วันศุกร์ที่ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2555


                            
"อัลไซเมอร์" โรคใกล้ตัวของผู้สูงอายุ

คงต้องยอมรับว่า ไม่มีอะไรในโลกนี้้ที่อยู่ยั่งยืนเป็น "อมตะ" ตลอดกาล เพราะทุกชีวิตต้องมี เกิด แก่เจ็บ และตาย ตามวัฏสงสารที่ถูกกำหนดไว้อย่างจริงแท้และแน่นอนตามกฎของธรรมชาติ

อย่างไรก็ตาม  สิ่งหนึ่งที่หลายคนค่อนข้างให้ความวิตกกังวลอยู่ไม่น้อยก็คือ การเจ็บไข้ได้ป่วยต่าง ๆ ที่มักมาเยี่ยมเยือนพร้อมกับอายุที่เพิ่มมากขึ้นตามลำดับ  และหนึ่งในโลกที่กำลังเป็นปัญหาของบรรดาผู้สูงอายุในขณะนี้ก็คือ "อัลไซเมอร์"

ทั้งนี้  เนื่องจากผลพวงจากโรคนี้จะส่งผลทำให้ประสิทธิภาพในการทำงานลดลง  โดยเฉพาะอย่างยิ่งระบบความจำที่เลือนหายไป.......... จากคุณพ่อที่ทำงานได้เก่งมากหรือคุณแม่ที่เป็นแม่ครัวชั้นหนึ่งของบ้าน  แต่ในวันนี้ลืมแม้กระทั่งวิธีจะยกช้อนกินข้าว

ปัจจุบันมีการศึกษาของกระทรวงสาธารณสุขสำรวจพบว่า  มีคนไทยเป็นโรคสมองเสื่อมหรือที่เรียกว่า "อัลไซเมอร์" ประมาณ 218,000 คน  และได้มีการคาดการณ์ในอนาคต จะมีผู้สูงอายุที่มีปัญหาจากกลุ่มอาการสมองเสื่อม เพิ่มขึ้นในอัตราประมาณ 3.4 เปอร์เซ็นต์ และเป็นเพศหญิงมากกว่าเพศชายประมาณ 2  เท่า ในขณะที่คนอเมริกันกว่า 4.5 ล้านคนเป็นโรคอัลไซเมอร์ และเพิ่มขึ้นมากกว่า 4.5 ล้านคนเป็นโรคอัลไซเมอร์และเพิ่มขึ้นมากกว่า 2 เท่านับจากปี ค.ศ.1980

จากการสำรวจของกระทรวงสาธารณสุขพบว่า ประชากรทุก 1 ใน 10 คน มีผู้ป่วยด้วยโรคอัลไวเมอร์อยู่ในครอบครัว  โดยเฉพาะโรคอัลไซเมอร์จะมีโอกาสสูงที่จะเกิดกับผู้สูงอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป

สาเหตุของโรคนี้นั้นเกิดจากเซลล์สมองที่มีอยู่ได้เสื่อมสภาพลง   เพราะสมองของมนุษย์เรานั้นเปรียบเสมือนเครื่องจักร  เมื่อมีการใช้งานนานหลายปีก็จะเสื่อมสภาพลงจนไม่สามารถใช้งานได้กลายมาเป็นโรคอัลไซเมอร์ในที่สุด  ซึ่งจะส่งผลทำให้ผู้ป่วยไม่สามารถวิเคราะห์ข้อมูลการบริหารจัดการในสิ่งต่าง ๆ ได้ เช่น การวางแผน การตัดสินใจ ว่าควรจะทำสิ่งนี้หรือไม่ควรทำ  รวมทั้งการเรียกชื่อ การสร้างประโยค หรือในส่วนที่เรียกว่า Executive Function หายไป

สำหรับสิ่งที่จะบ่งบอกได้ว่าเราเป็นโรคอัลไซเมอร์ หรือไม่นั้น  น.พ.สุนัย  บุษราคัมวงษ์  แพทย์สาขาอายุรแพทย์โรงพยาบาลผู้สูงอายุ กล้วยน้ำไท  ได้บอกว่า ก่อนที่แพทย์จะทำการวินิจฉัยผู้ป่วยที่เป็นโรคนี้ จะต้องเริ่มจากการศึกษาโครงสร้างของสมองก่อน  เพราะโรคอัลไซเมอร์เป็นโรคที่เกี่ยวกับสมองของคนเราโดยตรง

ทั้งนี้ สมองคนเรานั้นจะมีทั้งหมดด้วยกัน 4 ส่วน ถ้าสมองส่วนใดมีปัญหาก็จพทำให้การรับรู้ส่วนนั้นมีปัญหาไปด้วย และทางเจ้าหน้าที่และทีมแพทย์ก็จะได้ทำการรักษาได้อย่างถูกต้อง ซึ่งดดยปกติสมองจะมี 4 ส่วนด้วยกัน คือ
  • สมองซีกซ้าย  ซึ่งเป็นสมองส่วนที่เด่น จะทำหน้าที่ในการเรียนรู้ในเรื่องของภาษา กาารคิดคำนวณ  ถ้าสมองซีกซ้ายเกิดการชำรุด หรือเสื่อมไปก็จะส่งผลให้ไม่สามารถใช้ภาษาได้อย่างถูกต้อง เช่น เห็นพี่ชายคนโต รู้ว่าเป็นพี่ชายคนโตแต่ก็ยังเรียกชื่อผิด  ถึงเจ้าตัวจะบอกแต่ก็ยังเรียกผิดอยู่
  • สมองซีกขวา เป็นส่วนที่ทำหน้าที่เกี่ยวกับการคิดในเรื่องระยะทาง หรือจินตนาการ  ถ้าผูป่วยที่สสมองส่วนกลางมองส่วนนี้มีปัญหา จะทำให้ไม่สามารถจดจำสถานที่ที่เคยไปเป็นประจำได้  หรือการหลงทิศ เช่นเมื่อเดินไปที่ไหนเป็นประจำแต่มีอยู่วันหนึ่งไม่สามารถจำทางกลับบ้านได้
  • สมองส่วหน้า   ทำหน้าที่เรียนรู้สิ่งใหม่่  รวมทั้งการแก้ปัญหาเฉพาะหน้า ถ้าผู้ป่วยมัปัญหาเกี่ยวกับสมองส่วนหน้า  จะไม่สามารถเรียนรู้เกี่ยวกับข้อมูลใหม่ ๆ ได้ และจะลืมเหตุการณ์ที่เพิ่งผ่านไปสด ๆ ร้อน ๆ
  • สมองส่วนกลาง  ถือว่าเป็นส่วนที่ใช้ในการจดจำสิ่งต่าง ๆ ถ้าสมองส่วนนี้มีปัญหาจะส่งผลให้ผู้ป่วยไม่สามารถทพอะไรต่าง ๆ ได้ เช่น ไม่สามารถจดจำวิธีการต้มมาม่าที่ตัวเองต้มรับประทานอยู่เป็นประจำ
จากผลวิจัยได้มีการวิจัยพบว่าผู้ป่วยที่เป็นโรค "อัลไซเมอร์"  นั้นจะมีสัญญาณในการเตือนว่าคุณกำลังจะเป็นโรคอัลไซเมอร์  มีอยูหลายประการด้วยกัน เช่น ลืมเหตุการณ์ที่เพิ่งผ่านไปสด ๆ จนมีเหตุให้ต้องมีผลเสียต่อการทำงาน การใช้วิจารณญาณเสียไป ซึ่งในเรื่องของการใช้ววิจารณญาณที่เสียนี้จะเป็นอันตรายต่อผู้สูงอายุมาก  เพราะถ้าผูป่วยอยู่บนตึกที่สูงและคิดว่าตัวเองเป็นนกสามารถบินได้ เขาก็จะทำทันทีโดยไม่ได้คิดตรึกตรอง

รวมทั้งมีการเปลี่ยนแปลงอารมณ์และพฤติกรรมอย่างรวดเร็ว  อาจจะมีอารมณ์หงุดหงิดง่าย ซึมเศร้า วิตกกังวล สับสนกระวนกระวายมากขึ้น  ถ้าหากว่าในบ้านของคุณมีผู้สูงอายุที่เข้าข่ายในอาการเหล่านี้นั้น ควรที่จะพาไปพบแพทย์โดยด่วน เพื่อทำการรักษา

คำถามที่ตามมาก็คือ  แล้าเราจะมีวิธีบำบัดรักษาผู้สูงอายุที่ป่วยเป็น "โรคอัลไซเมอร์" ได้อย่างไร

ในเรื่องนี้ นิรุทต์อมรคณารัตน์ นักกิจกรรมบำบัด บอกว่า ไม่ามารถรักษาให้หายขาดได้ หน้าที่ของการรักษานั้น มีเพียงแต่ทุเลาอาการให้น้อยลง และให้ผู้ป่วยนั้นสามารถช่วยเหลืือตัวเองได้เท่านั้นเอง

สำหรับวิธีการรักษาก็คือ   เจ้าหน้าที่จะให้ผู้ป่วยได้ทำกิจกรรมที่เคยทำอยู่เป็นประจำมาใช้ในการรักษา ก็คือ การให้ผู้ป่วยได้ฝึกการเล่นไพ่ เพราะการเล่นไพ่จะเป็นการฝึกให้ผู่ป่วยได้ใช้ความคิด ซึ่งเปรีบเสมือนการบริหารสมองให้ได้คิด และไม่น่าเบื่อ

นอกจากนั้น  วิธีที่น่าสนใจอีกวิธีก็คือ เจ้าหน้าที่จะใช้วิธีการบำบัดเป็นระบบ ซึ่งวิธีการรักาาแบบเป็นระบบนี้เจ้าหน้าที่จะคอยบอกผู้ป่วยที่ละขั้นตอนว่าจะทำอะไร เช่น การทานข้าว เพราะผู้ที่เป็นโรคนี้จะไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้  ดังนั้นจึงต้องแนะนำวิธีการทานข้าวเป็นขั้นเป็นตอน โดยเริ่มจากการใช้ช้อนตักข้าว จนถึงการนำข้าวรับประทาน

การรักษาด้วยวิธีนี้จะทำให้ผู้สูงอายุไม่หงุดหงิดและมีความสุขเมท่อตัวเองสามารถทำสิ่งที่เจ้าหน้าที่บอกได้

อย่างไรก็ตาม  สิ่งที่สำคัญที่สุดก็คือ  การดูแลผู้สูงอายุที่เป็นโรคนี้  ผู้ดูแลจะต้องมีความอดทน และเข้าใจว่าเป็นอาการของโรคไม่ได้แกล้ง  ต้องมีความระมัดระวังและใช้ความใกล้ชิดในการดูแล เพราะผู้สูงอายุจะเดินออกจากบ้านแล้วหายไปเลย เพราะกลับบ้านไม่ถูก และสิ่งที่สำคัญที่สุดจะต้องไม่ใช้คำพูดที่กระตุ้นในส่ิงที่สะเทอนใจ  เพียงเท่านี้ท่านก็จะอยู่กับลูกหลานไปได้อีกนาน



ที่มา :  www.mamager.co.th
update : 12/10/2555