วันศุกร์ที่ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2553

ความรู้เรื่องกระดูกพรุน



โรคกระดูกพรุน (Osteoporosis)

คือภาวะที่เนื้อกระดูกผุกร่อนไปจากปกติ และเนื้อกระดูกลดลงอาจถึงขั้นอันตราย ผุกร่อนพร้อมที่จะแตกหักได้ทุกเมื่อ เพียงแค่กิจกรรมง่าย ๆ เช่น ยกของหนัก หรือร่างกายกระทบกระแทรกเพียงเล็กน้อยก็เกิดการแตกหักได้

สาเหตุของการเกิดโรคกระดูกพรุน
เนื้อเยื่อ จะมีการเสื่อมสลายและสร้างเสริมตลอดเวลา ตั้งแต่วัยเด็กจนถึงวัยรุ่นซ่งกระดูกแข็งแรงจากการมีเนื้อกระดูกเพิ่มขึ้นมากกว่าการสูญเสีย เมื่ออยุเกิน 30 ปี กระบวนการสร้างเสริมกระดูกจะเร่มลดลงทั้งเพศหญิงและเพศชาย ตามปกติเพศหญิงจะมีมวลกระดูกน้อยกว่าเพศชาย และเมื่อวัยหมดประจำเดือนเพศหญิงจะมีอัตราการสูญเสียมวลกระดูกมากว่าเพศชาย

ภาวะเสี่ยงต่อการเกิดโรคกระดูกพรุน
  1. ผู้สูงอายุทั้งผู้ชายและผู้หญิง โดยเฉพาะในผู้หญิงมีอัตราเสี่ยงสูงกว่า
  2. ผู้หญิงที่ทำการผ่าตัดเอารังไข่ออกทั้งสองข้าง
  3. ผู้หญิงวัยหลังหมดประจำเดือน (menopause)
  4. บุคคลมีประวัติบุคคลในครอบครัวที่เคยเป็นโรคกระดูกพรุน หรือมีประวัติกระดูหักจากโรคกระดูกพรุน
  5. ดื่มเหล้าและสูบบุหรี่จัด
  6. ได้รับยาบางชนิดเป็นเวลานาน เช่น ยาสเตียรอยด์ (steroid)
  7. ขาดการเคลื่อนไหวออกกำลัง และร่างกายไม่เคยถูกแสงแดด

อาการแสดงของโรค
อาจมีแค่อาการปวดเมื่อย และอาจจะทราบโดยได้รับการตรวจรักษาจากอาการกระดูกหัก หรือมีอาการปวดหลัง หลังโก่งค่อม หรือโค้งงอ ตัวเตี้ยลงจากการยุบตัวของกระดูกสันหลัง
การป้องกันภาวะกระดูกพรุน
  • การป้องกันในช่วงวัยรุ่น เน้นให้มีการสะสมเนื้อกระดูกให้มากที่สุด
  • ป้องกันก่อนวัยหมดประจำเดือน โดยพยายามรักษาปริมาณเนื้อกระดูกให้คงเดิมให้มากที่ด
  • ป้องกันหลังวัยหมดประจำเดือน โดยชะลอการถดถอยของเนื้อกระดูก เพื่อลดความเสี่ยงต่อการเกิดกระดูกหัก เช่น บริเวณกระดูกข้อสะโพก กระดูกสันหลัง และกระดูกข้อมมือ
การปฏิบัติตนเพื่อป้องกันกระดูกพรุน
  1. รับประทานแคลเซี่ยมให้ได้ปริมาณที่ต้องการในหนึ่งวัน
  2. รับประทานวิตามินดี แม็กนีเซี่ยม เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการดูดซึมแคลเซี่ยม หรืออาหารที่มีวิตามินสูง เช่น เนยแข็ง ไข่ และตับ การที่ร่างกายได้รับแสงแดด จะเป็นการเพิ่มการสังเคราะห์วิตามินดีทางผิวหนัง รับประทานแคลเซี่ยมหลังอหาร เพื่อกระตุ้นกรดในกระเพาะอาหารให้หลั่งออกมาย่อยแคลเซี่ยม
  3. หลีกเลี่ยงบุหรี่ สุรา และยาบางชนิด เช่น ยาลูกกลอน ยากันชัก
  4. ดื่มน้ำที่มีสารฟลูออไรด์
  5. ออกกำลังการสม่ำเสมอ อย่างน้อยวันละ 30 นาที เพื่อมห้ระบบกล้ามเนื้อ กระดูกแข็งแรง ระบบหัวใจและปอดมีประสิทธิภาพในการทำงานเพิ่มขึ้น
  6. ผู้หญิงที่ขาดประจำเดือนหรือประจำเดือนหมดก่อนวัยอันควร ควรปรึกษาแพทย์เฉพาะทางเพื่อรับคำแนะนำในการรับประทานฮอร์โมนเอสโตรเจนเสริม

การเสริมสร้างทางด้านโภชนาการ
  • นม เนยแข็ง ผลิตภัณฑ์จากนม
  • ปลาป่น ปลาเล็กปลาน้อยพร้อมกระดูก
  • ปลากระป๋องพร้อมกระดูก
  • กุ้งแห้ง กุ้งฝอย กะปิ
  • ถั่วแดง งาดำ
  • ผักใบเขียวทุกชนิด
  • อาหารทะเล

ที่มา : น.พ.ธวัช ประสาทฤทธา ร.พ.เลิศสิน http://www.lerdsin.go.th/modules/htmlarea/upload/Thavatosteoporosis.pdf