วันอาทิตย์ที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

อายุ 40 ปีขึ้นไป ระวังโรคข้อเข่าเสื่อม

โรคข้อเสื่อม (Osteoarthritis)

เป็นโรคที่พบได้บ่อยมากในบรรดาโรคข้อทั้งหลาย โดยสามารถเกิดขึ้นได้กับส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย ไม่ว่าจะเป็นข้อสะโพก ข้อเข่า ข้อเท้า ข้อมือ ข้อกระดูกคอ ข้อกระดูกสันหลัง หรือแม้กระทั่งข้อนิ้วมือก็ตาม โรคนี้ พบมากในผู้สูงอายุ เป็นโรคที่ทำให้ผู้ป่วยรู้สึกเจ็บปวดทรมาณมากอีกโรคหนึ่ง เลยทีเดียว
โรคข้อเสื่อมเป็นอย่างไร

ข้อต่อคือส่วนเชื่อมต่อของกระดูกสองท่อน ทำให้กระดูกนั้นเคลื่อนไหวได้ ผิวของข้อจะเรียบปกคลุมด้วยกระดูกอ่อนผิวข้อ และมีเนื้อเยื่อไขข้อสร้างน้ำไขข้อเพื่อหล่อลื่นข้อ ข้อเสื่อม ถือ เป็นภาวะข้ออักเสบอย่างนึง พบได้มากที่สุด มีการสึกหรอของกระดูกอ่อนผิวข้อ มีสารที่ทำให้เกิดการอักเสบออกมา ทำให้ข้อนั้นมีการอักเสบ ปวด บวม เคลื่อนไหวข้อไม่สะดวก
สถานการณ์ของคนไทยกับโรคข้อเสื่อมในปัจจุบัน : ถือเป็นโรคที่พบได้บ่อยในคนสูงอายุ เนื่องจากปัจจุบันคนเรามีอายุยืนยาวขึ้น ทำให้พบโรคนี้มากขึ้นเรื่อยๆ ในเมืองไทยเองจะพบว่ามีอุบัติการณ์ของข้อเข่าเสื่อมมากกว่าทางตะวันตก เนื่องจากเราจะใช้ข้อเข่าในชีวิตประจำวันมากกว่า เช่น นั่งพับเพียบ หรือ คุกเข่าไหว้พระ

โรคนี้เกิดขึ้นได้อย่างไรบ้าง

แบ่งเป็น ข้อเสื่อมที่เกิดขึ้นเอง และ ข้อเสื่อมที่เป็นภาวะต่อเนื่องมาจากโรคอื่น ข้อเสื่อมที่เกิดขึ้นเอง ยังไม่ทราบสาเหตุแน่ชัด แต่มักพบในคนที่อายุมากกว่า 40 ปีขึ้นไป แต่อาจจะไม่มีอาการ ส่วนข้อเสื่อมที่เป็นภาวะต่อเนื่องมาจากโรคอื่น เช่น เคยมีกระดูกหักที่บริเวณข้อ ทำให้ ข้อนั้นเมื่อหายแล้วไม่เรียบ เมื่อมีการเคลื่อนไหว ก็จะมีการสึกหรอ หรือ โรคข้ออักเสบบางชนิด เช่น ข้ออักเสบรูมาตอยด์ จะมีการทำลายกระดูกใต้ข้อ และผิวข้อ ทำให้ข้อเสื่อม

เพศและวัยใดบ้าง ที่มีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคข้อเสื่อม

วัยสูงอายุตั้งแต่ 40 ปี แต่จะไม่แปรผันโดยตรงตามอายุ และส่วนใหญ่พบในเพศหญิงมากกว่า เนื่องจากมีปัจจัยเสี่ยงที่จะกล่าวถึงต่อไปมากกว่า

โรคข้อเสื่อมจะเกิดกับส่วนใดของร่างกายได้บ้าง จุดไหนเป็นมากที่สุด

กระดูกสองชิ้นประกอบกันเป็นข้อต่อ ดังนั้น เกิดได้เกือบทุกแห่ง ที่เราพบได้บ่อยๆ คือ ข้อเข่า ข้อกระดูกสันหลัง ข้อสะโพก ข้อนิ้วมือ ข้อเท้า ส่วนข้ออื่นๆพบได้น้อย
ปัจจัยอื่น ๆ นอกจากอายุ ที่เพิ่มความเสี่ยงให้กับการเป็นโรคนี้ อย่างเรื่องน้ำหนักตัว การได้รับอุบัติเหตุ หรือการใช้ยาหรือสารเคมีบางอย่าง ส่งผลกระทบบ้างหรือไม่
เรื่องอุบัติเหตุได้กล่าวไปบ้างแล้ว ส่วนเรื่องน้ำหนักตัวจะมีผลต่อข้อที่เป็นข้อที่ใช้รับน้ำหนัก เช่น ข้อเข่า ข้อสะโพก และข้อเท้า น้ำหนักที่มากจะกดลงบนผิวข้อ ทำให้ข้อนั้นๆเสื่อมเร็วขึ้น

ยาหรือสารเคมีบางอย่าง อาจจะทำให้เกิดภาวะกระดูกพรุน ทำให้ความแข็งแรงของกระดูกนั้นๆ ลดลง เป็นปัจจัยเสริมต่อการเกิดข้อเสื่อม เช่น ยาลูกกลอน บางอย่าง การดื่มแอลกอฮอล์มากๆจะมีผลต่อเส้นเลือดในข้อสะโพก ทำให้ข้อสะโพกขาดเลือด และเกิดการยุบตัวของข้อสะโพกทำให้เกิดข้อเสื่อมตามมาได้


อาการของโรค ในแต่ละขั้น ขั้นไหนถือว่าเป็นขั้นรุนแรงน่าเป็นห่วง

อาการจะค่อยๆเริ่มเป็นทีละน้อย มีอาการปวดเมื่อย เวลาใช้งานข้อ บางครั้งมีเสียงกรอบแกรบเวลาเคลื่อนไหว อาจจะมีอาการข้อตึงหรือติดเวลาพักใช้ข้อนานๆ เมื่อเป็นมากขึ้น กระดูกผิวข้อสึกหรอมากขึ้น จะทำให้ปวดมากเวลาใช้งานข้อ อาจจะพบว่ามีการผิดรูปของข้อนั้นๆ มีการบวมอักเสบ มีน้าไขข้อมาก และไม่สามารถใช้งานข้อนั้นๆได้ ซึ่งถ้าตรวจด้วยการฉายเอ๊กซ์เรย์จะเห็นการเปลี่ยนแปลงได้ชัดเจน

โรคนี้รักษาหายขาดได้หรือไม่
เนื่องจากเป็นภาวะจากความเสื่อมของกระดูกผิวข้อ เมื่อเป็นแล้ว เมื่อผู้ป่วยอายุมากขึ้น ก็จะมีโอกาสเป็นซ้ำได้

วิธีการรักษา : การรักษาขึ้นกับอายุ และความรุนแรงของโรค การรักษาด้วยยา ต้านการอักเสบ ยาเสริมกระดูกอ่อน การฉีดน้ำไขข้อเทียม การทำกายภาพบำบัด การรักษาด้วยการผ่าตัด การส่องกล้องล้างผิวข้อ การผ่าตัดซ่อมแซมกระดูกอ่อน การผ่าตัดแก้ไขแนวรับน้ำหนักข้อ การผ่าตัดใส่ข้อเทียม

การบริหารร่างกายและการปฏิบัติตัวหลังเข้ารับการรักษา ท่าทาง อาหารการกินและยาที่ต้องระวัง

ลดปัจจัยเสี่ยง เช่น ลดน้ำหนักตัว ลดการใช้งานข้อที่มากเกินไป เลี่ยงการยกของหนัก เลี่ยงการคุกเข่า ขัดสมาธิ ขึ้นบันไดสูงๆ การงอข้อในมุมที่มากเกินไป มีอุปกรณ์ประคองข้อ เช่น สนับข้อเข่า ข้อเท้า หรือ เสื้อที่ช่วยรัดประคองบริเวณเอว ออกกำลังกายกล้ามเนื้อพยุงข้อ เช่น กล้ามเนื้อหลัง กล้ามเนื้อ ต้นคอ กล้ามเนื้อข้อเข่า
อาหารไม่ควรทานที่มีแคลอรี่มากเกินไปทำให้สะสมเป็นไขมัน การทานแคลเซี่ยมเสริมจะช่วยบำรุงกระดูกให้แข็งแรงขึ้น ส่วนยาที่ทานควรปรึกษากับคุณหมอที่จ่ายยาเสมอๆ ไม่ควรหาซื้อยามาทานเอง อาจจะมีปัญหากับระบบทางเดินอาหารได้

โรคข้อเสื่อมป้องกันได้หรือไม่ อย่างไร

เนื่องจากเป็นแล้วจะไม่หายขาด เรามีจุดมุ่งหมายจะชะลอภาวะเสื่อม และทำให้สามารถใช้งานข้อนั้นได้พอสมควร ควรระวังอย่าให้เกิดอุบัติเหตุ ออกกำลังกายเช่นการขี่จักรยาน หรือ ว่ายน้ำจะทำให้กระดูกและข้อแข็งแรงขึ้น

มีวิธีการบริหารร่างกายเพื่อป้องกันโรคนี้ได้บ้างหรือไม่ : การออกกำลังกายกล้ามเนื้อพยุงข้อจะทำให้ข้อนั้นๆแข็งแรงขึ้น ขอยกตัวอย่าง การออกกำลังกายง่ายๆสำหรับข้อเข่าเสื่อม ทำโดยนั่งห้อยขาข้างเตียง เกร็งขาให้เข่าเหยียดตรง แล้วยกค้างไว้ จะทำให้กล้ามเนื้อต้นขาเกร็งตัว นับ 1-10 แล้วปล่อยลง ทำสลับกับขาอีกข้างจะทำให้กล้ามเนื้อนั้นแข็งแรงขึ้น
Update 19-12-51

ไขกระดูก (Bone Marrow)

ไขกระดูก (Bone Marrow)

มีหน้าที่สร้างเม็ดเลือด เลือดคนเราประกอบไปด้วยเม็ดเลือดและพลาสมา เม็ดเลือดมี 3 ชนิด คือ เม็ดเลือดขาว (white blood cell) เม็ดเลือดแดง (red blood cell) และเกล็ดเลือด (platelets)

เม็ดเลือดแดงเป็นเม็ดเลือดส่วนใหญ่ที่มีในเลือดทำให้เลือดมีสีแดง เม็ดเลือดแดงมีฮีโมโกลบินเป็นส่วนประกอบ ทำหน้าที่นำออกซิเจนจากปอดไปเลี้ยงส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย รวมทั้งนำคาร์บอนไดออกไซด์และของเสียต่าง ๆ กลับไปยังปอด

เม็ดเลือดขาว ทำหน้าที่ป้องกัน ต่อสู้และทำลายเชื้อโรค ส่วนเกล็ดเลือดมีหน้าที่ป้องกันเลือดออกโดยทำให้เลือดแข็งตัวเมื่อเกิดบาดแผล เม็ดเลือดต่าง ๆ เหล่านี้ถ้ามีปริมาณที่พอเหมาะและมีหน้าที่ปกติจะทำให้การทำงานของร่างกายเป็นไปอย่างปกติสุข แต่ถ้ามีปริมาณน้อยลงหรือมีหน้าที่ผิดปกติ จะมีความผิดปกติและเป็นโรคขึ้น เช่น ถ้าเม็ดเลือดแดงน้อยลงจะเป็นโรคโลหิตจาง เหนื่อยง่าย ถ้าเป็นมากอาจมีภาวะหัวใจวาย ถ้าเม็ดเลือดขาวน้อยทำให้มีไข้เป็นโรคติดเชื้อ เกล็ดเลือดต่ำก็ทำให้มีเลือดออกมากผิดปกติ

เม็ดเลือดทั้งสามชนิดนั้น มีแหล่งกำเนิด ในไขกระดูกซึ่งอยู่ในโพรงกระดูก ถ้ามีความผิดปกติเกิดขึ้นในไขกระดูก เช่น ไขกระดูกไม่ทำงานหรือเป็นมะเร็งของไขกระดูก จะทำให้ไขกระดูกไม่สามารถสร้างเม็ดเลือดได้ปกติ เกิดอาการต่างๆ อันเป็นผลจากมีจำนวนเม็ดเลือด ปกติทั้งเม็ดเลือดแดง เม็ดเลือดขาว และเกล็ดเลือดลดลง จึงมีโลหิตจาง มีโรคติดเชื้อ และมีเลือดออกผิดปกติได้ ไขกระดูกจึงเป็นอวัยวะที่สำคัญอย่างหนึ่งของร่างกายไขกระดูกของคนปกติ พบเซลล์เม็ดเลือดทั้งตัวแก่และตัวอ่อน


ที่มา / www.student.chula.ac.th/~50370436/important.htm

วันอังคารที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

ระบบโครงกระดูก (Skeletal System)

คำศัพท์ที่เกี่ยวข้อง



  1. Claviclel - ไหปลาร้า

  2. Humerus - กระดูกต้นแขน

  3. Sternum - กระดูกหน้าอก

  4. Rib - กระดูกซี่โครง

  5. Radius - กระดูกแขนด้านนอก

  6. Ulna - กระดูกแขนด้านใน

  7. Femur - กระดูกต้นขา

  8. Patella - สะบ้า

  9. Skull - กระโหลกศีรษะ

  10. Scapula - กระดูกสะบัก

  11. Thoracic Vertebrae - กระดูกสันหลัง

  12. LLium - กระดูกสะโพก

  13. Sacrum - กระดูกเชิงกราน

  14. Tibia - กระดูกหน้าแข้ง

  15. Fibula - กระดูกน่อง

ระบบโครงกระดูกประกอบไปด้วยองค์ประกอบที่สำคัญ ดังนี้

  1. กระดูกอ่อน (Cartilage) ทำหน้าที่รองรับส่วนที่อ่อนนุ่มของร่างกาย เพื่อที่จะทำให้การเคลื่อนไหวได้สะดวก ป้องกันการเสียดสี เนื่องจากผิวของกระดูกอ่อนเรียบ จึงพบว่ากระดูกอ่อนจะอยู่ที่ปลายหรือหัวกระดูกที่ประกอบเป็นข้อต่อต่าง ๆ และยังเป็นต้นกำเนิดของกระดูกแข็งทัวร่างกาย
  2. ข้อต่อ (Joints) คือส่วนต่อระหว่างกระดูกตั้งแต่สองชิ้นขึ้นไปมาต่อกัน เพื่อการเคลื่อนไหวของร่างกาย
  3. เอ็น (Tendon) มีทั้งที่เป็นเอ็นกล้ามเนื้อและเอ็นยึดข้อ (Ligament) เป็นเนื้อเยื่อที่มีความแข็งแรงมาก มีลักษณะเป็นเส้นใยเหนียว ช่วยยึดกระดูกกับกล้ามเนื้อส่วนต่าง ๆ ไว้ด้วยกัน
  4. กระดูก (Bone) เป็นส่วนที่แข็งที่สุด โครงกระดูกในผู้ใหญ่ ประกอบด้วยกระดูกจำนวน 206 ชิ้น ส่วนในทารกแรกเกิดจะมีกระดูกถึง 300 ชิ้นเพราะกระดูกอ่อนยังไม่ติดกัน

หน้าที่ของระบบโครงกระดูก มีดังนี้

  1. เป็นโครงร่าง ทำให้คนเราคงรูปร่างอยู่ได้ จัดเป็นหน้าที่สำคัญที่สุด
  2. เป็นส่วนที่ยึดเกาะของกล้ามเนื้อลาย เอ็น รวมทั้งพังผืด
  3. เป็นโครงห่อหุ้มป้องกันอวัยวะภายในไม่ให้เป็นอันตราย เช่น กะโหลกศีรษะป้องกันสมอง กระดูกสันหลังป้องกันไขสันหลัง
  4. ภายในกระดูกจะมีไขกระดูก (Bone Marrow) ซึ่งทำหน้าที่ผลิตเม็ดเลือดแดง เป็นที่เก็บสะสมแคลเซี่ยมภายในร่างกาย ป้องกันหลอดเลือดและเส้นประสาทที่ทอดอยู่ตามแนวของกระดูก
  5. กระดูกบางชิ้นยังช่วยในการนำคลื่นเสียงช่วยในการได้ยิน ได้แก่ กระดูกค้อน ทั่ง และโกลน ซึ่งอยู่ในหูตอนกลาง ทำหน้าที่นำคลื่นเสียงผ่านไปยังหูตอนใน