมีอาการที่แสดงออกที่เห็นได้ชัด คือ

  • อาการสั่น พบว่าเป็นอาการเริ่มต้นของโรคประมาณร้อยละ 60-70 ของผู้ป่วยจะมีอาการสั่น โดยเฉพาะเวลาที่อยู่นิ่ง ๆ จะมีอาการมากเป็นพิเศษ (4-8 ครั้ง/วินาที) แต่ถ้าเคลื่อนไหวหรือทำกิจกรรมก็จะมีอาการสั่นลดลง หรือหายไป โดยมากพบอาการสั่นที่มือและเท้า แต่บางครั้งอาจพบได้ที่คางหรือลิ้นก็ได้ แต่มักไม่พบที่ศีรษะ
  • อาการเกร็ง ผู้ป่วยจะรู้สึกปวดเมื่อยตามกล้ามเนื้อ โดยเฉพาะแขน ขา และลำตัว ทั้ง ๆ ที่ไม่ได้เคลื่อนไหวหรือทำงานหนักแต่อย่างใด
  • เคลื่อนไหวช้า ผู้ป่วยจะขาดความกระฉับกระเฉงงุ่มง่าม โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อเริ่มต้นเคลื่อนไหว บางรายอาจหกล้มจนเกิดอุบัติเหตุตามาได้ เช่น สะโพกหัก หัวเข่าแตก เป็นต้น
  • ท่าเดินผิดปกติ ผู้ป่วยจะมีท่าเดินจำเพาะตัวที่ผิดจากโรคอื่น คือ ก้าวเดินสั้น ๆ แบบซอยเท้าในช่วงแรก ๆ และจะก้าวยาวขึ้นเรื่อย ๆ จนเร็วมากและหยุดไม่ได้ทันที โอกาสที่จะหกล้มหน้าคว่ำจึงมีสูง นอกจากนี้ยังเดินหลังค่อม ตัวงอ แขนไม่แกว่ง มือชิด แนบลำตัว หรือเดินแข็งทื่อเป็นหุ่นยนต์
  • การแสดงสีหน้า ใบหน้าของผู้ป่วยจะเฉยเมย ไม่มีอารมณ์เหมือนใส่หน้ากาก เวลาพูดมุมปากจะขยับเล็กน้อย
  • เสียงพูด ผู้ป่วยจะพูดเสียงเครือ ๆ เบา ไม่ชัด หากพูดนาน ๆ เสียงจะค่อย ๆ หายไปในลำคอ บางรายที่อาการไม่หนักเมื่อพูดน้ำเสียงจะราบเรียบ รัว และระดับเสียงจะอยู่ระดับเดียวกันตลอด นอกจากนี้น้ำลายยังออกมาและสออยู่ที่มุมปากตลอดเวลา
  • การเขียน ผู้ป่วยจะเขียนหนังสือลำบาก ตัวหนังสือจะค่อย ๆ เล็กลงจนอ่านไม่ออก ส่วนปัญหาด้านสายตา ผู้ป่วยจะไม่สามารถกลอกตาไปมาได้คล่องแคล่วอย่างปกติ เพราะลูกตาจะเคลื่อนไหวแบบกระตุก โดยส่วนมากผู้ป่วยโรคพาร์กินสัน จะมีอาการแทรกซ้อน คือ ท้องผูกเป็นประจำ ท้อแท้ซึมเศร้า ปวดกล้ามเนื้อ และอ่อนเพลีย
การรักษาโรคพาร์กินสัน มี 3 วิธี
  1. รักษาด้วยยา แม้ว่ายาจะไม่สามารถทำให้เซลล์สมองที่ตายไปแล้วฟื้นตัว หรือกลับมางอกทดแทนเซลล์เดิมได้ แต่ก็จะทำให้สารเคมีโดปามีนในสมอง
  2. ทำกายภาพบำบัด จุดมุ่งหมายของการรักษาก็คือ ให้ผู้ป่วยกลับคืนสู่สภาพชีวิตที่ใกล้เคียงคนปกติที่สุด สามารถเข้าสังคมได้อย่างดี มีความสุขทั้งกายและใจ ซึ่งมีหลักวิธีปฏิบัติง่าย ๆ คือ ฝึกการเดินให้ค่อย ๆ ก้าวขาแต่พอดีโดยเอาส้นเท้าลงเต็มฝ่าเท้า และแกว่งแขนไปด้วยขณะเดิน เพื่อช่วยในการทรงตัวดี นอกจากนี้ควรหมั่นจัดท่าทางในอิริยาบถต่าง ๆ ให้ถูกสุขลักษณะ รองเท้าที่ใช้ควรเป็นแบบส้นเตี้ย และพื้นต้องไม่ทำมาจากยาง หรือวัสดุที่เหนียวติดพื้นง่าย ฝึกการพูด โดยญาติจะต้องให้ความเข้าอกเข้าใจค่อย ๆ ฝึกผู้ป่วย และควรทำในสถานที่ที่เงียบสงบ
  3. การผ่าตัด โดยมากจะได้ผลดีในผู้ป่วยที่มีอายุน้อย และมีอาการไม่มากนัก หรือในผู้ที่มีอาการแทรกซ้อนจากยาที่ใช้มาเป็นระยะเวลานาน ๆ เช่น อาการสั่นที่รุนแรง หรือมีการเคลื่อนไหวแขน ขา มากผิดปกติจากยา
หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
  • สถาบันประสาทวิทยา 132 ถนนราชวิถี เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400
  • ศูนย์โรคพาร์กินสัน โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย 871 ถนนอังรีดูนังต์ ปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330
ที่มา : ศ.นพ.นิพนธ์ พวงวรินทร์
http://health.kapook.com/view5780.html
http://www.thailabonline.com/parkinson.htm

วันอาทิตย์ที่ 13 มิถุนายน พ.ศ. 2553

ตะคริว (Muscle Cramps)



http://www.gotoknow.com/

ตะคริว (Muscle cramps)
ตะคริว หมายถึง การหดตัวของกล้ามเนื้ออย่างรุนแรงเป็นเวลาต่อเนื่องกันนาน ๆ โดยไม่ได้ตั้งใจทำอาจเป็นกล้ามเนื้อกลุ่มเดียวหรือหลาย ๆ กลุ่มก็ได้

สาเหตุของการเป็นตะคริว
  1. ภาวะที่ร่างกายขาดน้ำและเกลือ
  2. กล้ามเนื้ออ่อนแอและเกร็งตัวจากการทำงานหรือออกแรงอย่างมากและเร็วเกินไป (ขาดการอุ่นเครื่อง) เช่นวิ่งเร็ว หรือแข่งกีฬาหนัก ๆ โดยไม่มีการอุ่นเครื่องก่อน
  3. ระบบไหลเวียนของเลือด ไปเลี้ยงกล้ามเนื้อไม่เพียงพอ เช่น อากาศหนาวมาก ใส่ถุงเท้ารัดแน่นมาก ทำให้เลือดไปเลี้ยงปลายเท้าไม่พอ เกิดเป็นตะคริวที่น่อง หรือที่ฝ่าเท้าได้
  4. ภาวะเครียดทางจิตใจมีผลทำให้กล้ามเนื้อเครียดหรือตึงตัวมากเกินไปก็ทำให้เกิดเป็นตะคริวได้ง่าย
การป้องกัน
  • มีการฝึกซ้อมและออกกำลังกายอยู่เสมอ
  • ดื่มน้ำ (หรือน้ำหวาน) ผสมเกลือเล็กน้อย
  • ควรมีการอุ่นเครื่อง (Warm-up) เช่นการวิ่งเหยาะ กายบริหารก่อนการแข่งขันกีฬาทุกครั้งนวดกล้ามเนื้อเบา ๆ ก่อนและหลังการเล่น หรือแข่งขันกีฬา
  • ตัดความกังวลใจล่วงหน้าก่อนการแข่งขัน
การดูแลและปฐมพยาบาล
  • เนื่องจากการเป็นตะคริวทำให้กล้ามเนื้อนั้นหดเกร็ง เจ็บปวด และเลือดไปเลี้ยงไม่เพียงพอ ถ้าปล่อยทิ้งไว้นานกล้ามเนื้อนั้นอาจขาดคุณสมบัติในการยืดหดได้ และส่งผลให้เป็นตะคริวได้บ่อย ๆอีก ดังนั้นจึงต้องรีบแก้ไขทันทีที่เป็นตะคริว ดังนี้


  • จัดท่าทาง (Positioning) เพื่อยืดกล้ามเนื้อที่เป็นตะคริว อาจยืดเองหรือให้ผู้อื่นทำให้ก็ได้ ตัวอย่างเช่น การยืดกล้ามเนื้อต้องทำอย่างนิ่มนวลก่อนแล้วจึงค่อย ๆ เพิ่มแรงยืดทีละน้อยจนสุดการเคลื่อนไหวของข้อและยืดค้างไว้สักครู่ เมื่อกล้ามเนื้อคลายตัวแล้วจึงค่อยๆ คลายแรงยืดนั้นลงการยืดแรง ๆ และเร็วแบบกระตุกจะทำให้เกร็งมากขึ้นกว่าเดิมได้ง่ายจึงไม่ควรทำ
  • การนวดที่กล้ามเนื้อ ในระยะที่เริ่มเป็นตะคริวนี้ ควรจะนวดเบาสลับกับการยืดกล้ามเนื้อก็ได้ เช่น การคลึงเบา ๆ ที่กล้ามเนื้อนั้นประมาณ 1-2 นาที สลับกับการยืดกล้ามเนื้อ 1-2 นาที จะทำให้กล้ามเนื้อคลายตัวเร็วขึ้น การบีบนวดอย่างแรง ๆ เป็นการกระตุ้นให้กล้ามเนื้อเกร็งมากยิ่งขึ้น ดังนั้นไม่ควรทำ
  • การให้ความอบอุ่น หรือ ความร้อนแก่กล้ามเนื้อที่เป็นตะคริว มีความสำคัญมากในการลดอาการเกร็งเนื่องจากตะคริว และช่วยป้องกันการเป็นซ้ำ ๆ อีกได้เป็นอย่างดี ในระยะกระทันหันการช่วยเหลือ 2 อย่างแรกน่าจะเพียงพอ นอกจากจะเป็นซ้ำ ๆ กันบ่อยครั้ง จึงควรใช้ความร้อนช่วย อาจให้ในรูปของผ้าขนหนูชุบน้ำอุ่น แล้วบิดให้พอหมาด ๆ แล้วนำมาประคบบริเวณที่เป็นตะคริวหรือจะใช้กระเป๋าน้ำร้อนห่อด้วยผ้าขนหนู 2 ชั้น มาประคบก็ได้ จะทำให้เลือดมาเลี้ยงกล้ามเนื้อได้มากขึ้นและลดอาการเกร็ง การประคบใช้เวลาประมาณ 20-30 นาที ถ้าเป็นผ้าชุบน้ำอุ่นก็ควรนำมาชุบน้ำอุ่นบ่อย ๆ เพื่อรักษาความร้อนได้นาน


ที่มา : www.doctor.or.th/node/6178

วันศุกร์ที่ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2553

ความรู้เรื่องกระดูกพรุน



โรคกระดูกพรุน (Osteoporosis)

คือภาวะที่เนื้อกระดูกผุกร่อนไปจากปกติ และเนื้อกระดูกลดลงอาจถึงขั้นอันตราย ผุกร่อนพร้อมที่จะแตกหักได้ทุกเมื่อ เพียงแค่กิจกรรมง่าย ๆ เช่น ยกของหนัก หรือร่างกายกระทบกระแทรกเพียงเล็กน้อยก็เกิดการแตกหักได้

สาเหตุของการเกิดโรคกระดูกพรุน
เนื้อเยื่อ จะมีการเสื่อมสลายและสร้างเสริมตลอดเวลา ตั้งแต่วัยเด็กจนถึงวัยรุ่นซ่งกระดูกแข็งแรงจากการมีเนื้อกระดูกเพิ่มขึ้นมากกว่าการสูญเสีย เมื่ออยุเกิน 30 ปี กระบวนการสร้างเสริมกระดูกจะเร่มลดลงทั้งเพศหญิงและเพศชาย ตามปกติเพศหญิงจะมีมวลกระดูกน้อยกว่าเพศชาย และเมื่อวัยหมดประจำเดือนเพศหญิงจะมีอัตราการสูญเสียมวลกระดูกมากว่าเพศชาย

ภาวะเสี่ยงต่อการเกิดโรคกระดูกพรุน
  1. ผู้สูงอายุทั้งผู้ชายและผู้หญิง โดยเฉพาะในผู้หญิงมีอัตราเสี่ยงสูงกว่า
  2. ผู้หญิงที่ทำการผ่าตัดเอารังไข่ออกทั้งสองข้าง
  3. ผู้หญิงวัยหลังหมดประจำเดือน (menopause)
  4. บุคคลมีประวัติบุคคลในครอบครัวที่เคยเป็นโรคกระดูกพรุน หรือมีประวัติกระดูหักจากโรคกระดูกพรุน
  5. ดื่มเหล้าและสูบบุหรี่จัด
  6. ได้รับยาบางชนิดเป็นเวลานาน เช่น ยาสเตียรอยด์ (steroid)
  7. ขาดการเคลื่อนไหวออกกำลัง และร่างกายไม่เคยถูกแสงแดด

อาการแสดงของโรค
อาจมีแค่อาการปวดเมื่อย และอาจจะทราบโดยได้รับการตรวจรักษาจากอาการกระดูกหัก หรือมีอาการปวดหลัง หลังโก่งค่อม หรือโค้งงอ ตัวเตี้ยลงจากการยุบตัวของกระดูกสันหลัง
การป้องกันภาวะกระดูกพรุน
  • การป้องกันในช่วงวัยรุ่น เน้นให้มีการสะสมเนื้อกระดูกให้มากที่สุด
  • ป้องกันก่อนวัยหมดประจำเดือน โดยพยายามรักษาปริมาณเนื้อกระดูกให้คงเดิมให้มากที่ด
  • ป้องกันหลังวัยหมดประจำเดือน โดยชะลอการถดถอยของเนื้อกระดูก เพื่อลดความเสี่ยงต่อการเกิดกระดูกหัก เช่น บริเวณกระดูกข้อสะโพก กระดูกสันหลัง และกระดูกข้อมมือ
การปฏิบัติตนเพื่อป้องกันกระดูกพรุน
  1. รับประทานแคลเซี่ยมให้ได้ปริมาณที่ต้องการในหนึ่งวัน
  2. รับประทานวิตามินดี แม็กนีเซี่ยม เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการดูดซึมแคลเซี่ยม หรืออาหารที่มีวิตามินสูง เช่น เนยแข็ง ไข่ และตับ การที่ร่างกายได้รับแสงแดด จะเป็นการเพิ่มการสังเคราะห์วิตามินดีทางผิวหนัง รับประทานแคลเซี่ยมหลังอหาร เพื่อกระตุ้นกรดในกระเพาะอาหารให้หลั่งออกมาย่อยแคลเซี่ยม
  3. หลีกเลี่ยงบุหรี่ สุรา และยาบางชนิด เช่น ยาลูกกลอน ยากันชัก
  4. ดื่มน้ำที่มีสารฟลูออไรด์
  5. ออกกำลังการสม่ำเสมอ อย่างน้อยวันละ 30 นาที เพื่อมห้ระบบกล้ามเนื้อ กระดูกแข็งแรง ระบบหัวใจและปอดมีประสิทธิภาพในการทำงานเพิ่มขึ้น
  6. ผู้หญิงที่ขาดประจำเดือนหรือประจำเดือนหมดก่อนวัยอันควร ควรปรึกษาแพทย์เฉพาะทางเพื่อรับคำแนะนำในการรับประทานฮอร์โมนเอสโตรเจนเสริม

การเสริมสร้างทางด้านโภชนาการ
  • นม เนยแข็ง ผลิตภัณฑ์จากนม
  • ปลาป่น ปลาเล็กปลาน้อยพร้อมกระดูก
  • ปลากระป๋องพร้อมกระดูก
  • กุ้งแห้ง กุ้งฝอย กะปิ
  • ถั่วแดง งาดำ
  • ผักใบเขียวทุกชนิด
  • อาหารทะเล

ที่มา : น.พ.ธวัช ประสาทฤทธา ร.พ.เลิศสิน http://www.lerdsin.go.th/modules/htmlarea/upload/Thavatosteoporosis.pdf

วันพุธที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2553

ระบบกล้ามเนื้อ (Muscular System)

กล้ามเนื้อเป็นเนื้อเยื่อที่มีหน้าที่โดยตรงเกี่ยวกับการเคลื่อนไหวของมนุษย์ ร่างกายมนุษย์ประกอบด้วยกล้ามเนื้อ 656 มัด และมีน้ำหนักรวมกันประมาณครึ่งหนึ่งของน้ำหนักร่างกาย


การเคลื่อนไหวอวัยวะต่าง ๆ ของร่างกาย เป็นผลมาจากการทำงานที่สัมพันธ์กันของกระดูกและกล้ามเนื้อ เช่น การเดิน การวิ่ง การกระโดด เป็นต้น แต่บางทีก็อาจเกิดจากการยืม-หดตัวของกล้ามเนื้อเพียงอย่างเดียว เช่น การเต้นของหัวใจ การบีบตัวของปอด การเคลื่อนไหวและบีบตัวในการย่อยอหารของกระเพาะอาหาร


โครงสร้างของกล้ามเนื้อ แบ่งออกเป็น 3 ชนิด


  • กล้ามเนื้อลลาย (Striated Muscle) เป็นกล้ามเนื้อที่อยู่ในอำนาจจิตใจ และพบมากที่สุดในร่างกายโดยกล้ามเนื้อชนิดนี้จะยึดเกาะอยู่กับกระดูกทุกส่วนของร่างกาย จึงมีชื่อเรียกว่ากล้ามเนื้อยึดกระดูกหรือกล้ามเนื้อโครงร่าง (Skeletal Muscle)
  • กล้ามเนื้อเรียบ (Smooth Muscle) เป็นกล้ามเนื้อที่อยู่นอกอำนาจจิตใจ สามารถพบได้ที่ผนังของอวัยวะในระบบย่อยอาหาร ระบบขับถ่าย ระบบสืบพันธุ์ และหลอดเลือด
  • กล้ามเนื้อหัวใจ (Cardiac Muscle) เป็นกล้ามเนื้อที่อยู่นอกอำนาจจิตใจ และสามารถทำงานต่อเนื่องกันโดยไม่หยุดพัก สามารถพบได้เฉพาะบริเวณหัวใจ

การหดตัวของกล้ามเนื้อ มี 2 แบบ

  1. การหดตัวแบบไอโซเมตริก (Isometric Contraction) เป็นการหดตัวที่ความยาวของกล้ามเนื้อคงที่ แต่ความตึงตัวเปลี่ยนไป เช่น การดันกำแพง
  2. การหัดตัวแบบไอโซโทนิค (Isotonic Contraction) เป็นการหดตัวที่ทำให้ความยาวของกล้ามเนื้อเปลี่ยนแปลงไปแต่ความตึงตังคงที่ เป็นการออกแรงโดยทำให้วัตถุเคลื่อนที่เป็นพลศาสตร์ เช่น การยกสิ่งของ การลาก หรือเลื่อนวัตถุ
การทำงานของกล้ามเนื้อ

กล้ามเนื้อทำงานภายใต้ระบบประสาท (Nervous System) เมื่อทันทีที่ได้รับคำสั่งจากระบบประสาท กล้ามเนื้อและเส้นใยของกล้ามเนื้อก็จะหดตัวสั้นและหนาขึ้น


ที่มา : หนังสือสุขศึกษา ม.4-ม.6 เล่ม 1 ยุพาพร โตสกุลและคณะ สำนักพิมพ์อักษรเจริญทัศน์ 2545

วันอังคารที่ 8 มิถุนายน พ.ศ. 2553

โรคกระดูกพรุน (Osteoporosis)

รู้เท่าทันโรคกระดูกพรุน

หลายคนอาจเคยสงสัยว่า ทำไมคนเราเมื่อมีอายุมากขึ้นถึงมีปัญหาเรื่องตัวเตี้ยลง หลังค่อม ขาโก่งงอ หรือกระดูกหักง่าย วันนี้สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) มีคำตอบมาให้ค่ะ

สาเหตุของอาการดังกล่าว มาจากความขยันขันแข็งของเจ้า “กระดูก” นั่นเอง มันจึงไม่เคยหยุดพัก วันๆ เอาแต่สร้างเซลล์กระดูกใหม่และสลายเซลล์กระดูกเก่าอยู่ตลอดเวลา ซึ่งจะทำให้เนื้อกระดูกส่วนที่หมดอายุถูกกำจัดออกไปเพื่อให้กระดูกที่สร้างใหม่ขึ้นมาแทนที่ โดยเฉพาะในช่วงวัยเด็กถึงวัยหนุ่มสาว อัตราการสร้างกระดูกจะเร็วกว่าอัตราการสลายกระดูก ทำให้กระดูกต่างๆ ในร่างกายของคุณแข็งแรงทนทาน ไม่ก่ออาการเจ็บป่วยง่ายๆ

แต่!!!เมื่อคุณย่างก้าวเข้าสู่วัยที่มีเลข 3 นำหน้าขึ้นไป อัตราการสลายกระดูกจะเร็วกว่าอัตราการสร้างกระดูก ซึ่งเป็นผลทำให้ปริมาณมวลกระดูกลดลงและโครงสร้างภายในของกระดูกถูกทำลาย ทำให้รูพรุนที่คล้ายฟองน้ำของกระดูกชั้นในมีขนาดใหญ่ขึ้น ส่งผลให้กระดูกบางลงและอ่อนแอ จนเกิดภาวะ “กระดูกพรุน” ขึ้น โดยเฉพาะในผู้หญิงวัยหมดประจำเดือน ปริมาณเนื้อกระดูกจะลดลงอย่างรวดเร็ว ทำให้ตลอดชีวิตผู้หญิงจะสูญเสียเนื้อกระดูกมากกว่าผู้ชายถึง 2 - 3 เท่า

เกี่ยวกับเรื่องดังกล่าว นพ.ธนา ธุระเจน เลขาธิการมูลนิธิโรคกระดูกพรุนแห่งประเทศไทย เล่าให้ฟังว่า โรคกระดูกพรุน คือ ภาวะความผิดปกติของกระดูกซึ่งทำให้ความแข็งแรงของกระดูกลดลงซึ่งโดยทั่วไปจะไม่มีอาการ ผู้ป่วยจึงไม่ได้ใส่ใจที่จะป้องกันและดูแลรักษาจนหลายครั้งเมื่อตรวจพบหรือเกิดอุบัติการณ์กระดูกหักก็มีผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตแล้ว สำหรับในประเทศไทย ในปี 2552 พบว่ามีประชากรอายุมากกว่า 50 ปี ประมาณ 15 ล้านคน โดยประมาณ 15% ของประชากรผู้หญิงอายุมากกว่า 50 ปี หรือ 2.25 ล้านคนเป็นโรคกระดูกพรุน ซึ่งถือว่าเป็นอัตราที่ค่อนข้างสูง

สำหรับผู้ที่มีปัจจัยเสี่ยงที่จะมีโอกาสป่วยเป็นโรคนี้ ได้แก่ ผู้สูงอายุ หญิงวัยหมดประจำเดือน ผู้ป่วยโรคทางเดินอาหารที่มีความผิดปกติในการดูดซึมแคลเซียม คนที่ดื่มสุรา กาแฟ สูบบุหรี่จัด ผู้ป่วยที่ต้องนอนบนเตียงคนป่วยเป็นเวลานาน ผู้ป่วยโรคมะเร็งกระจายไปที่กระดูก ผู้ที่มีประวัติว่าคนในครอบครัวกระดูกหักง่าย นอกจากนี้ การได้รับยาบางชนิดเป็นเวลานาน เช่น ยาเสตรียรอยด์ ยากันชัก ยาไทร็อกซิน ฯลฯ รวมทั้งคนที่เป็นโรครูมาตอยด์ โรคต่อมไทรอยด์เป็นพิษ ฯลฯ ก็มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคมากเป็นพิเศษอีกด้วย

เมื่อกระดูกในร่างกายเริ่มบางลง จนเริ่มเข้าสู่ภาวะกระดูกพรุน ผู้ป่วยจะไม่มีอาการใดๆ ปรากฏเลยถ้ากระดูกไม่หัก ดังนั้น ผู้ที่เป็นโรคกระดูกพรุน จะดำรงชีวิตได้อย่างปกติ แต่หากวันดีคืนดีเดินสะดุดก้อนหินหกล้ม หรือถูกคนวิ่งมาชน ภัยเงียบที่แอบแฝงในร่ายกายอย่างเจ้าโรคกระดูกพรุนก็จะสำแดงฤทธิ์เดชทำให้กระดูกหักได้ทันที โดยกระดูกบริเวณที่พบว่าหักบ่อย ได้แก่ กระดูกหลัง กระดูกสะโพก กระดูกข้อมือ ซึ่งผลกระทบที่เกิดขึ้นเมื่อกระดูกสะโพกหักนั้นทำให้ผู้ป่วยไม่สามารถเดินได้ ต้องนอนบนเตียงเป็นเวลานานทำให้เสี่ยงการเกิดแผลกดทับ ผู้ป่วยไม่สามารถยกของที่มีน้ำหนักได้ตามปกติ รวมทั้งต้องเป็นภาระในการดูแลระยะยาวและอาจเสียชีวิตในที่สุด

นอกจากนั้นภาวะกระดูกพรุนยังส่งผลต่อโครงสร้างของกระดูกสันหลังอีกด้วย เพราะจะทำให้ผู้ป่วยมีอาการปวดหลังเฉียบพลันและเรื้อรัง มีรูปร่างเปลี่ยนไป เตี้ยลง หลังโก่ง ไหล่งุ้มกว่าปกติ พุงยื่น หลังแอ่น ไม่มีเอว ฟันหลุดง่าย และการทำงานของอวัยวะภายในด้อยลง การย่อยอาหาร และการหายใจลำบาก เพิ่มความเสี่ยงกระดูกหัก ส่งผลให้อัตราตายสูงขึ้น

หากใครสงสัยว่าจะป่วยเป็นโรคกระดูกพรุน ก็สามารถไปตรวจวัดความหนาแน่นของกระดูกด้วยวิธีการเอกซเรย์ที่โรงพยาบาล เพื่อคำนวณหาความหนาแน่นของกระดูกเมื่อเทียบกับค่ามาตรฐานโดย
กระดูกปกติ จะค่าความหนาแน่นกระดูกมากกว่า -1 เมื่อเริ่มเป็นกระดูกบางจะมีค่าความหนาแน่นกระดูกน้อยกว่า -1 ถึงมากกว่า -2.5 หากเข้าสู่ภาวะกระดูกพรุนจะมีค่าความหนาแน่นกระดูกน้อยกว่าหรือเท่ากับ -2.5 และหากป่วยโรคกระดูกพรุนอย่างรุนแรง จะมีค่าความหนาแน่นกระดูกน้อยกว่าหรือเท่ากับ -2.5 และมีกระดูกหักร่วมด้วย

โรคกระดูกพรุน มีอันตรายสูงมาก ดังนั้น ผู้ป่วยจึงต้องป้องกันและรักษาโดยเร่งด่วน เพราะเมื่อกระดูกหักอันแรก ก็มักจะนำไปสู่กระดูกหักอันต่อไป…แต่การที่จะรักษากระดูกที่พรุนแล้วให้กลับเข้าสู่สภาพเดิมนั้นมักจะไม่ค่อยได้ผล ดังนั้น สิ่งที่ดีที่สุด คือ การดูแลตัวเองไม่ให้ป่วยเป็นโรคกระดูกพรุนนั่นเอง...

โรคกระดูกพรุนสามารถป้องกันได้ ถ้าเราให้ความสนใจดูแลรักษา โดยรับประทานอาหารที่มีคุณภาพ เพราะร่างกายต้องการแร่ธาตุที่สำคัญเพื่อมาซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอ หรือเติมเต็มสิ่งที่มีอยู่ให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น ร่างกายจึงควรได้รับสารอาหารต่างๆ ดังนี้...

แคลเซียม ในวัยผู้ใหญ่ที่อายุตั้งแต่ 30 ปีขึ้นไป ควรรับประทานแคลเซียมให้ได้ 1200 – 1500 มิลลิกรัมต่อวัน เพราะแคลเซียมเป็นแร่ธาตุที่มีมากที่สุดเป็นอันดับ 3 ในร่างกาย เพราะร้อยละ 99 ของแคลเซียมจะอยู่ในกระดูก ที่เหลือจะกระจายอยู่ตามของเหลวต่างๆ ในร่างกาย หน้าที่ของแคลเซียมคือ ทำให้กระดูกและฟันแข็งแรง กล้ามเนื้อและประสาททำงานเป็นปกติ กระตุ้นการแข็งตัวของเลือดหลังการบาดเจ็บ และควบคุมการทำงานของ เอ็นไซม์และการเต้นของหัวใจ แหล่งอาหารที่อุดมด้วยแคลเซียม คือ นม โยเกิร์ต ถั่วเหลือง ถั่วเขียว งา ปลาตัวเล็กที่รับประทานทั้งกระดูก และผักใบเขียวที่ปลอดสารเคมี เป็นต้น

แมกนีเซียม พบมากในร่างกายเป็นอันดับสองรองจากแคลเซียม หน้าที่ของแมกนีเซียมคือ ช่วยควบคุมการทำงานของร่างกาย ผลิตพลังงาน สร้างโปรตีน และช่วยการหดตัวของกล้ามเนื้อ แหล่งอาหารที่อุดมด้วยแมกนีเซียม ได้แก่ ถั่วต่างๆ ธัญพืช แป้ง และอาหารทะเล นอกจากนี้ร่างกายยังต้องการทองแดง แมงกานีส สังกะสี เข้ามาช่วยในการทำงานของเอ็นไซม์ในกลไกการสร้างกระดูก และช่วยเพิ่มความแข็งแรงของกระดูกสันหลังในผู้หญิงวัยหมดประจำเดือน นอกจากนี้ยังควรงดดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์และการบริโภคชนิดอาหารที่ไม่ถูกหลักโภชนาการอีกด้วย

ไม่เพียงเท่านั้น...“วิตามินดี”...ก็มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อความแข็งแรงของกระดูก เพราะหากได้รับวิตามินดีไม่เพียงพอ ร่างกายก็จะไม่สามารถดูดซึมแคลเซียม ซึ่งเป็นธาตุที่สำคัญต่อกระดูกได้ เรียกได้ว่า การขาดวิตามินดีเป็นสาเหตุหนึ่งของการเกิด "โรคกระดูกพรุน" เลยทีเดียวค่ะ...

แต่สิ่งที่สำคัญที่สุดในการป้องกันโรคกระดูกพรุน คือ
การออกกำลังกายอย่างน้อย 15-20 นาที เป็นประจำทุกวัน ดังที่ สสส. ได้รณรงค์มาโดยตลอด เพราะการออกกำลังกายจะช่วยเพิ่มความหนาแน่นของมวลกระดูก ทำให้กระดูกแข็งแรงไม่แตกหักได้ง่าย

เมื่อรู้วิธีป้องกันแล้วอย่านิ่งเฉย เพราะการที่คุณเริ่มต้นบำรุงกระดูกได้เร็วเท่าใดก็จะทำให้คุณสะสมปริมาณมวลกระดูก ชะลออัตราการสูญเสียมวลกระดูก ซึ่งจะช่วยให้คุณห่างไกลจากโรคกระดูกพรุนเมื่อสูงอายุขึ้นได้อย่างมีประสิทธิภาพ

สุขภาพดีไม่มีขาย อยากได้ต้องสร้างเอง...

ที่มา: อารยา สิงห์สวัสดิ์ Team content http://www.thaihealth.or.th/

วันอังคารที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2553

ข้ออักเสบรูมาตอยด์ รู้ช้าเสี่ยงพิการ

เป็นโรคข้ออักเสบเรื้อรังที่พบบ่อยที่สุด

"ข้ออักเสบรูมาตอยด์” (Rhumatoid Arthritis) ชื่อนี้คุ้นหูมานาน แต่จะมีสักกี่คนที่รู้ว่าเจ้าโรคนี้คืออะไร มีลักษณะอย่างไร ถ้าไม่ใช่ผู้ป่วยหรือคนใกล้ชิดที่ได้ประสบกับตัวเอง

โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์เป็นโรคข้ออักเสบเรื้อรังที่พบบ่อยที่สุด และจัดเป็นลำดับที่ 2 ของโรคข้อที่พบบ่อยที่สุดรองจากโรคข้อเสื่อม ในระยะแรกผู้ป่วยจะทุกข์ทรมานจากข้ออักเสบหลายข้อพร้อมกัน หากไม่ได้รับการรักษาอย่างถูกต้อง ข้อจะเคลื่อนหลุด ผิดรูป และเกิดภาวะทุพพลภาพในที่สุด
สาเหตุของโรค
สาเหตุที่แท้จริงของโรคนี้ยังไม่ทราบแน่ชัด แต่โรคนี้ไม่ถ่ายทอดทางพันธุกรรมและไม่ใช่โรคติดต่อจึงไม่แพร่กระจายไปยังบุคคลอื่น ความผิดปกติของเซลล์ต่างๆ ที่ทำหน้าที่เกี่ยวข้องกับระบบภูมิคุ้มกันเป็นต้นเหตุที่ทำให้เยื่อบุข้ออักเสบ ทำให้มีการสร้างน้ำในข้อเพิ่มขึ้น กระดูกอ่อนถูกทำลาย กระดูกในข้อกร่อน ปลอกหุ้มข้อรวมทั้งเอ็นรอบข้อหลวมและฉีกขาด ทำให้ข้อเคลื่อนหลุดและผิดรูปในที่สุด
อาการของโรครูมาตอยด์
โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์จะมีอาการปวด บวม กดเจ็บ มีน้ำในข้อ และขยับเคลื่อนไหวข้อได้น้อยลงเนื่องจากเจ็บปวด มีการอักเสบของข้อพร้อมกันหลายข้อทั้งสองฝั่งของร่างกาย โดยเฉพาะข้อเล็กๆ ของนิ้วมือ นิ้วเท้า ข้อมือ ข้อเท้า ข้อศอก และข้อไหล่ บางรายอาจมีข้ออักเสบจำนวน 1–2 ข้อก่อนในระยะแรก แล้วมีการเพิ่มจำนวนข้ออักเสบอีกเรื่อยๆ ในเวลาต่อมาจนกลายเป็นข้ออักเสบเรื้อรังหลายข้อในที่สุด และอาจพบปุ่มรูมาตอยด์ที่ผิวหนังด้านหลังแขนต่ำจากปลายศอกลงมาเล็กน้อยหรือที่นิ้วมือหรือข้อมือ นอกจากนี้ส่วนใหญ่จะมีไข้ต่ำๆ อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร และน้ำหนักลดร่วมด้วย โดยอาการมักเริ่มด้วยอาการฝืดตึงตามข้อต่างๆ โดยเฉพาะที่ข้อนิ้วมือทั้งสองข้างในเวลาตื่นตอนเช้า ทำให้ผู้ป่วยไม่สามารถกำมือได้เต็มที่และลุกขึ้นจากเตียงนอนลำบาก อาการฝืดตึงอาจเป็นได้นานตั้งแต่ครึ่งชั่วโมงจนถึงหลายชั่วโมง
โรครูมาตอยด์สามารถรักษาให้หายขาดได้
โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์เป็นโรคข้ออักเสบซึ่งมีการดำเนินโรครุนแรงและเรื้อรัง จนทำลายโครงสร้างต่างๆ ของข้อและทำให้เกิดความพิการได้หากไม่ได้รับการรักษาอย่างถูกต้อง มีการศึกษาพบว่าโรคจะมีความรุนแรงมากในช่วงระยะ 2–3 ปีแรก หากได้รับการรักษาอย่างถูกต้องตั้งแต่แรกก็จะทำให้โรคสงบลงหรือหายขาดได้ ปัจจุบันจึงมีการรณรงค์ให้ความรู้แก่ประชาชนและบุคลากรทางการแพทย์เพื่อให้ตระหนักถึงความสำคัญของการวินิจฉัยและการรักษาโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ให้ได้อย่างถูกต้องตั้งแต่ในระยะแรก

ผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาที่ถูกต้องและเหมาะสมจนสามารถควบคุมโรคได้ดี จะสามารถมีชีวิตที่เป็นปกติสุขและมีคุณภาพชีวิตที่ดีเช่นเดียวกับคนปกติทั่วไป ในทางตรงข้ามภาวะแทรกซ้อนต่างๆ ที่เกิดขึ้นในผู้ป่วยที่มีการควบคุมโรคไม่ดีจะเป็นสาเหตุทำให้เกิดความพิการหรือเสียชีวิตได้
ข้อปฏิบัติสำหรับผู้ป่วยโรครูมาตอยด์
ผู้ป่วยและญาติควรมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคและยาต่างๆ ที่ใช้รักษาโรค ทราบถึงการทำกายภาพบำบัดที่ถูกต้องเพื่อลดอาการเจ็บปวดและวิธีปฏิบัติตนเองเพื่อป้องกันความพิการ ซึ่งสามารถศึกษาได้จากสื่อต่างๆ ทั่วไป ผู้ป่วยไม่ควรปรับขนาดยาโดยพลการหรือซื้อยามากินเอง รวมทั้งต้องไม่แบ่งปันยาของตนเองไปให้ผู้อื่น ควรรับการรักษาอย่างสม่ำเสมอและปฏิบัติตามคำแนะนำจากแพทย์อย่างเคร่งครัด

หากสงสัยว่าจะเป็นหรือมีอาการลักษณะเดียวกับโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ ควรรีบไปพบแพทย์เพื่อทำการวินิจฉัยโรคเสียตั้งแต่เนิ่นๆ เพระโรคนี้หากได้รับการรักษาอย่างเหมาะสมและถูกวิธีตั้งแต่ในระยะแรกโดยเฉพาะใน 2–3 ปีแรกอาจทำให้โรคเรื้อรังชนิดนี้เข้าสู่ภาวะสงบโดยที่ไม่เกิดความพิการหรือภาวะแทรกซ้อนตามมา
ที่มา : โดย รศ.พญ. ไพจิตต์ อัศวธนบดี อายุรแพทย์โรคข้อ www.thaihealth.or.th/node/14896/